คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดการงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดในห้างหุ้นส่วนจำกัด: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการสอดเข้าไปจัดการงาน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการโดยไม่จำกัดจำนวน โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญที่ทำให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิด จึงถือไม่ได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเนื่องจากสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 แม้โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 3 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ก็เป็นการนำสืบนอกเหนือไปจากคำฟ้อง กรณีไม่อาจให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดที่เกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนเกินขอบเขต ทำให้ต้องรับผิดร่วมกับหุ้นส่วนผู้จัดการและห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่เป็นผู้ติดต่อส่งสินค้าไปยังต่างประเทศและได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้สั่งจ่ายเช็คได้ทั้งจำเลยที่ 3 ยังได้ทำบันทึกความเข้าใจ พร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1ด้วย โดยทำในนามของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฟ้อง & ละเมิดจากจัดการงานเกินอำนาจ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 133
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณ ทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 396 บัญญัติว่า "ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดี และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการ เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่า ผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น หรือน่าจะรู้ว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น การที่จำเลยที่ 1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์ หลังจากหมดงบประมาณแล้ว และโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมา กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงาน หาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา 396 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเกี่ยวข้องจัดการงานห้างหุ้นส่วน ความรับผิดต่อหนี้ของห้างฯ
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างสองข้อว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่ปฎิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใดซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชอบอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1088 วรรคหนึ่งเป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองจึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างของโจทก์ข้อแรกไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 วรรคหนึ่งเป็นบทบัญญัติเพื่อป้องกันมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนเพราะหน้าที่ดังกล่าวเป็นของหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดหนี้ระหว่างห้างหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอกได้ หากหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนก็ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดจำนวน บุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใดส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใดและมีหน้าที่อย่างใด หากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจากการทำหนังสือรับสภาพหนี้และการจัดการงาน
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์ ใช้ชื่อบัญชีว่า นาย ส. คือจำเลยที่ 4 โดยใช้เช็คเบิกเงินจากบัญชีมีเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินว่า สองในสามของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกัน ต่อมาจำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ได้ร่วมกันจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. จำเลยที่ 1ขึ้นโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 และที่ 4เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แล้วแจ้งโจทก์ขอเปลี่ยนชื่อบัญชีจากชื่อจำเลยที่ 4 เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 เงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินจากบัญชีคงให้สองในสามคนของหุ้นส่วน คือจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ลงชื่อร่วมกันออกเช็คประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 หลายครั้งอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 หยุดเคลื่อนไหว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4ได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยยอมร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน แม้การเบิกเงินเกินบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จะหยุดเคลื่อนไหวและได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ก็ตาม แต่หนังสือรับสภาพหนี้ได้ระบุชัดเจนว่าจำเลยทั้งสี่จะนำเงินมาผ่อนชำระเข้าบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 ทุก ๆ เดือน เพื่อลดต้นเงินและดอกเบี้ยไปจนกว่าจะชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีหมดสิ้น และตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป ถือได้ว่าเป็นการตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นคู่สัญญาจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด และให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสั่งจ่ายเช็ค: การสอดแทรกจัดการงานและผลกระทบทางกฎหมาย
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 3 เป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน จึงต้องรับผิดร่วมกันใน บรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติมาตรา 1088 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดในการซื้อขายสินค้า โดยการแอบอ้างชื่อผู้อื่นและการมีส่วนร่วมจัดการงานของห้าง
การตั้งตัวแทนซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปซึ่งจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น เมื่อฟังได้ว่าตัวการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและรับสินค้าไว้ อันถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้แล้ว ก็ย่อมไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่พนักงานขาย จำเลยที่ 2เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด โจทก์ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าของโจทก์ในนามของจำเลยที่ 2. จำเลยที่ 1 จึงใช้ชื่อจำเลยที่ 4 ซื้อสินค้าแทนจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างจำเลยที่ 2 ก็มีส่วนร่วมในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยแอบอ้างชื่อจำเลยที่ 4 เป็นผู้ซื้อแทนจำเลยที่ 2 อันถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 จำเลยที่ 1 จึง ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, ผู้ซื้อ, และตัวแทนในการซื้อขายสินค้า โดยมีประเด็นเรื่องการสอดเข้าไปจัดการงานของห้าง
การตั้งตัวแทนซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปซึ่งจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น เมื่อฟังได้ว่าตัวการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและรับสินค้าไว้ อันถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้แล้ว ก็ย่อมไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่พนักงานขายจำเลยที่ 2 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด โจทก์ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าของโจทก์ในนามของจำเลยที่ 2. จำเลยที่ 1 จึงใช้ชื่อจำเลยที่ 4 ซื้อสินค้าแทนจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างจำเลยที่ 2. ก็มีส่วนร่วมในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยแอบอ้างชื่อจำเลยที่4 เป็นผู้ซื้อแทนจำเลยที่ 2 อันถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 จำเลยที่ 1 จึง ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องพิสูจน์ความไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้
คำร้องกล่าวเพียงว่า ช.มารดาผู้ร้องป่วยเป็นโรคต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน สุขภาพไม่สมบูรณ์ ง่ายต่อการถูกหลอกลวงหรือข่มขู่จากผู้อื่นได้เท่านั้น ไม่ได้กล่าวว่า ช. ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้เพราะเหตุ ต่างๆ ตามที่ระบุไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา34 ตามทางไต่สวนก็ได้ความว่า ช.ยังคงปฏิบัติหน้าที่แม่บ้านได้ตามปกติโดยไปจ่ายตลาดและหุงหาอาหารเองกรณีไม่มีเหตุที่จะสั่งให้ ช. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในเช็คและการจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1,2 ร่วมกันลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต่อมาได้เลิกกิจการ จำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
of 2