พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช่า และการทิ้งฟ้องแย้งจากความล่าช้าในการดำเนินการ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าห้องแถวจากโจทก์มีกำหนดเวลาสามสิบปีค่าเช่าเดือนละสี่สิบบาทโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่าจึงมีสิทธิการเช่าเพียงสามปี ครบกำหนดและบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยแล้ว ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะต้องไปจดทะเบียนการเช่ามีกำหนดสามสิบปี ในวันทำสัญญาจำเลยได้เสียค่าตอบแทนแก่โจทก์และได้ตกแต่งห้องแถวเป็นเงินจำนวนหนึ่ง สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาดังนี้ เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยเช่ามีกำหนดสามสิบปี จำเลยได้ออกเงินชำระค่าก่อสร้าง ได้เสียเงินค่าตอบแทนและได้ปรับปรุงตกแต่งห้องพิพาทสิ้นเงินไปจำนวนหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งว่า หมายเรียกส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ ให้โจทก์แก้ฟ้องแย้งภายใน 8 วัน ส่งหมายเรียกไม่ได้ ให้จำเลยแถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องแย้ง ดังนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้นำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งแก่โจทก์แล้วแต่ส่งไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วถึงการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งไม่ได้จำเลยจึงต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงเกินกำหนดดังกล่าว ต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้ง ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยเช่ามีกำหนดสามสิบปี จำเลยได้ออกเงินชำระค่าก่อสร้าง ได้เสียเงินค่าตอบแทนและได้ปรับปรุงตกแต่งห้องพิพาทสิ้นเงินไปจำนวนหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งว่า หมายเรียกส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ ให้โจทก์แก้ฟ้องแย้งภายใน 8 วัน ส่งหมายเรียกไม่ได้ ให้จำเลยแถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องแย้ง ดังนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้นำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งแก่โจทก์แล้วแต่ส่งไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วถึงการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งไม่ได้จำเลยจึงต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงเกินกำหนดดังกล่าว ต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้ง ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และการไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามสิบออกจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินคืนแก่โจทก์ร่วม อันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแม้ในคำฟ้องจะไม่ปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยทั้งสามสิบแต่ละคนครอบครองนั้นโจทก์และโจทก์ร่วมอาจนำออกให้เช่าได้ในอัตราเดือนละเท่าใด แต่ปรากฏว่าโจทก์เช่าที่ดินทั้งหมดจากโจทก์ร่วมในราคา 450 บาท ต่อปี ดังนั้น คดีระหว่างโจทก์และโจทก์ร่วมกับจำเลยทั้งสามสิบในแต่ละคนจึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง การที่จำเลยทั้งสามสิบอุทธรณ์ว่า สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์และโจทก์ร่วมทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสามสิบเข้าไปปลูกไม้ดอกไม้ประดับในที่ดินพิพาทตามโครงการเฉลิมพระเกียรติของอำเภอตั้งแต่ปี 2540 อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามสิบดังกล่าวมาก็เป็นการไม่ชอบ และถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยทั้งสามสิบจึงฎีกาในปัญหานี้ต่อมาไม่ได้ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง