พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดการนำสืบพยานนอกประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน โดยต้องสอดคล้องกับคำให้การของจำเลย
คดีแรงงานนั้นศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงใดหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับคำให้การของจำเลยด้วยว่า จำเลยให้การต่อสู้อย่างไร หากจำเลยให้การเป็นหนังสือก็ต้องนำ ป.วิ.พ. มาบังคับใช้โดยอนุโลม หามีบทบัญญัติใดให้สิทธิแก่จำเลยที่จะนำสืบพยานนอกเหนือข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยจ่ายเงินเดือนไม่ครบตามโจทก์อ้างดังนี้การที่จำเลยนำสืบข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบเพราะโจทก์ทุกคนสมัครใจให้จำเลยหักเงินเพื่อบริจาคแก่นักเรียนนั้น จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและการนำพยานบุคคลสืบหักล้างพยานเอกสาร: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นฟ้องซ้ำและข้อจำกัดในการนำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลแขวงในข้อหาว่าฉ้อโกงและเรียกเงินคืนจากจำเลยด้วย ศาลแขวงวินิจฉัยแต่เพียงว่า จำเลยไม่ได้ใช้อุบายหลอกลวงเอาความเท็จมากล่าว ทั้งมิได้ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรแจ้งให้ทราบ คดีไม่มีทางลงโทษจำเลยทางอาญา ส่วนประเด็นที่ว่าเงิน 6,300 บาทที่โจทก์ไปไถ่ถอนจำนองจะเป็นเงินของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะได้รับเงินอีก 700 บาทจากโจทก์หรือไม่ ศาลแขวงกล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย แสดงว่าประเด็นข้อนี้ศาลแขวงยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์มาฟ้องเรียกเงินจำนวน 7,000 บาท ที่ศาลจังหวัดอีก ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ข้อที่จำเลยอ้างว่าการนำพยานบุคคลเข้าสืบหักล้างพยานเอกสารเป็นการนำสืบที่ไม่ชอบนั้น จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ข้อที่จำเลยอ้างว่าการนำพยานบุคคลเข้าสืบหักล้างพยานเอกสารเป็นการนำสืบที่ไม่ชอบนั้น จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249