พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงบริษัท: การถือหุ้น, การประชุมผู้ถือหุ้น, และการประทับตราบริษัท
ป.น.และส.มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจ ให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัทก. เป็นผู้ขายหุ้นของป.น.และส.ถือไม่ได้ว่าป.น.และส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป.น. และส.โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ป.น. และส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอน กับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็น อย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของป.น.และส.ได้โอนไปยังโจทก์แล้วป.น.และส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทก. สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขาย ได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตาม ข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นายว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อ นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองเพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสาร การโอนหุ้นตามมาตรา 1129 วรรคสอง ป.น.และส.จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6849/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขโฉนดที่ดินที่ไม่ชอบ กรมที่ดินมีหน้าที่ต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
เมื่อกรมที่ดินจำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในการเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดของจำเลยที่ 1 ซึ่งหากไม่อาจเพิกถอนได้ ผู้ที่จะใช้ราคาที่ดินคือจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ถูกพิพากษาให้ต้องรับผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ในการรังวัดที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานรังวัดที่ดิน และการเสนอความเห็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดรังวัดที่ดินต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินไม่ว่าโจทก์จะได้ไปชี้แนวเขตหรือไม่ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำตามระเบียบว่าด้วยการรังวัดหรือไม่ก็ตาม ในเมื่อมีการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดิน เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ได้รับที่ดินเพิ่มขึ้นและทำให้ที่ดินพิพาทของโจทก์ตกเป็นของจำเลยที่ 1การจดทะเบียนที่ได้ทำไปจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 4 ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง ศาลจึงพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 4 ทำการเพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าวได้ และไม่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้นำชี้แนวเขตที่ดินหรือไม่ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำตามระเบียบว่าด้วยการรังวัดหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9193/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ อายุความมรดก และการจดทะเบียนแก้ไขคลาดเคลื่อน กรณีพิพาททรัพย์มรดก
แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้โดยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เป็นทำนองว่า ขอให้เพิกถอนนิติกรรม การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนและอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน แต่เหตุที่โจทก์อ้างเป็นหลักในคำฟ้องก็เป็นเหตุเดียวกันกับเหตุที่โจทก์อ้างในคดีก่อนว่าการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้คำขอบังคับในคดีนี้จะแตกต่างจากคดีก่อนก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็เนื่องมาจากมูลเหตุเดียวกัน กล่าวคือ ในคดีนี้ก็ต้องวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่งว่า การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. ทั้งสามครั้งตามฟ้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นประเด็นที่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ส่วนการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกเอาจากทายาท กรณีจำต้องอยู่ภายใต้อายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เมื่อโจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่งทราบการตายของเจ้ามรดก โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมจึงต้องใช้สิทธิฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่เมื่อโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก และจำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755 นอกจากนี้ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 แต่โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีนี้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2556 จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายและโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกและพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
ส่วนการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกเอาจากทายาท กรณีจำต้องอยู่ภายใต้อายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เมื่อโจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่งทราบการตายของเจ้ามรดก โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมจึงต้องใช้สิทธิฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่เมื่อโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก และจำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755 นอกจากนี้ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 แต่โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีนี้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2556 จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายและโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกและพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว