คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จริยธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7337/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความที่มีข้อตกลงแบ่งเปอร์เซ็นต์จากผลคดี เป็นโมฆะเพราะขัดต่อจริยธรรมและความสงบเรียบร้อย
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นเพียงแต่คู่สัญญาตกลงว่าจ้างและรับจ้างแล้ว สัญญาย่อมเกิดขึ้นและผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตามนั้น เมื่อจำเลยได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแล้ว แม้สัญญาจ้างว่าความจะมิได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำพยานบุคคลมาสืบยืนยันว่าได้มีการตกลงค่าจ้างไว้เป็นจำนวนเท่าใด
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันร้อยละ 7.5 ของราคาทรัพย์สิน และถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืน โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้าง เช่นนี้ ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความ หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความที่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก: โมฆะตามหลักจริยธรรมวิชาชีพ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามมีใจความทำนองว่า จำเลยแต่ละคนตกลงให้ค่าตอบแทนโจทก์จำนวนร้อยละ 3 ของมูลค่าทรัพย์มรดกหรือจำนวนเงินที่ได้รับโดยจะจ่ายให้เมื่อได้รับเงินจากการแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นคราว ๆ ไป แสดงว่าค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยทั้งสามขึ้นอยู่กับทรัพย์มรดกหรือจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสามได้รับ หากจำเลยทั้งสามไม่ได้รับทรัพย์มรดกหรือเงินส่วนแบ่ง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยทั้งสาม สัญญาจ้างว่าความเช่นนี้มีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้ามีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในผลแห่งคดีของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกความ ไม่เหมือนกับสัญญาจ้างว่าความที่ทนายพึงได้รับค่าจ้างเป็นจำนวนเงินตายตัวโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลคดีว่าจะแพ้หรือชนะอย่างไร ทั้งการที่โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยทั้งสามโดยคิดในอัตราร้อยละ 3 ของทรัพย์มรดกแต่ละรายการที่จำเลยทั้งสามได้รับไปแล้วนั้น ยิ่งทำให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับค่าจ้างตามผลแห่งคดีที่จำเลยทั้งสามได้รับทรัพย์มรดกโดยตรง สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามแม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่ก็เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และเมื่อข้อความในสัญญาจ้างว่าความชัดเจนอยู่แล้ว กรณีไม่อาจตีความโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงให้เป็นอย่างอื่นไปได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายโดยมีส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดหลักจริยธรรมและขัดต่อความสงบเรียบร้อย
วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หลายประการ รวมทั้งการห้ามมิให้ผู้ที่มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่นอย่างผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงย่อมมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องกับหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแก่คู่ความดุจเป็นเจ้าหน้าที่ของศาล ทนายความไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตน ในลักษณะที่ตนเองมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลย จะได้รับแบ่งมานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วย หลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความ ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความอย่าง พ.ร.บ.ทนายความสองฉบับก่อน แต่การวางระเบียบบังคับแก่ทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน การที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ อย่าง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลจะลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลให้ข้อสัญญาซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความกลับมี ความสมบูรณ์แต่ประการใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความปรึกษาหารือแล้วรับเป็นทนายฝ่ายตรงข้าม มีความผิดตาม พ.ร.บ.ทนายความ
ทนายความรับปรึกษาหารือในทางอัถคดีและได้ตรวจดูหลักฐานเอกสารต่างๆ ของโจทก์ แต่ไม่ได้ตกลงกันภายหลังกลับรับเป็นทนายแก้ต่างให้อีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมมีความผิดตรา พ.ร.บ.ทนายความ 2477 มาตรา 12 ข้อ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความแจ้งความเท็จ เสื่อมเสียจริยธรรม ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อบังคับว่าด้วยมารยาตร์ทนายความ พ.ศ. 2458 ข้อ 7- 11 ทนายความทำผิดฐานแจ้งความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4080/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การภาคทัณฑ์แพทย์จากข้อเท็จจริงการจ่ายยาโดยมิได้ตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด การกระทำเข้าข่ายขาดความรับผิดชอบและอาจเป็นเหตุเลื่อมเสียเกียรติศักดิ์
การสอบสวนของแพทยสภาจำเลยจะชอบด้วยกระบวนการสอบสวนหรือไม่ ต้องมีข้อเท็จจริงที่จะนำมาพิจารณาปรับเข้ากับข้อกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นการสอบสวนชอบหรือไม่ จำเลยจึงไม่จำเป็นที่จะต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นวินิจฉัยว่ากระบวนการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลย จึงไม่ชอบเพราะหากมีประเด็นนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยอาจจะนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยได้ การที่จะยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยเอง จะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีด้วย
โจทก์ไม่ได้ตรวจร่างกาย ป. ก่อนที่ ส. จะจ่ายมา เมื่อยาดังกล่าวเป็นไดอาซีแพมหรือแวเลี่ยมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 และเออโกตามีน ทาร์เตรต ซึ่งเป็นยาอันตราย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วยได้และอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ การที่คณะกรรมการของแพทยสภาจำเลยเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวของโจทก์เป็นอันตรายต่อสังคมทั่วไปและเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับแพทย์สภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวด 1 ข้อ 2 และมีมติภาคทัณฑ์โจทก์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มาตรา 39 (3) จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบ