พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6805/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อห้ามจดทะเบียนที่ดิน: เหตุผลไม่เพียงพอเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินระงับการดำเนินการแล้ว
คดีก่อนโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ขอให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง น. เป็นคดีอุทลุม ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับ ธ. โดย ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินพิพาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คดีนี้ โจทก์ทั้งสามฟ้อง กรมที่ดินจำเลยที่ 1 อธิบดีกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยที่ 3 ขอให้จดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสาม โดย ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) กรณียังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวมาใช้ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7543/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องการจดทะเบียนที่ดินต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้องขอ
แม้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจะวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำร้อง ก็เป็นเพียงการรับรองสิทธิในที่ดินแก่ผู้ร้อง ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แก้ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดมาเป็นชื่อผู้ร้อง ตามที่ ป. ที่ดิน มาตรา 57 บัญญัติไว้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธการใช้สิทธิของผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าผู้ร้องไม่ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป. ที่ดิน มาตรา 103 เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องพึงต้องนำคดีมาสู่ศาลในลักษณะของคดีมีข้อพิพาท การที่ผู้ร้องนำคดีเข้าสู่ศาลโดยทำเป็นคำร้องขอเพราะถือเป็นการใช้สิทธิทางศาล ไม่มีกฎหมายรองรับให้กระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนที่ดินผิดวัตถุประสงค์และข้อจำกัดการฎีกาในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มิได้มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทในคดีนี้ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยกลับจดทะเบียน ให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ ขัดต่อเจตนาของโจทก์ ขอให้จำเลยจดทะเบียนแก้คำว่า แบ่งหักให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ออกไปจากโฉนดที่ดินของโจทก์ แล้วใส่ชื่อโจทก์แทน เมื่อปรากฎตามหลักฐานทางทะเบียนว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นทางสาธารณประโยชน์ ดังนั้น หากโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้รับที่ดินพิพาทดังกล่าวกลับคืนมาเป็นของโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนที่ดินหลังการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมจากคดีแพ่ง ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนคำสั่ง
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน 23 แปลง ของจำเลยที่ 2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จำชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไวต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินหลังศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ การจดทะเบียนเดิมขัดต่อคำสั่งศาล
การที่เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในชั้นที่พิจารณาคดีโดยจำเลยขาดนัดและถือเป็นวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว การจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงต้องถูกเพิกถอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209วรรคแรก เมื่อจำเลยมีคำขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนดังกล่าวมาด้วยแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนรายการจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินหลังศาลมีคำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ถือเป็นการเพิกถอนวิธีการบังคับคดี
การที่เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในชั้นที่พิจารณาคดีโดยจำเลยขาดนัดและถือเป็นวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้วการจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงต้องถูกเพิกถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209วรรคแรก เมื่อจำเลยมีคำขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนดังกล่าวมาด้วยแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนรายการจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนที่ดิน: ความจำเป็นในการใช้สิทธิทางศาลเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์ที่ได้มาตามกฎหมาย
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55มิได้หมายความว่าใครต้องการจะใช้สิทธิทางศาลก็ใช้ได้ตามอำเภอใจ แต่เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยว่ามีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องมาร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จึงจะใช้สิทธิทางศาลได้
ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ในทะเบียนที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนให้ปรากฏในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมไม่อาจดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ และอาจเสียสิทธิไปได้ถ้ามีบุคคลอื่นได้สิทธิในที่ดินนั้นโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตกับได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตดังนั้น เพื่อได้ให้ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ในฐานะเจ้าของ กรรมสิทธิ์ จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ปรากฏขึ้นในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 กำหนดว่าผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวดังนั้น บุคคลที่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 1382 จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ตนได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการจดทะเบียนส่วนที่ดินประเภทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินไม่มีกฎหมายบัญญัติดังกล่าวและผู้ยึดถือที่ดินดังกล่าวโดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินนั้นแล้วตามมาตรา 1367ทั้งกฎหมายก็ให้ความรับรองคุ้มครองสิทธิครอบครองและจำหน่ายจ่ายโอนได้ จึงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องมาร้องขอต่อศาล
ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ในทะเบียนที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนให้ปรากฏในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมไม่อาจดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ และอาจเสียสิทธิไปได้ถ้ามีบุคคลอื่นได้สิทธิในที่ดินนั้นโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตกับได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตดังนั้น เพื่อได้ให้ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ในฐานะเจ้าของ กรรมสิทธิ์ จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ปรากฏขึ้นในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 กำหนดว่าผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวดังนั้น บุคคลที่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 1382 จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ตนได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการจดทะเบียนส่วนที่ดินประเภทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินไม่มีกฎหมายบัญญัติดังกล่าวและผู้ยึดถือที่ดินดังกล่าวโดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินนั้นแล้วตามมาตรา 1367ทั้งกฎหมายก็ให้ความรับรองคุ้มครองสิทธิครอบครองและจำหน่ายจ่ายโอนได้ จึงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องมาร้องขอต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการจดทะเบียนสิทธิที่ดินปลอม และความประมาทของผู้รับซื้อฝาก
จำเลยที่ 2 ผู้ช่วยหัวหน้าเขตที่ดินมีหน้าที่สอบสวนการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้แทนของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ของผู้ขายฝากโดยประมาทเลินเล่อจึงไม่ทราบว่าผู้ขายฝากไม่ใช่เจ้าของที่ดิน และรับจดทะเบียนขายฝากไป ทำให้โจทก์ผู้รับซื้อฝากเสียหายจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย
โจทก์รับซื้อฝากที่ดินโดยไม่ได้สืบสวนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดหรือไม่ แต่ให้คำรับรองต่อจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง หากเกิดความผิดพลาดโจทก์ขอรับผิดชอบเอง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนส่งเสริมให้จำเลยที่ 2 ประมาทนับว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อด้วยควรร่วมรับผิดในผลละเมิดเป็นจำนวนหนึ่งในนั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดในกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดน้อยลง ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลตลอดถึงจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์รับซื้อฝากที่ดินโดยไม่ได้สืบสวนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดหรือไม่ แต่ให้คำรับรองต่อจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง หากเกิดความผิดพลาดโจทก์ขอรับผิดชอบเอง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนส่งเสริมให้จำเลยที่ 2 ประมาทนับว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อด้วยควรร่วมรับผิดในผลละเมิดเป็นจำนวนหนึ่งในนั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดในกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดน้อยลง ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลตลอดถึงจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการจดทะเบียนที่ดินผิดพลาดเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำพินัยกรรมให้โจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ รู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของรัฐบาลแล้วยังขืนทำการโอนให้โจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ถูกผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ฟ้องขับไล่ ศาลฎีกาพิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาท ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความเรื่องละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับ เมื่อคดีฟังข้อเท็จจริงได้ว่า นับแต่วันที่โจทก์ทำนิติกรรมซื้อที่ดินพิพาทจนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลเป็นเวลาห่างกันถึง 21 ปี และโจทก์เพิ่งยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจากที่โจทก์ได้ฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนแล้วถึง 2 ปีเศษ คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารมอบอำนาจเพื่อจดทะเบียนที่ดิน ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งผู้มอบ มอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนผู้มอบเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ