คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดประเภท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4877/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทอัตราอากรสินค้ากากกุ้ง: พิจารณาจากสภาพสินค้า (ป่น/ทำเป็นเพลเลต) เพื่อวินิจฉัยตามพิกัดอัตราศุลกากร
ประเภทพิกัด 0508.00 ระบุว่า "หินปะการังและสิ่งที่คล้ายกัน ที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ... เปลือกของสัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์ ครัสตาเซีย หรือเอคไคโนเดิร์ม และลิ้นทะเล ที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ แต่ไม่ได้ตัดเป็นรูปทรง รวมทั้งผงและเศษของสิ่งดังกล่าว" และประเภทพิกัด 2301.20 ระบุว่า "ปลาหรือสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์ สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่ป่น ที่ทำเป็นเพลเลต" ดังนั้น เปลือกของสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 0508.00 อัตราอากรร้อยละ 35 ควรจะต้องเป็นเปลือกของสัตว์น้ำที่ยังคงรูปร่างสมบูรณ์ของสภาพเดิมของสัตว์น้ำนั้น ๆ จึงได้ระบุไว้ว่าที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ แต่ไม่ได้ตัดเป็นรูปทรง ส่วนประเภทพิกัด 2301.20 อัตราอากรร้อยละ 10 นั้น ต้องอยู่ในสภาพป่นและที่ทำเป็นเพลเลต คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ซึ่งศาลภาษีอากรกลางฟังข้อเท็จจริงว่า สินค้าที่จำเลยนำเข้าเป็นกากกุ้งที่ได้จากการทำกุ้งแห้ง ประกอบด้วยหัว หาง เปลือก และมีเศษเนื้อติดมาบ้างเล็กน้อย นำเข้ามาเป็นอาหารสัตว์ แม้ไม่ปรากฏคำว่า "ป่น" หรือ "ทำเป็นเพลเลต" หรือไม่ แต่สภาพของกากกุ้งที่ได้จากการทำกุ้งแห้ง ย่อมไม่เหลือเค้าโครงเดิมของสภาพเปลือกกุ้งที่สมบูรณ์ โดยสภาพต้องอยู่ในสภาพป่น ๆ เพราะถูกคัดเอาเนื้อกุ้งส่วนดีออกไปแล้ว จึงต้องจัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 เสียอากรอัตราร้อยละ 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทธุรกรรมเป็น 'จ้างทำของ' ไม่ใช่ 'ซื้อขาย' และผลกระทบต่อการเสียอากรแสตมป์
โจทก์ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์โดยในการผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ดังกล่าว โจทก์ต้องผลิตตามแบบแม่พิมพ์ที่ทางบริษัท ซ. ซึ่งถือหุ้นในบริษัทโจทก์ร้อยละเก้าสิบห้ากำหนดขึ้น เป็นการผลิตตามแบบรูปทรงและขนาดที่บริษัท ซ. ต้องการและกำหนดให้โจทก์ทำขึ้น โจทก์ต้องผลิตให้แล้วเสร็จตามที่บริษัท ซ. ต้องการโดยมิได้ตีตราหรือยี่ห้อของโจทก์ไว้และโจทก์มิได้นำออกจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท โจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการรับจ้างหล่อโลหะ (ชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ (ไม่สำเร็จรูป) และเหล็กหล่ออื่น ๆ ) เท่านั้น เมื่อโจทก์ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์เสร็จและส่งมอบให้บริษัท ซ. โจทก์จะระบุถึงรายละเอียดในการส่งของไว้ตามเอกสารว่าเป็นใบส่งของ และระบุไว้ด้วยว่าส่งตามใบจ้างทำของของบริษัท ซ. พฤติการณ์ต่าง ๆ เห็นได้ชัดว่าการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการรับจ้างทำของ ไม่ใช่เป็นเรื่องการซื้อขายดังที่โจทก์อุทธรณ์
ป. รัษฎากร มาตรา 103 บัญญัติว่า "ตราสาร" หมายความว่าเอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้ และมาตรา 104 บัญญัติว่า ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 4 ได้บัญญัติลักษณะแห่งตราสาร จ้างทำของ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ด้วย เอกสารที่บริษัท ซ. มีถึงโจทก์จำนวน 467 ฉบับนั้น มีเพียงพนักงานของบริษัท ซ. ลงลายมือชื่อสั่งจ้างโจทก์ให้ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ส่งให้แก่บริษัท ซ. เท่านั้น โดยไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เป็นผู้รับจ้างแต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการว่าจ้างทำของที่ทำเป็นหนังสือ มิใช่เป็นหนังสือสัญญาว่าจ้างทำของระหว่างโจทก์กับบริษัท ซ. อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายของมาตรา 103 และ 104 แห่ง ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องโทรศัพท์ไร้สาย และอำนาจประเมินภาษีเพิ่มเติมของเจ้าหน้าที่
สินค้าพิพาทต้องใช้คู่สายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงจะใช้งานได้ จึงต้องจัดเข้าอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10เพราะพิกัดนี้เป็นพิกัดย่อยของพิกัดใหญ่ประเภทที่ 85.17ซึ่งระบุว่าได้แก่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10 อัตราภาษีร้อยละ 40 แต่จำเลยที่ 1 สำแดงและชำระภาษีอากรในประเภทพิกัดที่ 8525.20 อัตราภาษีร้อยละ 5จำเลยที่ 1 จึงชำระภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้องได้ มิพักต้องคำนึงว่าการประเมินผิดพลาดในชั้นแรกที่ตรวจปล่อยสินค้านั้นเป็นการกระทำโดยสุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ ทั้งมิใช่เป็นการบังคับใช้กฎหมายให้มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่จำเลย เนื่องจากหน้าที่เสียค่าภาษีของจำเลยเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทภาษีการค้า: กิจการซื้อสิทธิเรียกร้องคล้ายธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีประเภทธนาคาร ไม่ใช่นายหน้า/ตัวแทน
การที่โจทก์ซื้อสิทธิเรียกร้องจากลูกค้าด้วยเงินสดโดยรับโอนสิทธิเรียกร้องจากลูกค้าและให้ลูกค้าค้ำประกันการเรียกเก็บเงินตามสิทธิเรียกร้องนั้นเมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนจากลูกหนี้ไม่ได้ลูกค้าโจทก์ยังต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์เท่าจำนวนที่ยังเรียกเก็บไม่ได้และในการรับซื้อสิทธิเรียกร้องโจทก์รับซื้อในราคาต่ำกว่าราคาสิทธิเรียกร้องกิจการของโจทก์จึงเป็นกิจการให้กู้ยืมเงินโดยส่วนต่างของราคาสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ได้รับก็คือดอกเบี้ยนั่นเองกิจการของโจทก์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หาใช่เข้าลักษณะเป็นการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามประเภทการค้า1นายหน้าและตัวแทนไม่โจทก์จึงมีหน้าที่ชำระภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท12ธนาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทรายรับของธุรกิจบัตรเครดิตและบริการทางการเงินตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับบัตรเครดิต โดยโจทก์จะออกบัตรเครดิตของโจทก์ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ว่าจะรับบัตรเครดิตของโจทก์แทนการรับชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยให้ผู้ใช้เครดิตลงลายมือชื่อไว้ในใบบันทึกการซื้อสินค้าหรือใช้บริการแล้วสถานธุรกิจดังกล่าวจะนำใบบันทึกดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการจากโจทก์ โจทก์จะชำระเงินตามจำนวนในบันทึกให้แก่สถานธุรกิจโดยหักส่วนลดไว้ร้อยละ 3ถึง 3.5 จากนั้นโจทก์จะไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการตามใบบันทึกจากสมาชิกผู้ใช้บัตรเครดิต หากสมาชิกไม่ชำระเงินให้โจทก์ภายในกำหนดเวลา โจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระจนกว่าสมาชิกจะชำระเงินให้โจทก์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับสมาชิกผู้ถือบัตร หากโจทก์เก็บเงินจากสมาชิกไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิไปไล่เบี้ยหรือเรียกคืนจากสถานธุรกิจดังนี้ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับเก็บหนี้สินแทนสถานธุรกิจ หากแต่เป็นเรื่องที่สถานธุรกิจโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือบริการให้แก่โจทก์โดยโจทก์ใช้เงินทุนของโจทก์ในการรับซื้อสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือค่าบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เองมิใช่รับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น รายรับของโจทก์จากกิจการดังกล่าวคือรายรับจากส่วนลดค่าสินค้าหรือบริการตามบัตรเครดิตจึงมิใช่รายรับจากการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ประมวลรัษฎากรในประเภทการค้า 10นายหน้าและตัวแทน แต่ปรากฏว่าธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ธนาคารหลายแห่งประกอบอยู่เป็นปกติ จึงถือได้ว่าการประกอบธุรกิจของโจทก์เป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร โจทก์ได้ให้บริการแก่สมาชิก ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ในการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉินจากเครื่องเบิกถอนเงินเอ.ที.เอ็ม. ของธนาคารต่าง ๆ ที่ทำสัญญาไว้กับโจทก์ได้โดยโจทก์จะคิดค่าธรรมเนียมผู้ถอนในอัตราร้อยละ 5 ของยอดเงินที่เบิกถอนบวกด้วยค่าบริการครั้งละ 100 บาท แม้โจทก์จะมิใช่ธนาคาร แต่ประกอบกิจการให้เบิกถอนเงินสดฉุกเฉินได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์รายรับจากค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินฉุกเฉินของโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า12 ธนาคาร เช่นเดียวกัน โจทก์เป็นผู้นำเข้าเช็คเดินทางของบริษัท อ. ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารที่ขายเช็คเดินทางให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารต่าง ๆ จะมีรายจ่าย เช่น ค่าภาษีการนำเข้าค่าจ้างพนักงาน ค่าจัดส่ง และค่าพาหนะต่างๆ โจทก์จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปก่อน แล้วเรียกคืนจากบริษัทอ.ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมค่าบริการอีกร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าว ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัทอ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นข้อตกลงที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการจนสำเร็จให้แก่บริษัทอ.ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเท่ากับร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทอ.จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ค่าบริการที่โจทก์ได้รับมาดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประเภทการค้า 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: ประเภทที่ระบุชัดเจน優先กว่าประเภทที่ระบุไว้กว้าง
แอลลอยสตีลเป็นของที่อยู่ในรายการที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้งในประเภทพิกัดที่ 73.15 ง. อยู่แล้ว ย่อมไม่อาจจะจัดให้เข้าประเภทที่70.40 ฉ. อันเป็นประเภทที่ระบุไว้อย่างกว้างได้เพราะขัดต่อหลักการตีความพิกัดอัตราศุลกากรที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ข้อ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทอัตราอากรขาเข้า: เครื่องทำความเย็นไม่สมบูรณ์
สินค้า 3 รายการที่โจทก์นำเข้าคือ เครื่องอัดก๊าซแอมโมเนียหรือคอมเพรสเซอร์อุปกรณ์ประกอบเครื่องทำความเย็นหรือเพลทฟรีสเซอร์ และเครื่องปั๊มน้ำยาแอมโมเนีย ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นเครื่องทำความเย็นที่สมบูรณ์แล้ว เพราะคงมีส่วนสำคัญส่วนเดียวคือ คอมเพรสเซอร์ ส่วนคอนเดนเซอร์และอีวาปอเรอตอร์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอีก 2 อย่างนั้นโจทก์มิได้นำเข้ามาด้วย จึงไม่ใช่สินค้าที่สมบูรณ์แล้ว ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจเรียกเก็บอากรในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 8418.69(1) เครื่องทำความเย็นที่สมบูรณ์แล้วได้ โจทก์ชอบที่จะเสียอากรตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่8414.30 (1) ที่ 8418.99 (2) และที่ 8413.81 ตามลำดับเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทอัตราอากรขาเข้า: สินค้าประกอบสำเร็จรูปไม่ใช่เครื่องทำความเย็นสมบูรณ์
สินค้า 3 รายการที่โจทก์นำเข้าคือ เครื่องอัดก๊าซแอมโมเนียหรือคอมเพรสเซอร์ อุปกรณ์ประกอบเครื่องทำความเย็นหรือเพลทฟรีสเชอร์และเครื่องปั๊มน้ำยาแอมโมเนีย ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นเครื่องทำความเย็นที่สมบูรณ์แล้ว เพราะคงมีส่วนสำคัญส่วนเดียวคือคอมเพรสเซอร์ ส่วนคอนเดนเซอร์และอีวาปอเรเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอีก 2 อย่างนั้นโจทก์มิได้นำเข้ามาด้วย จึงไม่ใช่สินค้าที่สมบูรณ์แล้ว ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจเรียกเก็บอากรในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 8418.69(1) เครื่องทำความเย็นที่สมบูรณ์แล้วได้โจทก์ชอบที่จะเสียอากรตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 8414.30(1)ที่ 8418.99(2) และที่ 8413.81 ตามลำดับเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดศุลกากรแผ่นอลูมิเนียมสำหรับทำหลอดบรรจุยาสีฟัน
สินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรทำด้วยอลูมิเนียม มีลักษณะเป็นแผ่นกลมเรียบ หนาเกินกว่า 0.20 มิลลิเมตร ซึ่งเกินกว่าหนึ่งในสิบของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวเกินกว่า 6 มิลลิเมตร มีรู ตรงกลางใช้ทำหลอดบรรจุยาสีฟัน เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในจำพวกเป็นแผ่นที่เตรียมไว้เพื่อทำหลอด จึงอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.06 ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ซึ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วว่าได้แก่ หลอด ท่อ และแผ่นที่จัดเตรียมไว้เพื่อทำหลอดหรือท่อทำด้วยอลูมิเนียม ไม่เข้าลักษณะประเภทพิกัดที่ 76.16ได้แก่ ของอื่น ๆ ที่ทำด้วยอลูมิเนียม ก. ของประดับกายและของใช้ซึ่งตามปกติเป็นของติดตัว ซึ่งมิได้ระบุไว้ในประเภทอื่นอันเป็นการกำหนดไว้กว้าง ๆ ในกรณีที่สินค้าไม่อยู่ในประเภทพิกัดอื่นและจะนำคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งมีข้อความแตกต่างจากที่พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรบัญญัติไว้ดังกล่าวมาเทียบเคียงปรับให้สินค้าดังกล่าวข้างต้นจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.16หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์จัดอยู่ในประเภทเดียวกับอุปกรณ์ส่งโทรทัศน์
ในกรณีสินค้าที่พิพาทไม่อาจจัดเข้าในประเภทพิกัดอัตราศุลกากรใดโดยชัดแจ้ง จึงต้องตีความโดยอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 คือต้องตีความโดยจัดเข้าในประเภทเดียวกับของซึ่งใกล้เคียงกับของชนิดนั้นมากที่สุด
สินค้าพิพาทเป็นเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ที่บันทึกได้ทั้งภาพและเสียงซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้ในกิจการโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียวโดยทำหน้าที่อย่างเดียวกับกล้องโทรทัศน์ และเป็นอุปกรณ์ของเครื่องส่งโทรทัศน์ทั้งยังมุ่งหมายใช้ในกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมเช่นเดียวกับสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 85.15 ก. จึงมีลักษณะแตกต่างกับสินค้าตามพิกัดประเภทที่ 92.11 ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเสียงแต่เพียงอย่างเดียวนำไปใช้กับภาพไม่ได้เลยและมิใช่สินค้าที่นำไปใช้ในกิจการโทรทัศน์โดยตรง สินค้ารายพิพาทจึงไม่อาจจัดเข้าในพิกัดประเภทที่ 92.11 แต่สมควรจัดอยู่ในพิกัดประเภทที่ 95.15 ก.
of 2