พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9189/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกกรณีหนี้สินไม่ล้นพ้นตัว แม้มีเหตุให้สันนิษฐานได้แต่ทรัพย์มรดกเพียงพอชำระหนี้
เจ้าหนี้ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายได้แก่รถบรรทุกและเงินฝากธนาคารชำระหนี้แล้ว เมื่อหักกลบกับหนี้ ตามฟ้องแล้วจะเหลือหนี้ค้างชำระเพียงจำนวนเล็กน้อยประมาณ 10,000 บาท อีกทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายเป็นลูกหนี้ บุคคลอื่นอีก รูปคดีจึงยังไม่พอฟังว่าลูกหนี้ที่ตายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้จัดการทรัพย์มรดก ของผู้ตายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดหลังเสียชีวิต: ศาลจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14ดังโจทก์ฎีกาขอมาได้ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการจัดการทรัพย์มรดกจนคดีถึงที่สุด: ศาลเคารพข้อตกลงของคู่ความเหนือบทบัญญัติมาตรา 260
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าจะคดีจะถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้ จะนำบทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียหายต่อทรัพย์สินจากการจัดการทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ไม่จำกัดเฉพาะประโยชน์ที่ได้จากการจัดการ
การมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 นั้น. หาจำต้องเป็นการมอบหมายให้จัดการเพื่อหาหรือให้ได้ประโยชน์อย่างใดเสมอไปไม่. ฉะนั้น ประโยชน์ที่เกิดการเสียหายจึงมิใช่เพียงประโยชน์อันได้จากการจัดการทรัพย์เท่านั้น. แต่อาจเป็นประโยชน์อื่นใดก็ได้.ซึ่งข้อสำคัญมีเพียงว่า ประโยชน์ที่เกิดการเสียหายนั้นจะต้องเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์เท่านั้น. โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ยางรถโจทก์เสียหาย เพลาเครื่องยนต์ ตัวถัง จะต้องซ่อมแซมรวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 35,000 บาท. เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่าความเสียหายในตัวทรัพย์ของโจทก์ที่ได้รับล้วนเป็นประโยชน์ของโจทก์ที่เป็นเงินอันอยู่ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิ้น. หาใช่เป็นเพียงการทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายเท่านั้นไม่. เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยครบถ้วนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แล้ว. ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการไต่สวนมูลฟ้อง แล้วสั่งไปตามกระบวนความ.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1-2/2511).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก แม้มีข้อตกลงแบ่งมรดกแล้ว ก็ยังจำเป็นเพื่อจัดการโอนทรัพย์ให้สมบูรณ์ตามข้อตกลง
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน ในการแบ่งปันมรดกกันไว้หมดแล้ว แต่การที่จะจัดการโอนมรดกให้แก่กันตามข้อตกลง ก็ยังจำเป็นจะต้องมีผู้จัดการมรดกเป็นผู้จัดการให้บังเกิดผลเสร็จสิ้นไปตามข้อตกลงนั้น
ในคดีที่ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก ผู้ร้องจะต้องบรรยายในคำร้องถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรที่จะต้องมีผู้จัดการมรดก ให้ได้ความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 เท่านั้น ข้อตกลงแบ่งทรัพย์ระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิใช่รายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นที่ศาลจะพึงต้องพิจารณา ผู้ร้องจึงไม่จำต้องบรรยายถึงข้อตกลงนั้นมาในคำร้อง หรือต้องคัดสำเนาข้อตกลงยื่นต่อศาลพร้อมคำร้อง
ในคดีที่ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก ผู้ร้องจะต้องบรรยายในคำร้องถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรที่จะต้องมีผู้จัดการมรดก ให้ได้ความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 เท่านั้น ข้อตกลงแบ่งทรัพย์ระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิใช่รายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นที่ศาลจะพึงต้องพิจารณา ผู้ร้องจึงไม่จำต้องบรรยายถึงข้อตกลงนั้นมาในคำร้อง หรือต้องคัดสำเนาข้อตกลงยื่นต่อศาลพร้อมคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเก็บทรัพย์ ไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อจัดการทรัพย์ของผู้อื่น หากไม่ได้มีหน้าที่ดูแลรักษา
จำเลยเป็นเจ้าของบ้านเจ้าของอวน เอาอวนมาขออาศัยเก็บไว้ที่บ้านจำเลย แต่การดูแลระวังรักษาอวนยังอยู่ในความรับผิดชอบของลูกจ้างอวน ดังนี้ ยังไม่เรียกว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บทรัพย์หรือจัดการทรัพย์อย่างใด ๆ ของผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นผิดฐานยักยอกทรัพย์