พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7712/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรถยนต์ประกอบจากชิ้นส่วน - รถใหม่ไม่ใช่รถเดิม
รถยนต์คันที่โจทก์ได้รับมอบกรรมสิทธิ์มาจากบริษัท บ. หมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 กรุงเทพมหานคร แต่รถยนต์พิพาทมีเพียงหัวเก๋งกับกระบะเท่านั้นที่เป็นของคันหมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 ส่วนคัสซีหรือเลขตัวรถและเครื่องยนต์เป็นของคันหมายเลขทะเบียน บ - 1317 ชัยภูมิ ซึ่งเจ้าของได้ขอจดทะเบียนรถยนต์ประเภทรถยนต์ที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์เก่า รถยนต์พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการเอาอุปกรณ์หรือสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ และโดยที่หัวเก๋งกับกระบะไม่ใช่ทรัพย์ประธาน รถยนต์พิพาทจึงเป็นรถยนต์คันใหม่ ไม่ใช่รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 กรุงเทพมหานคร ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1316 ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนโอนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 กรุงเทพมหานคร โดยมิได้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปให้จำเลยตรวจสอบ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2531 หมวด 2, 4 และ 6 การโอนรถ ข้อ 35 (1) ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10, 13, 16 และ 17 แห่ง พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. รถยนต์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2530 วางระเบียบไว้ และมีผลใช้ในทำนองเดียวกับกฎหมาย จำเลยชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์ตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแจ้งจดทะเบียนรถยนต์: ศาลไม่อาจใช้คำพิพากษาแทนเอกสารสำคัญในการจดทะเบียนได้
โจทก์ได้ซื้อรถยนต์จากจำเลยเพื่อนำไปให้บริษัท พ. เช่าซื้อจำเลยสัญญาว่าจะจดทะเบียนแจ้งการจำหน่ายรถยนต์ต่อกรมการขนส่งทางบกแก่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และให้บริษัท พ. เป็นผู้ครอบครองใช้รถโดยสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งส่งมอบแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ ป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์เพื่อให้ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ไปใช้ได้ แต่จำเลยผิดสัญญาไม่จดทะเบียนแจ้งการจำหน่ายรถยนต์ต่อกรมการขนส่งทางบกไม่ดำเนินการจัดให้มีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์กับป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนและเสียภาษีตามที่ตกลงกับโจทก์ เพราะไม่มีเอกสารสำคัญประจำรถยนต์อยู่ในครอบครอง ทั้งไม่ปรากฏว่าเอกสารนั้นมีคู่ฉบับอยู่ที่กรมการขนส่งทางบกดังนั้นการนำคำพิพากษาของศาลแต่เพียงอย่างเดียวไปแสดงเจตนาแทนจำเลยเพื่อแจ้งจำหน่ายรถยนต์ต่อกรมการขนส่งทางบกโดยไม่มีเอกสารสำคัญของรถยนต์ประกอบเรื่องราวด้วย จึงเป็นการ บังคับบุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความในคดี ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6160/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ โดยการตรวจสอบเอกสารจดทะเบียนรถยนต์หลายคัน ถือเป็นกรรมต่างวาระ
ในการยื่นคำขอจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์แต่ละคันผู้ขอต้องยื่นแบบเรื่องราวขอจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์พร้อมเอกสารต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจคำขอและเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุญาตพิจารณาแบบเรื่องราวสำหรับรถยนต์แต่ละคันแยกกันต่างหากเป็นราย ๆ ไป แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบหลักฐานได้พิจารณาคำขอพร้อมเอกสารต่าง ๆสำหรับรถยนต์แต่ละคันว่าหลักฐานเกี่ยวกับตัวรถยนต์ถูกต้องตรงกันกับเอกสารหรือไม่ ในเวลาต่อเนื่องกันก็กระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกระทงตามจำนวนเรื่องราวขอจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์แต่ละคัน มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกันในแต่ละวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมจดทะเบียนรถยนต์ถือเป็นกรรมต่างหาก และเป็นความผิดทั้งเอกสารสิทธิและเอกสารราชการ
เอกสารที่จำเลยยื่นแต่ละครั้งเป็นเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนรถยนต์ต่างกันแต่ละคัน จึงเป็นกรรมกระทำความผิดต่างหากจากกันเอกสารใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลงโอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ จึงถือเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) สำหรับเอกสารเรื่องราวจดทะเบียนรถยนต์ของกรมตำรวจเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นเพื่อใช้ในราชการจึงเป็นเอกสารราชการ การที่จำเลยนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปใช้ จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิและเอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4489/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรถยนต์ประเภทผิดพลาด และสิทธิของนายทะเบียนในการปฏิเสธการต่อทะเบียน
รถยนต์คันพิพาทเดิมเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หลังจากดัดแปลงให้เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแล้ว เบาะสองแถวหน้าที่วางขวางตามตัวรถใช้นั่งในลักษณะปกติได้ 5 คน ส่วนพื้นที่ตอนท้ายของรถซึ่งมีเบาะอีก 2 เบาะ วางไว้กับพื้นรถตามความยาวของรถ ใช้เป็นที่เก็บยางอะไหล่และมีรอยวงล้อหลังโป่งนูนขึ้นมาทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นที่เก็บอุปกรณ์ของรถและใช้เป็นที่บรรทุกสิ่งของไม่อาจติดตั้งเบาะสำหรับคนนั่งในลักษณะการนั่งอย่างธรรมดาได้ เบาะที่วางไว้กับพื้นรถดังกล่าวไม่มีพนักพิงและเมื่อนั่งแล้วผู้นั่งต้องชันเข่าขึ้นเพราะไม่มีที่ห้อยเท้า ศีรษะก็อยู่ติดกับหลังคารถ ลักษณะของเบาะดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นที่นั่งตามความหมายในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2524)ที่จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณจำนวนที่นั่งในรถตามกฎกระทรวงดังกล่าว รถยนต์พิพาทจึงเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน การที่นายทะเบียนยานพาหนะรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนมาแต่แรกไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์มาขอต่อทะเบียนและชำระภาษีในประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนโดยไม่ยอมจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนยานพาหนะมีอำนาจที่จะไม่รับชำระภาษีและไม่ต่อทะเบียนรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนรถยนต์สาธารณะต่อเนื่อง แม้มีกฎกระทรวงใหม่ หากจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเดิม
กฎกระทรวง ฉบับที่ 25(พ.ศ. 2527) ซึ่งออกตามความในมาตรา 5และมาตรา 7 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522ที่กำหนดว่า รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างที่จะขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์สาธารณะต้องเป็นรถที่ได้จดทะเบียนเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลหรือได้แจ้งย้ายเข้ามาในกรุงเทพมหานครก่อนหรือในวันที่ 19 สิงหาคม 2525นั้น เป็นเรื่องกำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างเป็นรถยนต์สาธารณะที่มิใช่ได้รับการจดทะเบียนเป็นรถยนต์สาธารณะอยู่แล้วในขณะนั้น เมื่อรถยนต์ของโจทก์เป็นรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างที่มีลักษณะ ขนาด และกำลังของเครื่องยนต์และของรถเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นรถยนต์สาธารณะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2524) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 24(พ.ศ. 2527) และได้รับการจดทะเบียนเป็นรถยนต์สาธารณะมาก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2514 โดยไม่ปรากฏว่าการจดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือขัดต่อระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่ในขณะนั้นแต่อย่างใด ทั้งได้มีการเสียภาษีประจำปีและได้รับการต่อทะเบียนประเภทรถยนต์รับจ้างสาธารณะตลอดมา โจทก์เจ้าของรถย่อมมีสิทธิจะจดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีรถยนต์ของโจทก์ในประเภทรถยนต์โดยสารสาธารณะต่อไปได้จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนจะปฏิเสธหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรถยนต์เป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ แม้ไม่มีการสืบพยานเจ้าพนักงานก็ใช้ได้
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุก เป็นเอกสารราชการที่เจ้าพนักงานกรมการขนส่งทางบกทำขึ้นใช้เป็นต้นฉบับผู้ขอจดทะเบียน แม้ผู้ร้องจะมิได้ขอให้ศาลหมายเรียกเอกสารมาจากกรมการขนส่งทางบกหรือมิได้นำเจ้าพนักงานมาสืบรับรอง ก็รับฟังสนับสนุนคำเบิกความของผู้ร้องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรถยนต์เป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ แม้ไม่นำเจ้าพนักงานมาสืบรับรองก็มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุก เป็นเอกสารราชการที่เจ้าพนักงานกรมการขนส่งทางบกทำขึ้นใช้เป็นต้นฉบับสำหรับผู้ขอจดทะเบียน แม้ผู้ร้องจะมิได้ขอให้ศาลหมายเรียกเอกสารมาจากกรมการขนส่งทางบกหรือมิได้นำเจ้าพนักงานมาสืบรับรอง ก็รับฟังสนับสนุนคำเบิกความของผู้ร้องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการจดทะเบียนรถยนต์คันที่ได้มาจากการหลอกลวง และความรับผิดของหน่วยงานที่ปล่อยปละละเลย
โจทก์ฟ้องมีใจความว่า จำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดของจำเลยที่ 5 กระทรวงยุติธรรม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองจ่าศาลมีอำนาจหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและคำสั่งของจำเลยที่ 5 ส่วนจำเลยที่ 4 กรมบังคับคดีเป็นกรมหนึ่งในสังกัดของจำเลยที่ 5 มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันปลอมเอกสารเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และการขายทอดตลาดรถยนต์พิพาทของศาล โดยไม่มีการยึดและขายทอดตลาดกันจริง แล้วร่วมกันปลอมหนังสือและปลอมลายมือชื่อผู้พิพากษาแจ้งไปยังสำนักงานขนส่งให้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันโอนขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถ กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ยึดรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ เนื่องจากรถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีการลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวเป็นการหลอกลวงฉ้อโกงโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมคำว่า "และผู้มีชื่ออื่น" ต่อท้ายจำเลยที่ 3 ทุกแห่งก็ตาม ก็ยังไม่อาจจะแปลได้ว่าผู้มีชื่ออื่นนั้นหมายถึง ภ. ที่มีตำแหน่งเป็นรองจ่าศาลประจำศาลในขณะเกิดเหตุอีกคนหนึ่งด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องและจำเลยที่ 5 ไม่ได้ให้การถึง ภ. แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ต้องร่วมกับ ภ. รับผิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงถึง ภ. ย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็น เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 3 มิได้กระทำละเมิดซึ่งทำให้จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และข้อเท็จจริงดังกล่าวยุติไปแล้วโดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกา ย่อมไม่มีทางที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาในประเด็นความรับผิดของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่โจทก์ฎีกาข้างต้นให้เป็นคุณแก่โจทก์ได้
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรอันเป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 เจ้าพนักงานตำรวจจึงย่อมมีอำนาจหน้าที่ต้องไปดำเนินการยึดรถยนต์พิพาทมาไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 ไม่ว่ารถยนต์ของกลางนั้นจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมที่ไปยึดรถยนต์ของกลางจากโจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 7 กรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ แม้โจทก์จะรับซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ก็ตาม แต่เมื่อรถยนต์พิพาทต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. 1332
ตามเอกสารเกี่ยวกับการยึดและขายทอดตลาดรถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปยื่นขอจดทะเบียนมีราคาขายทอดตลาดเพียง 200,000 บาท โดยแนบสำเนาภาพถ่ายรถยนต์ไปด้วยแต่รถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปให้ตรวจสภาพรถและขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ที่มีสภาพค่อนข้างใหม่และมีราคาสูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายให้โจทก์ได้ราคาถึง 1,750,000 บาท แสดงว่ามีสภาพแตกต่างจากที่ระบุไว้ดังกล่าวมาก หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 ตรวจสอบเอกสารและตรวจสภาพรถยนต์พิพาทให้ถี่ถ้วนรอบคอบก็จะทราบถึงความแตกต่างของสภาพรถที่นำมาตรวจเพื่อขอจดทะเบียนกับสภาพรถที่ปรากฏในเอกสารได้โดยไม่ยาก และคงไม่รับจดทะเบียน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่ซื้อไว้โดยสุจริตจำเลยที่ 6 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรอันเป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 เจ้าพนักงานตำรวจจึงย่อมมีอำนาจหน้าที่ต้องไปดำเนินการยึดรถยนต์พิพาทมาไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 ไม่ว่ารถยนต์ของกลางนั้นจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมที่ไปยึดรถยนต์ของกลางจากโจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 7 กรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ แม้โจทก์จะรับซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ก็ตาม แต่เมื่อรถยนต์พิพาทต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. 1332
ตามเอกสารเกี่ยวกับการยึดและขายทอดตลาดรถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปยื่นขอจดทะเบียนมีราคาขายทอดตลาดเพียง 200,000 บาท โดยแนบสำเนาภาพถ่ายรถยนต์ไปด้วยแต่รถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปให้ตรวจสภาพรถและขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ที่มีสภาพค่อนข้างใหม่และมีราคาสูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายให้โจทก์ได้ราคาถึง 1,750,000 บาท แสดงว่ามีสภาพแตกต่างจากที่ระบุไว้ดังกล่าวมาก หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 ตรวจสอบเอกสารและตรวจสภาพรถยนต์พิพาทให้ถี่ถ้วนรอบคอบก็จะทราบถึงความแตกต่างของสภาพรถที่นำมาตรวจเพื่อขอจดทะเบียนกับสภาพรถที่ปรากฏในเอกสารได้โดยไม่ยาก และคงไม่รับจดทะเบียน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่ซื้อไว้โดยสุจริตจำเลยที่ 6 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการจดทะเบียนรถยนต์คันที่ได้มาจากการปลอมเอกสาร และความรับผิดของหน่วยงานที่กำกับดูแล
ตามคำฟ้องของโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 กระทำต่อโจทก์หรือไม่ แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมคำว่า "และผู้มีชื่ออื่น" ต่อท้ายจำเลยที่ 3 ทุกแห่ง ก็ยังไม่อาจจะแปลได้ว่าผู้มีชื่ออื่นนั้นหมายถึง ภ. ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้อง และจำเลยที่ 5 ก็ไม่ได้ให้การถึง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 ต้องร่วมกับ ภ. รับผิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงถึง ภ. ย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็น
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทมาไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากร ไม่ว่ารถยนต์ของกลางจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมที่ไปยึดรถยนต์ของกลางจากโจทก์จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ กรมตำรวจจำเลยที่ 7 หน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ แม้โจทก์จะรับซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ แต่เมื่อรถยนต์พิพาทต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากรโจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร ซึ่งจะต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากร และอาจจะต้องถูกริบไปในที่สุด ดังนี้ แม้โจทก์จะซื้อรถยนต์พิพาทมาจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์และเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 6 จะจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิครอบครองและไม่อาจได้รับกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทได้อีกต่อไป จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้สอยในรถยนต์พิพาทภายหลังรถถูกยึดได้ คงเรียกได้แต่ราคาพร้อมดอกเบี้ยจากผู้ที่หลอกลวงขายรถให้เท่านั้น
รถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำมาให้ตรวจสภาพรถและขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ที่มีสภาพค่อนข้างใหม่และมีราคาสูงมิใช่รถเก่าก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 6 จะได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 หากได้ตรวจสอบเอกสารและสภาพรถยนต์พิพาทให้ถี่ถ้วนรอบคอบก็จะทราบถึงความแตกต่างของสภาพรถที่นำมาตรวจเพื่อขอจดทะเบียนโดยไม่ยาก และคงจะไม่รับจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นแน่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารและสภาพรถยนต์พิพาทให้รอบคอบ จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์เนื่องจากทำให้โจทก์ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่ซื้อไว้โดยสุจริต จึงเป็นการกระทำละเมิดจำเลยที่ 6 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นด้วย
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทมาไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากร ไม่ว่ารถยนต์ของกลางจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมที่ไปยึดรถยนต์ของกลางจากโจทก์จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ กรมตำรวจจำเลยที่ 7 หน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ แม้โจทก์จะรับซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ แต่เมื่อรถยนต์พิพาทต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากรโจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร ซึ่งจะต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากร และอาจจะต้องถูกริบไปในที่สุด ดังนี้ แม้โจทก์จะซื้อรถยนต์พิพาทมาจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์และเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 6 จะจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิครอบครองและไม่อาจได้รับกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทได้อีกต่อไป จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้สอยในรถยนต์พิพาทภายหลังรถถูกยึดได้ คงเรียกได้แต่ราคาพร้อมดอกเบี้ยจากผู้ที่หลอกลวงขายรถให้เท่านั้น
รถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำมาให้ตรวจสภาพรถและขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ที่มีสภาพค่อนข้างใหม่และมีราคาสูงมิใช่รถเก่าก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 6 จะได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 หากได้ตรวจสอบเอกสารและสภาพรถยนต์พิพาทให้ถี่ถ้วนรอบคอบก็จะทราบถึงความแตกต่างของสภาพรถที่นำมาตรวจเพื่อขอจดทะเบียนโดยไม่ยาก และคงจะไม่รับจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นแน่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารและสภาพรถยนต์พิพาทให้รอบคอบ จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์เนื่องจากทำให้โจทก์ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่ซื้อไว้โดยสุจริต จึงเป็นการกระทำละเมิดจำเลยที่ 6 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นด้วย