คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จงใจหลีกเลี่ยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน การจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้นกับโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน และจำเลยได้มอบการครอบครองที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญา แม้จะมีข้อตกลงให้โอนกันเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม(มาตรา 150)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาเนื่องจากจงใจหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามสัญญาเพื่อไม่ให้ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดี คดีแพ่ง
โจทก์จำเลยทำสัญญากัน โดยโจทก์มอบเครื่องไฟฟ้าพร้อมทั้งแผงไฟให้จำเลยที่ 1 เป็นการตอบแทนในการที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้เสียหายและโจทก์ร่วมในคดีอาญายอมถอนคำร้องทุกข์เพื่อศาลฎีกาจะได้สั่งจำหน่ายคดีและปล่อย ท. ไป แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะทนายความของจำเลยที่ 1 นำคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 ไปยื่นต่อศาลอาญา ปรากฏว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับในคำร้องแตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยที่ 2และตราที่ประทับในใบแต่งทนายที่จำเลยที่ 1 ยื่นไว้ในคดีอาญาศาลอาญาจึงต้องเรียกจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มาสอบถาม แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมไปศาลหลายนัดจนศาลอาญาเห็นว่าเป็นการประวิงคดี ศาลอาญาจึงให้ยกคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์นั้นเสีย และได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ปรากฏว่าศาลฎีกาคงให้ลงโทษ ท. ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 พยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปศาลเพื่อมิให้ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีและปล่อย ท. ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ไปศาล ศาลอาญาก็ไม่อาจส่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลฎีกาสั่งได้เพราะไม่อาจทราบได้ว่าเป็นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 หรือไม่ จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำต้องคืนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมทั้งแผงไฟให้แก่โจทก์