คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดแจ้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้น: สิทธิและความรับผิดของผู้โอนเมื่อบริษัทร่วมรู้เห็นและไม่จดแจ้งการโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสามที่บัญญัติถึงการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้นั้นหมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วย ขณะที่มีการโอนขายหุ้นกันส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแม้ส. จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวแต่ในฐานะที่ส. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยอยู่ด้วยจึงต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้วบริษัทจำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีกการที่บริษัทจำเลยไม่ดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองและการที่บริษัทจำเลยยกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้โอนต้องรับผิดย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างว่าการโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา1129วรรคสามไม่ได้ส่วนมาตรา1133เกี่ยวกับความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนหมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ไม่ได้หมายถึงว่าผู้โอนจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นไปแล้วผู้คัดค้านจึงเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และผลของการจดแจ้งในทะเบียนสมรส
การที่โจทก์จำเลยทำความตกลงในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา โดยจำเลยให้สัญญาว่าบ้านพร้อมที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยให้เป็นสินสมรส จึงเป็นกรณีที่คู่สมรสจดแจ้งข้อความอันเป็นสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อความขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1465 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงจะมีผลทางกฎหมาย ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งไม่มีสิทธิออกเสียง
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมดังกล่าว การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญที่กฎหมายกำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกระยะเวลาสิบสองเดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติดังเช่นในกรณีเพิ่มทุนและลดทุนของจำเลยนี้ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยจึงมีมติให้ปิดสมุดพักการโอนหุ้นได้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่มีการลงนามและประทับตราจากกรรมการบริษัท ย่อมใช้ยันบริษัทได้ แม้ไม่ได้จดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้น
เมื่อการโอนหุ้นมีกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทลงชื่อเป็นพยานพร้อมกับประทับตราสำคัญของบริษัท แม้จะไม่มีการจดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักงานผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น การโอนนั้นสามารถใช้ยันบริษัทได้ ไม่เป็นกรณีที่ต้องตกอยู่ในบังคับมาตรา 1129วรรคสาม ความรับผิดของผู้โอนสำหรับจำนวนเงินในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1133 นั้น หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบต่อบริษัท ทั้งที่ได้โอนหุ้นนั้นไปแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งการโอนในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงมีผลผูกพันบุคคลภายนอกและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การโอนหุ้นระหว่างผู้ร้องกับ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของมาตรา 1129 วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยแล้ว พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22 (2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทจำเลยหรือซึ่งบริษัทจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทจำเลยดังกล่าวแล้วผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงมีผลผูกพันกับบริษัทและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า การโอนหุ้นจะต้องได้จดแจ้งให้ปรากฏหลักฐานการโอนทั้งชื่อ และที่อยู่ของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ยันบริษัทหรือบุคคลภายนอกได้ เมื่อการโอนหุ้นของบริษัทจำเลยระหว่างผู้ร้องกับ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆมาเป็นข้อยกเว้นของบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้ตนหลุดพ้นความรับผิดได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตก ได้แก่บริษัทจำเลยหรือซึ่งบริษัทจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทจำเลย ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่ยังมิได้จดแจ้งผลกระทบต่อหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย ผู้โอนยังคงเป็นหนี้อยู่
ผู้ร้องมีหนังสือปฏิเสธหนี้ค่าหุ้นซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งว่าผู้ร้องยังค้างชำระต่อบริษัทลูกหนี้(จำเลย) โดยส่งสำเนาภาพถ่ายหนังสือโอนหุ้นเป็นพยานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้ว แม้ในชั้นสอบสวนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ออกหมายนัดให้ผู้ร้องไปให้การเพื่อสอบสวนโดยระบุว่า ถ้า ไม่ไป ถือว่าไม่ติดใจให้สอบสวนก็ตามผู้ร้องก็ยังมีสิทธิยกข้ออ้างเกี่ยวกับการที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้มีชื่อ ขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลและนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ไม่ถือว่าการนำพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นอันยุติไปตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนไว้ ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อ ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) การโอนหุ้นจึงต้องจดแจ้งการโอนทั้งชื่อ และสำนักงานผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรค 3มิฉะนั้นจะอ้างเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ที่ค้างชำระหุ้นมิได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ยังค้างชำระต่อบริษัทลูกหนี้ ผู้ร้องจึงไม่อาจยกเอาการโอนหุ้นซึ่งยังมิได้จดแจ้งการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งขาดนัดพิจารณาและการจดแจ้งในรายงานกระบวนพิจารณา ศาลมีอำนาจดำเนินการได้ แม้จะจดแจ้งภายหลัง
การที่จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลย่อมมีอำนาจสั่งและดำเนินกระบวนพิจารณาไป แล้วจึงจดแจ้งเรื่องที่กระทำหรือกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปนั้นลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นบริษัทจำกัดต้องลงชื่อผู้รับโอน มิฉะนั้นไม่สมบูรณ์ แม้จดแจ้งก็ยังใช้ไม่ได้
โอนหุ้นบริษัทจำกัดชนิดระบุชื่อโดยไม่ได้ลงชื่อผู้รับโอนด้วย นับว่าใช้ไม่ได้แม้จะได้จดแจ้งการโอนในทะเบียนของบริษัทก็คงใช้ไม่ได้ มาตรา 1141 เป็นแต่ข้อสันนิษฐานว่าทะเบียนของบริษัทถูกต้องและไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หุ้นในบริษัทจำกัดเป็นสิทธิชนิดหนึ่ง การโอนหุ้นบริษัทจำกัดไม่สมบูรณ์ถ้าผู้รับโอนได้ปกครองมาเกิน 5 ปีก็อาจได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นตาม มาตรา 1382