พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณมูลค่าทรัพย์มรดกและข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา
การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสี่ เป็นการฟ้องเรียกให้ได้ทรัพย์มรดกกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสี่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์จำนวน 60,000 บาท จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินทรัพย์มรดกที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันราคา 201,000 บาท ที่ดินของโจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ปฏิเสธข้อกล่าวหาในคำให้การ ศาลรับฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง และจำกัดการฎีกาเฉพาะประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นศาล
แม้โจทก์จะเป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงและภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงจะตกแก่โจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ไม่ได้ให้การปฏิเสธข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยที่ 2 รับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างนั้นแล้ว และไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งถือว่าคู่ความรับกันแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน
จำเลยที่ 2 ฎีกาแต่มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงไม่ชอบถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ฎีกาแต่มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงไม่ชอบถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนกำหนดขอบเขตการพิจารณา
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วน รวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสามตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมานั้นมีราคา 1,200,000 บาท ที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การแบ่งความรับผิดระหว่างผู้ก่อความเสียหายหลายฝ่าย และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน499,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 287,808.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 213,191.78 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากโจทก์และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างขาดความระมัดระวังด้วยกัน พฤติการณ์มิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน จึงให้จำเลยที่ 1 ที่ 3และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 143,437.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 106,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว หากฟังว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายความเสียหายส่วนที่โจทก์ก่อก็มีเพียงเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 3และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7518/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการพิสูจน์การผิดสัญญาเช่า รวมถึงข้อจำกัดการฎีกาในคดีค่าเช่าต่ำ
ที่จำเลยฎีกาว่า เอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ศาลจะอนุญาตและรับฟัง และจำเลยไม่ผิดสัญญาเช่านั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลที่เห็นว่า เอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นสัญญาเช่าบ้านซึ่งไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนไป เนื่องจากข้อเท็จจริงฟังยุติแล้วว่าจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย แม้จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างพิจารณา จำเลยก็ต่อสู้คดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์แล้วได้นำที่ดินไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วง โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ อันเป็นการผิดสัญญา ซึ่งเป็นการแสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดิน อันเป็นคำขอบังคับครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนการกระทำของจำเลยที่ว่านำที่ดินให้ผู้ใดเช่าและเป็นการผิดสัญญาข้อใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบให้เห็นได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย แม้จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างพิจารณา จำเลยก็ต่อสู้คดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์แล้วได้นำที่ดินไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วง โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ อันเป็นการผิดสัญญา ซึ่งเป็นการแสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดิน อันเป็นคำขอบังคับครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนการกระทำของจำเลยที่ว่านำที่ดินให้ผู้ใดเช่าและเป็นการผิดสัญญาข้อใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบให้เห็นได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีบุกรุกที่ดิน: ทุนทรัพย์และข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว
คดีนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินในส่วนที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยแต่ละคนบุกรุกและเข้ามารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยมิชอบ ซึ่งจำเลยแต่ละคนต่างต่อสู้ว่าที่ดินส่วนนั้น ๆ จำเลยแต่ละคนได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเอง ชั้นอุทธรณ์โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5กับที่ 6 ตีราคาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเนื้อที่รวม 4 ไร่ 20 ตารางวา เป็นเงิน250,000 บาท ราคาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นอันยุติ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 ว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 ครอบครองที่พิพาทเฉพาะที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 2795 ซึ่งมีเนื้อที่เพียง 2 ไร่ โดยแบ่งกันครอบครอง ฉะนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 จึงไม่เกินคนละสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 6 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าการออก น.ส.3 ก.เป็นไปโดยชอบโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 ต่างเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทมาเกิน 1 ปี นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยและรับฟังมาว่า พยานโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานจำเลยและโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ทั้งจำเลยต่างเพิ่งบุกรุกเมื่อประมาณต้นเดือนตุลาคม 2533 ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการยินยอมในสัญญาซื้อขาย
คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 187,500 บาทจำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สามารถแยกกันได้แต่ละจำนวนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 3และที่ 4 จะยื่นฎีการวมกันมา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาก็ต้องแยกกันตามจำนวนที่แต่ละคนต้องรับผิด เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินคนละสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3และที่ 4 หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เช่นกันกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3และที่ 4 หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เช่นกันกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ได้ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทโดยการฉ้อฉล และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทรถหาย: ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยขับรถของโจทก์ไปราชการแล้วสูญหายไปทั้งจำเลยและรถ โดยโจทก์ไม่มีพยานยืนยันให้รับฟังได้ว่ารถของโจทก์สูญหายไปเพราะการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลย โจทก์ฎีกาว่าจำเลยเอารถของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวมิใช่เป็นการใช้ในราชการหรือได้รับอนุญาตให้เอาไปใช้โดยจำเลยไม่มีเหตุจะอ้างได้ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2833/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกสัญญาแชร์เพื่อพิจารณาข้อจำกัดการฎีกา และข้อจำกัดทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์รวม 3 วงแล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าแชร์ ทุนทรัพย์ในคดีต้องแยกตามสัญญาเล่นแชร์แต่ละวงสำหรับแชร์วงที่ 2 และวงที่ 3 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนแชร์วงแรกทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248