คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดการทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สินสมรส, สินส่วนตัว, การจัดการทรัพย์สินร่วมกัน, และการชำระหนี้ร่วมกัน
ป.พ.พ. มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่าไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยด้วยแล้ว จำเลยก็ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นนอกจากที่โจทก์ระบุในคำฟ้องก็ตามทั้งนี้เพื่อให้ปัญหาการแบ่งสินสมรสเป็นอันยุติไปพร้อมกับการสิ้นสุดแห่งการสมรส
โจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้และแยกกันอยู่ตั้งแต่วันที่9 มกราคม 2536 ตลอดมาจนถึงวันฟ้องหย่าแต่การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยหาสิ้นสุดลงไม่ สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังดำรงคงอยู่ตลอดเวลาและจำเลยมีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ หากจำเลยใช้จ่ายเงินตราสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้จำเลยชดใช้ โดยตั้งประเด็นให้ชดใช้สินสมรสที่ขาดหายไปโดยเฉพาะเจาะจงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1534 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำนวนเงินสินสมรสในบัญชีเงินฝากที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันให้ถือตามที่มีอยู่ในวันฟ้อง จึงชอบแล้ว
รายได้จากร้านเสริมสวยจำนวน 1,000,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการจะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องแบ่งคืนแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมจำนวนนี้คืนจากผู้ยืมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องเงินจำนวนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์นำเอาเงิน 1,000,000 บาทมาคำนวณหักกลบลบหนี้ในการแบ่งสินสมรสให้แก่โจทก์จำเลยคนละกึ่งหนึ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์จึงไม่ชอบกรณีมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสไม่ชอบ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการบังคับเอากับสินสมรสที่จัดแบ่งแล้วอย่างไร จึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 ต้องถือว่ารายได้จากร้านเสริมสวย ยังไม่สามารถนำมาคิดคำนวณแบ่งสินสมรสเพราะยังไม่ได้รับชำระคืนจากผู้ยืม
เงิน 100,000 บาท ของจำเลยเมื่อนำมารวมกับเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านแล้ว ย่อมเปลี่ยนเป็นที่ดินและบ้านที่ซื้อมาจึงไม่มีเงินที่ต้องคืนให้จำเลยหรือโจทก์อีก
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว 200,000 บาท ส่วนจำเลยลงทุน100,000 บาท กิจการร้านเสริมสวย จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ 2 ต่อ 1
ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำไปชำระนั้น จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยและไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่เป็นจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 วรรคท้าย ว่า เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วยที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
เงินฝากในบัญชีธนาคารมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วยโดยระคนปนกันจนไม่อาจจำแนกได้ว่าแต่ละส่วนเป็นเงินเท่าใดจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินในบัญชีนี้เป็นสินสมรส ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนเงินในบัญชีดังกล่าวมาเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เงินฝากในบัญชีใหม่นี้จึงเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งเช่นเดียวกันด้วย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินฝากในบัญชีเงินฝากทั้งสองฉบับคงมีเงินเหลืออยู่เพียงบัญชีเดียวจำนวนเงิน 211,562.61 บาท อันเป็นเงินสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีการถอนออกไปบางส่วนหลังวันฟ้องเพื่อผ่อนชำระค่าซื้อบ้าน ที่ดินรถยนต์และคอนโดมิเนียม คงเหลือเงินในบัญชีเพียง 39,169.08 บาท เท่านั้น จำเลยมิได้โต้แย้งว่าเงินที่ถูกถอนออกไปนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องอย่างใด เมื่อเงินฝากในบัญชีดังกล่าวเป็นสินสมรสและการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงยังคงมีสิทธิจัดการสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยโดยการถอนเงินจากธนาคารแม้หลังจากฟ้องคดีนี้แล้วได้ จึงต้องถือตามจำนวนเงินที่มีอยู่จริงตามที่โจทก์แถลงและจำเลยยอมรับโดยไม่โต้แย้งคัดค้านจะย้อนหลังไปถือเอาจำนวนเงินที่เคยมีอยู่จริงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิจัดการทรัพย์สินก่อนล้มละลายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อกล่าวอ้างไม่ชัดเจน
การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่า พระราชบัญญัติล้มละลายฯที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายอาจจะเป็นการจำกัดสิทธิของจำเลยในการจัดการทรัพย์สินของตนเอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่งนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นการโต้แย้งที่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและไม่อาจถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งโดยชัดแจ้งว่า พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ทุกมาตราให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้เข้าจัดการทรัพย์สินของตนขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องรอการพิจารณาพิพากษาไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของจำเลยไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9607/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสินสมรส การโอนสิทธิโดยฝ่ายเดียวไม่จำเป็นต้องมียินยอมจากคู่สมรส
แม้จะฟังว่าสิทธิการเช่าอาคารพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมก็ตาม แต่การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทก็หาใช่เป็นกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมจะต้องจัดการร่วมกันหรือจะต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (1) ถึง (8) ดังนั้น ย่อมเป็นอำนาจของจำเลยที่จัดการได้ตามลำพังโดยมิต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วม ตาม ป.พ.พ.1476 วรรคสอง แม้จำเลยจะโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้โจทก์โดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมก็ตาม จำเลยร่วมก็ไม่อาจจะเพิกถอนการโอนดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ร่วมของห้างหุ้นส่วน และการจัดการทรัพย์มรดกในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ต้องรับผิดในหนี้สินร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. เป็นหนี้แก่โจทก์เป็นเงินทั้งสิ้น 190,000 บาทเศษ โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ทั้งหมดดังกล่าวได้
จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องมูลนิธิ: การจัดการทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาทซึ่งมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าอ. มิได้เป็นผู้จัดการและช.มิได้เป็นเหรัญญิกของโจทก์โดยบุคคลทั้งสองไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยในปัญหานี้จึงเป็นการไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์นั้นถือว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิโจทก์และตามฎีกาของจำเลยก็ไม่ปรากฎว่าการให้เช่าตึกพิพาทเป็นการกระทำเพื่อหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือเพื่อหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา110ที่ชำระใหม่แต่เป็นกรณีที่โจทก์ชอบที่จะกระทำได้เพื่อหาผลประโยชน์เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโจทก์และการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาทเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาเท่านั้นถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรจัดการทรัพย์สินวัด: หนังสือมอบหมายและการแต่งตั้งทนายความ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ระบุว่า "ไวยาวัจกร"หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้ง..และจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป. ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 8 จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ
ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่า นาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนาม และในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้
ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน การดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง นาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้ คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรในการจัดการทรัพย์สินวัดและอำนาจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดกนอกพินัยกรรม
ไวยาวัจกรของวัดมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัด การดำเนินคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกของพระภิกษุที่มรณภาพที่ตกแก่วัดเป็นการจัดการทรัพย์สินของวัดอย่างหนึ่งไวยาวัจกรย่อมมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีดังกล่าวได้ วัดผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของพระครู ส. และตั้ง ป. ในฐานะไวยาวัจกรของผู้คัดค้าน เป็นผู้จัดการมรดกด้วย ปรากฎว่าศาลได้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเท่านั้นส่วนทรัพย์นอกพินัยกรรมยังไม่มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกการที่ผู้ร้องนำคำสั่งศาลไปจัดการทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมอันตกได้แก่ผู้คัดค้านเป็นการกระทบสิทธิผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ได้โดยไม่ต้องไปยื่นคำร้องเป็นคดีใหม่ ศาลจึงมีอำนาจตั้ง ป. เป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์นอกพินัยกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5505/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องมูลนิธิ: การจัดการทรัพย์สินเพื่อสร้างศูนย์การค้าไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์และกฎหมาย
แม้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าของโจทก์โดยต้องการนำที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งห้องเช่าไปสร้างศูนย์การค้าก็ถือว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิโจทก์ทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นการกระทำเพื่อหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือเพื่อหาประโยชน์มาแบ่งปันกันจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา110หรือกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลนิธิมีอำนาจจัดการทรัพย์สินเพื่อสร้างศูนย์การค้าได้ หากไม่หาผลประโยชน์แบ่งปัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
มูลนิธิโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าซึ่งเป็นของโจทก์ โดยโจทก์ต้องการนำที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งห้องเช่านั้นไปสร้างศูนย์การค้า ถือได้ว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ทั้งไม่เป็นการกระทำเพื่อหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลอื่นใด หรือหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 โจทก์ชอบที่จะกระทำได้เพื่อที่จะหาผลประโยชน์ไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโจทก์นั่นเอง จึงไม่ได้เป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสหลังหย่าและการเสนอคำร้องต่อศาลที่ไม่ถูกต้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล แต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า น.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่า ผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว จึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับ น. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
บทบัญญัติในมาตรา 1475 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย และกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่
มาตรา 1484 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ดังนั้น สามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่ แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับ น.ไปก่อนแล้ว ฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับ น.จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484
of 8