พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินตามพินัยกรรมและการจดทะเบียนสิทธิ แม้พินัยกรรมไม่ได้ระบุ และการข้อยกเว้นอายุความ
ตามข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดกโดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้แม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม
โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนที่ ท.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมและก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แม้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นโดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ1 ปีแล้ว โดยปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1748 ซึ่งเป็นบทมาตราข้อยกเว้นที่จะใช้บังคับตามมาตรา 1754 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตาม คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้
โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนที่ ท.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมและก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แม้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นโดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ1 ปีแล้ว โดยปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1748 ซึ่งเป็นบทมาตราข้อยกเว้นที่จะใช้บังคับตามมาตรา 1754 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตาม คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการจดทะเบียนสิทธิ: สิทธิใครเหนือกว่าเมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองเดิม
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปีโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความและการหมดอายุสิทธิร้องสอดคดี การครอบครองปรปักษ์ และผลของการจดทะเบียนสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน10 ปี การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ในคดนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบและเปิดเผยต่อเนื่อง หากมีจดทะเบียนสิทธิในที่ดินตลอดมา การครอบครองไม่ครบ 10 ปี ย่อมไม่เกิดสิทธิ
ผู้ร้องทั้งสองได้กล่าวไว้ในคำร้องขอให้แสดงสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทว่า ผู้ร้องทั้งสองได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2645 ตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จึงมีความหมายว่า ผู้ร้องทั้งสองได้ร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาททั้งโฉนด โดยไม่จำต้องระบุถึงเนื้อที่ดิน ความกว้างยาวหรืออาณาเขต หรือแนบสำเนาโฉนดมาในท้ายคำร้องขอ และที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวว่าได้ครอบครองเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว ก็มีความหมายว่าผู้ร้องทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเกินกว่าสิบปี เป็นการเริ่มครอบครองเมื่อก่อนสิบปีเป็นคำร้องขอที่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 แล้ว ไม่เคลือบคลุม ตามคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองได้กล่าวว่าผู้ร้องทั้งสองครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งรับรองกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสองอันเป็นการจะต้องใช้สิทธิทางศาล ผู้ร้องทั้งสองไม่ได้กล่าวว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้องทั้งสองอันจะต้องทำเป็นคำฟ้องบุคคลผู้โต้แย้งสิทธิการทำเป็นคำร้องขอจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 แล้ว ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของ ป. ต่อมามีการจดทะเบียนโอนขายกันหลายทอด จนเมื่อปี 2504 ด. ในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทได้จดทะเบียนจำนองที่ดินแปลงนี้แก่ ผ. ปี 2509 จึงได้ไถ่ถอนจำนอง แล้วจดทะเบียนขายฝากแก่ จ. ในปีเดียวกัน จนปี 2511 จึงจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากแล้วจดทะเบียนขายฝากให้แก่ ส. กับพวก อีกทีหนึ่งโดยมิได้ไถ่ถอนการขายฝาก ปี 2512 ส. กับพวกได้จดทะเบียนโอนขายคืนให้แก่ ด.ในปีเดียวกันด. ได้จดทะเบียนขายฝากแก่ ล.โดยไม่มีการไถ่ถอนการขายฝากปี 2514 ล. ได้จดทะเบียนขายให้แก่ช.ปี2519ช. ได้จดทะเบียนแบ่งขายบางส่วนของที่ดินพิพาทให้แก่กรมทางหลวงเพื่อทำเป็นถนนสาธารณะ ปี 2522 ช. ได้จดทะเบียนโอนขายส่วนที่เหลือให้แก่ ม. และปีเดียวกันนั้น ม. ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้คัดค้านอีกต่อหนึ่ง การที่มีการจดทะเบียนเกี่ยวสิทธิในที่ดินตลอดมาเกือบทุกปีนับแต่ที่ฝ่าย ผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท การอ้างว่าได้เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงถูกกระทบสิทธิมาตลอด ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนมาจนถึงวันยื่นคำร้องก็ยังไม่ครบสิบปี แม้ฝ่ายผู้ร้องได้ครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทมาโดยตลอด ผู้ร้องทั้งสองก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องทั้งสองว่าผู้คัดค้านว่าโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ และผู้รับโอนคนก่อน ๆต่อจากผู้คัดค้านรับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองสิทธิผู้รับจำนองสุจริต ผู้ครอบครองปรปักษ์ยังไม่จดทะเบียนสิทธิ ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้รับจำนอง
ผู้ร้องได้ที่ดินและตึกแถวที่โจทก์นำยึดมาโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้มาซึ่งสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนสิทธิของตนไว้ จึงไม่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ทั้งต้องห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141-4142/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์และการจดทะเบียนสิทธิ การซื้อขายโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องเป็นบุตรของจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท ดังนั้นไม่ว่าผู้ร้องจะได้ที่พิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ แต่เมื่อผู้ร้องยังมิได้มีการจดทะเบียนการได้มาเช่นนั้น ผู้ร้องก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ซื้อที่พิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้ ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อผู้ร้องไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องมีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่พิพาทได้ ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีก่อนผูกพันคู่ความและโจทก์ร่วมในคดีใหม่ ห้ามโต้แย้งสิทธิที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
คดีก่อนศาลแพ่งได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินรายพิพาทมาจากนายพงษ์และนางถวิล สังข์เลี้ยง โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิแล้ว และต่อมายกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรายพิพาทโดยชอบ โจทก์ไม่อาจยกการได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองซึ่งมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นต่อสู้ โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านประการใด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณามิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ส่วนโจทก์ร่วมนั้นในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 พิพาทกันในคดีก่อน โจทก์ร่วมยังเป็นภริยาของโจทก์อยู่ ถึงแม้โจทก์ร่วมจะได้ร่วมกับโจทก์ครอบครองที่ดินรายพิพาทมา ที่ดินรายพิพาทก็เป็นสินสมรสซึ่งโจทก์ในฐานะสามีมีอำนาจจัดการ การที่โจทก์เข้าต่อสู้คดีเกี่ยวกับที่ดินรายพิพาทย่อมเป็นการกระทำแทนโจทก์ร่วมด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ดุจเดียวกัน ดังนั้นโจทก์และโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีใหม่ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ซื้อที่ดินและจำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์อันเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาในคดีก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สินหลังมีคำพิพากษาประนีประนอมยอมความ: ผู้ร้องย่อมมีสิทธิก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
โจทก์และผู้ร้องต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยเป็นคนคนเดียวกัน จำเลยยอมใช้หนี้เงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยอมโอนที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ผู้ร้องเป็นการใช้หนี้แทนภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏว่าโจทก์นำยึดเรือนและที่พิพาทของจำเลยในวันเดียวกันกับที่ผู้ร้องกับจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์นำยึดภายหลังการทำยอมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนโจทก์นำยึด แม้จำเลยจะยังมิได้กระทำการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนให้ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ขอให้เพิกถอนการยึดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสิทธิในที่ดินสำคัญกว่าข้อตกลงปากเปล่า ผู้รับจำนองยึดทรัพย์ได้แม้มีข้อตกลงเรื่องถนน
ที่ดินโฉนดที่ 12135 เดิมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 1402 ก.แบ่งแยกขายที่ดินให้จำเลยไปตามโฉนดที่ 12135 โดยรังวัดแบ่งแยกส่วนที่จะตัดเป็นถนนสาธารณะ ให้จำเลยไปด้วย ดังนี้ ข้อที่ ก.กับจำเลยตกลงกันว่าจะรังวัดแบ่งแยกที่พิพาทให้เป็นถนนสาธารณะในภายหลังนั้น เมื่อมิได้จดทะเบียนสิทธิ จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองจากจำเลยโดยที่โจทก์ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสิทธิในที่ดินสำคัญกว่าข้อตกลงปากเปล่า ผู้รับจำนองโดยสุจริตมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน
ที่ดินโฉนดที่ 12135 เดิมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 1402 ก.แบ่งแยกขายที่ดินให้จำเลยไปตามโฉนดที่ 12135 โดยรังวัดแบ่งแยกส่วนที่จะตัดเป็นถนนสาธารณะ ให้จำเลยไปด้วย ดังนี้ ข้อที่ ก.กับจำเลยตกลงกันว่าจะรังวัดแบ่งแยกที่พิพาทให้เป็นถนนสาธารณะในภายหลังนั้น เมื่อมิได้จดทะเบียนสิทธิ จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองจากจำเลยโดยที่โจทก์ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตหาได้ไม่