พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน การจับไม่ชอบไม่ทำให้การสอบสวนและการฟ้องเป็นโมฆะ
การจับและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอนกัน แม้การจับจำเลยจะไม่ชอบเพราะไม่มีหมายจับและเป็นกรณีที่ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะจับโดยไม่มีหมายจับได้ ก็ไม่ถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนหรือเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบอันจะต้องห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับและค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดต่อโจทก์
จำเลยมียศพันตำรวจตรี ตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวน จึงเป็นเพียงพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) มิใช่สารวัตรตำรวจอันเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามมาตรา 2 (17) (ภ)จำเลยจะจับผู้ใดและค้นในที่รโหฐานแห่งใดจึงต้องมีหมายจับและหมายค้นด้วย เว้นแต่จะต้องด้วยข้อยกเว้นให้จำเลยจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายจับและหมายค้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และมาตรา 92
เมื่อจำเลยจับโจทก์และค้นบ้านโจทก์อันเป็นที่รโหฐานโดยไม่ปรากฏว่ามีหมายจับและหมายค้นอันถูกต้อง ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายซึ่งเป็นละเมิด เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าวของจำเลย จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
เมื่อจำเลยจับโจทก์และค้นบ้านโจทก์อันเป็นที่รโหฐานโดยไม่ปรากฏว่ามีหมายจับและหมายค้นอันถูกต้อง ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายซึ่งเป็นละเมิด เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าวของจำเลย จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8458/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาไม่ถือเป็นการจับ การนับระยะเวลาฟ้องคดีอาญาในคดีเยาวชนและครอบครัว
การที่จำเลยถูกจับในคดีอื่นและมีการแจ้งข้อหาให้ทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคห้า ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับ เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับจึงไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 51 และ 53 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ที่โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับหรือผัดฟ้องหรือต้องได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น การที่จำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยให้การปฏิเสธและได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวย่อมถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตามมาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง