พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการจอดรถกีดขวางการจราจรในเวลากลางคืน และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่ามีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบการที่จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้ กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน อ. เคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลยและขณะที่ อ.เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้อ.มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ.เป็นพยานได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 56,61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทหนักที่สุดลงโทษตามมาตรา 90 พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุดการเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีจึงยังไม่เลิกกันศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390ซึ่งเป็น บทหนักที่สุดให้ถูกต้องได้