คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดรูปที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินภายใต้กฎหมายจัดรูปที่ดิน: สัญญาไม่ขัดกฎหมายหากรอรับอนุญาตโอนได้
เมื่อพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพ.ศ.2517มาตรา44มิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นเจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินยังอยู่ในวิสัยที่จะโอนสิทธิในที่ดินภายในกำหนดเวลาห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นได้หากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางดังนั้นสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะโอนที่ดินให้แก่จำเลยเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการจึงไม่ใช่สัญญาที่กระทำลงโดยมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายสัญญาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยละเลยหน้าที่ยื่นขออนุญาตโอนที่ดินในเขตจัดรูปที่ดิน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลพิพากษายืนตามศาลล่าง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันในราคา230,000บาทโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1ไปทั้งสิ้น205,000บาทคงเหลืออยู่อีก15,000บาทนับว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งขณะที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและวันครบกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนแต่มีข้อยกเว้นว่าจะโอนได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทจะต้องยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจำเลยที่1เบิกความรับว่าจำเลยที่1กับโจทก์ไม่เคยไปติดต่อที่สำนักงานจัดรูปที่ดินแสดงว่าจำเลยที่1ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตโอนที่ดินพิพาทต่อคณะกรรมการจัดการรูปที่ดินถือได้ว่าจำเลยที่1ละเลยประกอบกับพยานคนกลางผู้ไกล่เกลี่ยกรณีของโจทก์กับจำเลยทั้งสองเบิกความว่าโจทก์ประสงค์จะรับโอนที่ดินพิพาทแต่จำเลยทั้งสองจะขอซื้อที่ดินพิพาทคืนจึงตกลงกันไม่ได้พยานหลักฐานของ โจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่าย ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินในช่วงระยะเวลาห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นโมฆะ
พระราชบัญญัติ จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2517มาตรา26,44ห้ามมิให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินซึ่งได้มีพ.ร.ฎ.ออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา24,25แล้วจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในที่ดินนับตั้งแต่วันที่ได้มีประกาศของรัฐมนตรีจนถึงวันครบกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่กันในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่จะต้องไปยื่นคำร้องขออนุญาตโอนที่ดินเป็นหนังสือจาก คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางการที่จำเลยทั้งสองไม่ไปยื่นคำร้องขออนุญาตดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินในช่วงจัดรูปที่ดินเป็นโมฆะตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2517มาตรา26และมาตรา44วรรคแรกได้บัญญัติห้ามมิให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา24,25แล้วจำหน่ายจ่ายโอนนับตั้งแต่วันที่ได้มีประกาศของรัฐมนตรีจนถึงวันครบกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองตกลงทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่กันในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายหรือ สัญญา วางมัดจำเอกสารหมายจ.1จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองต้อง กลับคืนสู่ฐานะเดิมไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญากันอีกต่อไปจำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่จะต้องไปยื่นคำร้องขออนุญาตโอนที่ดินเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางแต่อย่างใดการที่จำเลยทั้งสองไม่ไปยื่นคำร้องขออนุญาตดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจัดรูปที่ดิน: จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เบื้องต้น, จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง
ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2517มาตรา13,14,17และ30สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดจำเลยที่2จะต้องดำเนินการจัดรูปที่ดินให้อยู่ในกรอบกำหนดของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกับคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดและเป็นเพียงเจ้าหน้าที่เบื้องต้นในการจัดรูปที่ดินการดำเนินการของจำเลยที่2ยังไม่มีผลบังคับแก่เจ้าของที่ดินในโครงการเพราะต้องมีการเสนอการดำเนินการจัดรูปที่ดินดังกล่าวต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดเพื่อพิจารณาแล้วนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดรูปที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินชั้นที่สุดดังนั้นลำพังการดำเนินการจัดรูปที่ดินของจำเลยที่2หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2 พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2517มีบทบัญญัติกำหนดองค์กรให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการจัดรูปที่ดินและกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องในรูปของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางและคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดไว้เป็นเอกเทศหากผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดรูปที่ดินได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของเจ้าของที่ดินในโครงการจัดรูปที่ดินหรือของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องต่อศาลได้แม้ผู้มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวจะมิได้เป็นนิติบุคคลก็ตามดังนั้นเพียงแต่สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดจำเลยที่2เป็นส่วนราชการอยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่1ก็ดีหรือจำเลยที่1มีหน้าที่ควบคุมดูแลแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ดีหรือแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางก็ดีหาถือได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้กระทำหรือต้องรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการในการจัดรูปที่ดินของจำเลยที่2ไม่จำเลยที่1จึงมิได้เป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงทั้งศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยที่1จัดรูปที่ดินให้ใหม่ตามคำฟ้องของโจทก์ได้เพราะจำเลยที่1ไม่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเองในเรื่องนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดรูปที่ดิน: สิทธิครอบครองเปลี่ยนแปลงตามการจัดรูปใหม่ หากไม่คัดค้านตามขั้นตอนกฎหมาย จะหมดสิทธิเรียกร้อง
ตาม พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2517 มาตรา33 และ 34 ผู้มีส่วนได้เสียต้องคัดค้านเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด ถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางอีก กรณีของโจทก์ปรากฏว่านางสมบูรณ์ภรรยาโจทก์ที่ 1เป็นผู้ไปคัดค้าน เมื่อหัวหน้าหน่วยรังวัดจัดรูปที่ดินแก้ไขจัดรูปที่ดินให้ใหม่ โจทก์ก็มิได้ดำเนินการอย่างใดต่อไปอีก การคัดค้านดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการคัดค้านต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด หรือถ้าจะถือว่าเป็นการคัดค้านต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดแต่เมื่อมีการแก้ไขให้โจทก์ได้รับที่ดินเพิ่มขึ้น โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางแต่อย่างใด คงปล่อยให้มีการออกโฉนดที่ดินใหม่ในที่ดินที่อยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน โดยโจทก์ได้รับที่ดินเนื้อที่ 17 ไร่เศษ จำเลยที่ 2 ได้รับ 10 ไร่เศษหลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้ว โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงได้คัดค้านขอให้แก้ไขโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านการจัดรูปที่ดินให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย กลับปล่อยให้มีการดำเนินการจนกระทั่งออกโฉนดที่ดิน และเนื่องจากการจัดรูปที่ดินมีผลทำให้สิทธิครอบครองของโจทก์ในที่ดินเดิมเปลี่ยนไปเพราะมาตรา 30 และ 38 ให้อำนาจคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจัดที่ดินใหม่โดยให้เจ้าของที่ดินเดิมได้รับที่ดินแปลงเดิมหรือที่ดินแปลงเดิมบางส่วน หรือได้รับที่ดินแปลงใหม่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อทางราชการจัดที่ดินให้โจทก์ใหม่เนื้อที่ 17 ไร่3.8 ตารางวา การครอบครองของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปตามที่ทางการจัดรูปที่ดินให้ใหม่ ที่พิพาทเนื้อที่ 2 ไร่เศษอยู่ในโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 ตามที่ทางราชการจัดให้ใหม่ ย่อมทำให้โจทก์หมดสิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดรูปที่ดิน: การไม่คัดค้านตามขั้นตอนกฎหมาย ทำให้สิทธิครอบครองเดิมสิ้นสุดลง
ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517มาตรา 33 และ 34 ผู้มีส่วนได้เสียต้องคัดค้านเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด ถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางคือ กรณีของโจทก์ปรากฎว่านางสมบูรณ์ภรรยาโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ไปคัดค้าน เมื่อหัวหน้าหน่วยรังวัดจัดรูปที่ดินแก้ไขจัดรูปที่ดินให้ใหม่ โจทก์ก็มิได้ดำเนินการอย่างใดต่อไปอีก การคัดค้านดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการคัดค้านต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดหรือถ้าจะถือว่าเป็นการคัดค้านต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดแต่เมื่อมีการแก้ไขให้โจทก์ได้รับที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางแต่อย่างใดคงปล่อยให้มีการออกโฉนดที่ดินใหม่ในที่ดินที่อยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน โดยโจทก์ได้รับที่ดินเนื้อที่ 17 ไร่เศษจำเลยที่ 2 ได้รับ 10 ไร่เศษ หลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงได้คัดค้านขอให้แก้ไขโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านการจัดรูปที่ดินให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย กลับปล่อยให้มีการดำเนินการจนกระทั่งออกโฉนดที่ดิน และเนื่องจากการจัดรูปที่ดินมีผลทำให้สิทธิครอบครองของโจทก์ในที่ดินเดิมเปลี่ยนไปเพราะมาตรา 30 และ 38ให้อำนาจคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจัดที่ดินใหม่โดยให้เจ้าของที่ดินเดิมได้รับที่ดินแปลงเดิมหรือที่ดินแปลงเดิมบางส่วนหรือได้รับที่ดินแปลงใหม่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อทางราชการจัดที่ดินให้โจทก์ใหม่เนื้อที่ 17 ไร่ 3.8 ตารางวา การครอบครองของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปตามที่ทางการจัดรูปที่ดินให้ใหม่ที่พิพาทเนื้อที่ 2 ไร่เศษอยู่ในโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2ตามที่ทางราชการจัดให้ใหม่ ย่อมทำให้โจทก์หมดสิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การจัดรูปที่ดินไม่ตัดสิทธิเจ้าของเดิม ต้องพิสูจน์สิทธิก่อน
โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งห้าซึ่งมีอำนาจหน้าที่ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงได้ร่วมกันออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทับที่ดินของโจทก์เป็นการมิชอบ ขอให้เพิกถอนจำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะประเภทเลี้ยงสัตว์พาหนะซึ่งทางราชการได้ขึ้นทะเบียนไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆในที่พิพาท คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งจำเป็นจะต้องสืบพยานเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไป การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทอยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินมีผลเพียงให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับที่ดินต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 เท่านั้น ไม่มีผลทำให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับที่ดินต้องเสียสิทธิในที่ดินไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินยังเป็นของผู้ถือเดิมจนกว่าจะออกหนังสือแสดงสิทธิใหม่ หลังการจัดรูปที่ดิน การไถนาจึงไม่เป็นบุกรุก
การจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2517 นั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในโครงการที่จัดรูปที่ดินตามมาตรา 41 ใหม่แล้ว สิทธิในที่ดินยังคงเป็นของผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมอยู่ ผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตามโครงการจัดรูปที่ดินบริเวณที่นาพิพาทซึ่งยังไม่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิสำหรับที่ดินที่จัดรูปแล้ว สิทธิในที่นาพิพาทจึงยังคงเป็นของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม จำเลยทั้งสองยังไม่ได้มอบการครอบครองที่นาพิพาทให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเอารถไถเข้าไปไถนาพิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินระหว่างการจัดรูปที่ดิน: สิทธิยังเป็นของผู้ถือเดิมจนกว่าจะออกหนังสือแสดงสิทธิใหม่
การจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2517 นั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในโครงการที่จัดรูปที่ดินตามมาตรา 41 ใหม่แล้ว สิทธิในที่ดินยังคงเป็นของผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมอยู่ ผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตามโครงการจัดรูปที่ดินบริเวณที่นาพิพาทซึ่งยังไม่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิสำหรับที่ดินที่จัดรูปแล้ว สิทธิในที่นาพิพาทจึงยังคงเป็นของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม จำเลยทั้งสองยังไม่ได้มอบการครอบครองที่นาพิพาทให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเอารถไถเข้าไปไถนาพิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก.