คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียนบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมายต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาตามกฎหมาย
ป.พ.พ.มาตรา 1548 วรรคแรก บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่า บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ.(ฉบับที่ 10)พ.ศ.2533 มาตรา 32 โดยข้อความเดิมได้บัญญัติถึงการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะกระทำได้ต่อเมื่อเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ประสงค์วางหลักเกณฑ์ไว้เข้มงวดกว่าเดิมว่าการที่บิดาจะจดเบียนบุตรนอกกฎหมายให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะกระทำได้ต่อเมื่อทั้งเด็กและมารดาเด็กให้ความยินยอม มิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาดังบัญญัติไว้เดิม นอกจากนี้ป.พ.พ.มาตรา 1548 ได้บัญญัติถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ไว้ในวรรคสามและวรรคสี่ โดยวรรคสามว่า "ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ไช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล" และวรรคสี่ว่า "เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้" อันเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นชัดเจนว่า ตามมาตรา 1548 วรรคแรก ประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะตัว จึงได้บัญญัติทางแก้ไขในกรณีเด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ดังกล่าวมาแล้ว โจทก์ที่ 2 ซึ่งแม้เป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ที่ 3 จึงไม่อาจให้ความยินยอมแทนโจทก์ที่ 3 ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติให้โจทก์ที่ 2 ทำการแทนโจทก์ที่ 3 ในกรณีดังกล่าวได้ ดังนั้น กรณีที่โจทก์ที่ 3ต้องให้ความยินยอมในการที่โจทก์ที่ 1 จะจดทะเบียนโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1548 วรรคแรก จึงเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 3 ต้องกระทำด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต้องได้รับความยินยอมจากเด็กโดยตรง ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่สามารถให้ความยินยอมแทนได้
บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 ได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเด็ก การให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัว ผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนเด็กไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย: ต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาโดยตรง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548วรรคแรกบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่าบิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็กมิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาเท่านั้นดังข้อความที่บัญญัติไว้เดิมแสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ประสงค์วางหลักเกณฑ์ไว้เข้มงวดกว่าเดิมนอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548ยังได้บัญญัติถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมไว้ว่าการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรจะกระทำได้ต้องมีคำพิพากษาของศาลและให้บิดานำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้อันเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นชัดเจนว่าประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะตัวดังนั้นที่โจทก์ทั้งสามฎีกาอ้างว่าโจทก์ที่2เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ที่3โจทก์ที่2จึงให้ความยินยอมแทนโจทก์ที่3ได้นั้นจึงฟังไม่ขึ้นเพราะไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติให้โจทก์ที่2ทำการแทนโจทก์ที่3ในกรณีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมายต้องได้รับความยินยอมจากเด็กด้วยตนเอง ผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนไม่ได้
บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548ได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเด็กการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนเด็กไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตร การรับสารภาพและการพิสูจน์ความจริง
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 1527
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13745/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิเมื่อได้รับโต้แย้งความยินยอมจากมารดาและเด็กยังไม่สามารถให้ความยินยอมได้
ตามเจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก โดยทั้งเด็กและมารดาเด็กจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนด้วยนั้น มีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิที่เด็กจะพึงได้รับจากผู้เป็นบิดาอันเป็นเรื่องประโยชน์ของเด็กและการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะตัว อย่างไรก็ตามการที่กฎหมายบังคับให้ผู้ขอรับรองบุตรต้องได้รับความยินยอม ก็ต่อเมื่อเด็กและมารดาเด็กอยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอมได้เท่านั้น เมื่อโจทก์เคยไปติดต่อสำนักงานเขตดุสิตเพื่อจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุเพียง 7 ปี เป็นบุตรของตน แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามระเบียบ แต่เจ้าพนักงานแจ้งโจทก์ว่าต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยทั้งสองก่อน และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 มารดาของจำเลยที่ 2 เพื่อดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 มีหนังสือตอบปฏิเสธและจำเลยที่ 2 อยู่ในวัยไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้จึงเป็นที่เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า การที่จะให้โจทก์ไปยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นหนังสือเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือถึงจำเลยทั้งสองตามมาตรา 1548 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอต่อศาลขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อเด็กยังไม่สามารถให้ความยินยอมได้
ป.พ.พ. มาตรา 1548 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ส่วนวรรคสามและวรรคสี่บัญญัติว่า ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดาหรือไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยิมยอมเป็นการเฉพาะตัว การที่นายทะเบียนแจ้งแก่ผู้ร้องว่าไม่สามารถรับจดทะเบียนให้ได้โดยไม่แจ้งการขอจดทะเบียนของผู้ร้องไปยังผู้คัดค้านและเด็กก่อนตาม มาตรา 1548 วรรคสอง หรือตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 19 วรรคสอง เพราะปรากฏว่าขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนขอจดทะเบียนนั้น เด็กหญิง ป. อายุเพียง 3 ปีเศษ ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 19 แล้ว ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องจดทะเบียนเด็กหญิง ป. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6996-6997/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย ศาลรับฟ้องแย้งและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอท้ายฟ้อง 2 ประการ คือ ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนรับเด็กหญิง ญ. จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์มีอำนาจปกครอง อุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวเนื่องจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั่งเอง สมควรที่จะได้วินิจฉัยให้เสร็จไปในคราวเดียวกันไม่เยิ่นเย้อที่จะต้องรอให้คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จนคำพิพากษาถึงที่สุดเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้วจึงจะมาฟ้องขอเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกในภายหลัง กรณีถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6996-6997/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าอุปการะเลี้ยงดูเกี่ยวเนื่องกับคำขอจดทะเบียนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลควรพิจารณาร่วมกันได้
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอ 2 ข้อคือ ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และให้โจทก์มีอำนาจปกครอง อุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันฟ้องแย้งขอให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวเนื่องจากคำขอของโจทก์นั่นเอง สมควรที่จะได้วินิจฉัยให้เสร็จไปในคราวเดียวกัน ไม่ต้องรอให้คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จนคำพิพากษาถึงที่สุดเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้วจึงจะมาฟ้องขอเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกในภายหลัง ถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรโดยไม่เข้าทะเบียน การขอใช้อำนาจปกครอง และค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีเดียวกัน
ขณะผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้คัดค้านโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส แม้ผู้ร้องจะยังไม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามกฎหมาย แต่การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนผู้เยาว์เป็นบุตรจะมีผลให้ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ผู้ร้องย่อมมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย แม้จะเป็นเรื่องหน้าที่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการที่ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้คัดค้านก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์เข้ามาในคดีที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนผู้เยาว์เป็นบุตรได้เสียทีเดียวเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน
คดีนี้ผู้ร้องขอจดทะเบียนเด็กหญิง อ. ผู้เยาว์เป็นบุตรของผู้ร้องโดยผู้คัดค้านยอมรับว่าผู้เยาว์เป็นบุตรของผู้ร้องจริง ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า ผู้เยาว์อายุประมาณ 3 ขวบเศษ อยู่ในวัยไร้เดียงสาไม่อาจให้ความยินยอมได้ การที่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอจดทะเบียนผู้เยาว์เป็นบุตรต่อนายทะเบียนก่อน แต่ดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลนั้นกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1548 วรรคสาม ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนผู้เยาว์เป็นบุตรจึงมิชอบ