พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8159/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนกรรมการสภาองค์การลูกจ้างที่ถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์หลังการประชุมใหญ่วิสามัญ
สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยกำหนดนัดประชุมใหญ่วิสามัญในวันที่ 12 ตุลาคม 2540 เมื่อการประชุมยังไม่เสร็จสิ้นโดยที่ประชุมมีมติให้เลื่อนไปนัดประชุมใหม่ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 จึงถือได้ว่าในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 เป็นวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญอีกด้วย การที่คณะกรรมการบริหาร (ชุดเก่า) ได้ลงมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 ให้เลื่อนวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญไปเป็นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2540 ย่อมไม่มีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงมติของที่ประชุมใหญ่โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม และต้องถือว่าวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 ยังเป็นวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญเช่นเดิม เมื่อที่ประชุมลงมติไม่ไว้วางใจคณะกรรมการบริหารชุดเดิมและเลือกตั้งกรรมการบริหารชุดใหม่ จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยข้อบังคับของสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย การที่โจทก์ในฐานะประธานกรรมการบริหารชุดใหม่นำรายชื่อคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ไปยื่นคำขอจดทะเบียนต่อจำเลยเป็นการดำเนินการโดยเทียบเคียงตามนัยมาตรา 93 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 120 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จำเลยในฐานะนายทะเบียนตามกฎหมายจะต้องดำเนินการรับจดทะเบียนให้ การที่จำเลยไม่รับจดทะเบียนรายชื่อคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ตามคำขอของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท และการทำเอกสารเท็จเพื่อหลอกลวงนายทะเบียน
บัญชีผู้ถือหุ้น สำเนารายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการเป็นสำเนาเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องถือเป็นเอกสารมหาชน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น การที่จำเลยสั่งให้ อ. ทำรายงานว่า มีการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2534 ซึ่งไม่มีการประชุมขึ้นจริงจึงเป็นการทำเอกสารเท็จการที่จำเลยร่วมกับ อ.ให้อ. ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการของบริษัท ก. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการ โดยยื่นรายงานอันเป็นเอกสารเท็จดังกล่าวประกอบไปด้วย จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ เป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากการจดทะเบียนกรรมการโดยไม่ชอบ และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
คดีเดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองพ้นจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมและจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองกลับเข้าไปเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ดังเดิม ครั้นโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ต่อมาโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองกลับเข้าเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หากเกิดหรือมีความเสียหายใดๆ ก่อนหรือขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ทั้งสองขอสงวนสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันทำละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งค่าเสียหายยังมิได้วินิจฉัยในคดีเดิม จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวการของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ทำละเมิด จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะนายจ้างและตัวแทนของนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดกับจำเลยที่ 5 นั้น โจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองว่าไม่ชอบ หรือไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์ทั้งสองเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ทั้งสองฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนด 1,000,000 บาท เป็นจำนวนต่ำมากนั้น โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับจากการบริหารงานในตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ในช่วงที่ไม่ได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีก่อนฟ้อง เห็นควรกำหนดให้ 2,000,000 บาท
ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวการของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ทำละเมิด จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะนายจ้างและตัวแทนของนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดกับจำเลยที่ 5 นั้น โจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองว่าไม่ชอบ หรือไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์ทั้งสองเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ทั้งสองฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนด 1,000,000 บาท เป็นจำนวนต่ำมากนั้น โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับจากการบริหารงานในตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ในช่วงที่ไม่ได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีก่อนฟ้อง เห็นควรกำหนดให้ 2,000,000 บาท