คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดการทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5300/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
ลูกหนี้ที่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา อันเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เป็นกรณีที่โจทก์อาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ถ้าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายแล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดเฉพาะการตั้ง/ถอดผู้จัดการมรดก การจัดการทรัพย์มรดกเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกเอง
คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกศาลมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการตั้งและถอนผู้จัดการมรดกเท่านั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องได้ความว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกกับทายาทบางคนไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินมรดกได้ ผู้ร้องขอนำที่ดินมรดกออกขายโดยประมูลราคากันเองหรือนำออกขายทอดตลาดนั้น ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกทั้งสิ้นซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้จัดการมรดกที่สามารถกระทำได้เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 อยู่แล้ว กรณีไม่ใช่อำนาจของศาลที่จะสั่งให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการตามขอหากผู้ร้องไม่อาจจัดการเช่นนั้นได้เพราะเหตุทายาทบางคนขัดขวางก็เป็นเรื่องมีข้อโต้แย้งสิทธิในการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ร้องชอบที่จะไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นอีกคดีหนึ่งหาใช่มายื่นคำร้องในคดีที่ตั้งผู้จัดการมรดกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดก: การโอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้มรดกและการแบ่งปันให้ทายาท
จำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ จ.ในราคา 30,000,000 บาท ฝ่ายผู้จะซื้อชำระราคาแล้ว1,500,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รู้เห็น และยินยอมให้จำเลยทั้งสองทำสัญญาด้วย ต่อมา ว. กับพวกรวม 5 คน ทายาทของเจ้ามรดกฟ้องจำเลยทั้งสอง ขอแบ่งทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดก ให้แก่ ว. กับพวกเป็นเงิน 12,328,712.70 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้เอาที่ดินพิพาท ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแทน ซึ่งคดีดังกล่าวศาลฎีกา พิพากษาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2531 ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม2532 จ. ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายจำเลยทั้งสองกับ จ. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสองยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ ตามสัญญาและยอมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้น พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์มรดก ของเจ้ามรดกคงเหลือที่ดินเพียงแปลงเดียวคือที่ดินพิพาท การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกชำระเงินให้แก่ ว. กับพวกเป็นเงินประมาณ 22,000,000 บาทแต่จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์มรดกเหลือเพียงพอจะชำระเงินให้แก่ ว.กับพวกและว. กับพวกก็จะบังคับคดีโดยนำที่ดินออกขายทอดตลาดซึ่งระหว่างนั้น จ. ผู้ซื้อก็ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 4 เมษายน 2524จำเลยทั้งสองจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและยอมรับเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่เหลือและจำเลยทั้งสองได้นำเงินที่ได้ไปชำระแก่ ว. กับพวกแล้ว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการตามหน้าที่ ของผู้จัดการมรดกโดยชอบ เพราะหากให้ ว.กับพวกบังคับคดีโดยนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดก็อาจไม่ได้ราคาและอาจเกิดความเสียหายแก่ทายาทได้ ทั้งการที่จำเลยทั้งสอง ยอมปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยโอนที่ดินพิพาทให้ แก่ ผู้ซื้อตามข้อสัญญา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดหน้าที่แต่อย่างใด แม้ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องคดีนี้ ที่ดินพิพาทยังไม่ได้โอนไปยังบุคคลภายนอกยังเป็นมรดกที่จำเลยทั้งสองสามารถจะนำมาแบ่งปันแก่ทายาทได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้ได้มีการโอนที่ดินพิพาทไปยังบุคคลภายนอกแล้วจึงไม่เป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งแก่ทายาทได้อีก ตามคำขอท้ายฟ้องที่ ม. ได้รับมอบอำนาจจาก จ.ให้ฟ้องคดีนั้นระบุว่าขอให้บังคับจำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งก็คือ ม. นั่นเอง ที่สัญญาประนีประนอมยอมความ ระบุว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ม. จึงตรงกับ คำขอท้ายฟ้อง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายศาลย่อมพิพากษาตามยอมได้ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้ทำตามสัญญา ประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ทั้งคดีดังกล่าว ก็ถึงที่สุดแล้ว การโอนที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว และการยินยอมของทายาท ทำให้ขาดอายุความเรียกร้อง
ขณะ บ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสามตาย บุตรทุกคนไม่ได้อยู่กับ ท. ซึ่งเป็นบิดาและ บ. ขณะนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องอายุ 19 ปีเศษ โจทก์และบุตรคนอื่น บรรลุนิติภาวะหมดแล้วนอกจากที่ดินพิพาทแล้ว ท. และ บ. ยังมีทรัพย์สินร่วมกันอีกหลายอย่างเมื่อ บ. ตาย ท. ได้เข้าจัดการทรัพย์สินทุกอย่างรวมทั้งได้ขอรับมรดกที่ดินของ บ. ลงชื่อ ท. ถือกรรมสิทธิ์ไว้คนเดียว และได้จดทะเบียนให้จำเลยทั้งสามถือ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท แสดงว่า ท.ได้ถือตนว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งส่วนของตนและส่วนที่เป็น มรดกของ บ. แต่ผู้เดียวตลอดมามิได้ครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนบุตรด้วยแต่ประการใด โจทก์และบุตรทุกคนต่างยินยอมรับปฏิบัติตามต่อการกระทำของ ท.มาแต่ต้นไม่เคยคัดค้านการจัดการทรัพย์สินของท.เลย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินสิบปีนับแต่ บ. ตาย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในทรัพย์มรดกของ บ. จึงเป็นอันขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสุดท้าย โจทก์ ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ท. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสียงข้างมากผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดก บุคคลภายนอกต้องยินยอมตาม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 นั้น การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก. และเสียงข้างมากดังกล่าวนี้มิได้มีกฎหมายบังคับว่าต้องจัดให้มีการประชุมผู้จัดการมรดกเพื่อปรึกษาออกเสียงกันโดยตรงในกรณีที่ผู้จัดการมรดกเห็นควรดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดการมรดก และปรากฏว่าได้แจ้งไปยังผู้จัดการมรดกทุกคนแล้ว มีผู้เห็นด้วยเป็นส่วนมาก ความเห็นส่วนข้างมากนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมาก ตกเป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการไปตามนั้นผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากก็อาจดำเนินการไปในนามของผู้จัดการมรดกทั้งคณะได้ การรวบรวมทรัพย์มรดกก็ตาม ก็เป็นการจัดการมรดก บุคคลภายนอกหากได้ทราบความเห็นหรือเสียงข้างมากที่ให้เรียกทรัพย์มรดกนั้นแล้ว ก็ต้องรับรู้และยินยอมให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากรับทรัพย์มรดกไปจะเกี่ยงให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากนำผู้จัดการมรดกส่วนข้างน้อยเข้ามาร่วมจัดการด้วยหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นละเมิด แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่เป็นละเมิด จะถือได้อย่างมากเพียงแต่เป็นการผิดสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2, 3 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แล้วพิพากษายืนในข้อที่ให้จำเลยที่ 2, 3 ร่วมเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วยนั้นเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9745/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์มรดก: ศาลต้องพิจารณาอายุความเฉพาะการจัดการทรัพย์มรดกที่ยังไม่สิ้นสุด
โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. และ ส. เจ้ามรดกฟ้องเรียกเอาคืนทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 18 แปลง ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งสี่โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง จำเลยทั้งสี่ให้การว่า เจ้ามรดกทั้งสองโอนที่ดินพิพาทจำนวน 8 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่เจ้ามรดกทั้งสองจะถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง สำหรับที่ดินพิพาทส่วนที่เหลืออีก 10 แปลง จำเลยที่ 1 ได้รับโอนมาจาก ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โดยชอบ และได้ครอบครองเพื่อตนเองมาโดยตลอด โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกทั้งสองถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า ที่ดินพิพาทจำนวน 8 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสองหรือไม่ และ ว. ในฐานะผู้จัดการมรดกคนก่อนของ ส. โอนที่ดินพิพาทจำนวน 10 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวให้ชัดแจ้งเสียก่อนแต่กลับไปวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ ทั้งคดีนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืนและขอให้เพิกถอนนิติกรรมจากผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ได้มาโดยมิชอบเนื่องมาจากการจัดการทรัพย์มรดกที่ยังไม่สิ้นสุดลงซึ่งมีอายุความกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พพ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับการฟ้องคดีมรดกระหว่างทายาทมาปรับใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9745/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดก: ศาลต้องพิจารณาอายุความเฉพาะการจัดการทรัพย์มรดก
โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. และ ส. เจ้ามรดก ฟ้องเรียกเอาคืนทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 18 แปลง ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งสี่โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทจำนวน 8 แปลง จำเลยที่ 1 ได้รับโอนมาจากเจ้ามรดกทั้งสองก่อนที่เจ้ามรดกทั้งสองจะถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง สำหรับที่ดินพิพาทส่วนที่เหลืออีก 10 แปลง จำเลยที่ 1 ได้รับโอนมาจาก ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โดยชอบ และได้ครอบครองเพื่อตนเองมาโดยตลอด โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกทั้งสองถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า ที่ดินพิพาทจำนวน 8 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสองหรือไม่ และ ว. ในฐานะผู้จัดการมรดกคนก่อนของ ส. โอนที่ดินพิพาทจำนวน 10 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวให้ชัดแจ้งเสียก่อนแต่กลับไปวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ ทั้งคดีนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืนและขอให้เพิกถอนนิติกรรมจากผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ได้มาโดยมิชอบอันเนื่องมาจากการจัดการทรัพย์มรดกที่ยังไม่สิ้นสุดลงซึ่งมีอายุความกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับการฟ้องคดีมรดกระหว่างทายาทมาปรับใช้บังคับได้