พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเงินเบิกเกินบัญชี: ค้ำเฉพาะต้นเงินที่เบิกใช้จริง ไม่จำกัดจำนวน
สัญญาค้ำประกันเงินกู้หรือเงินเบิกเกินบัญชี แม้ไม่ระบุวงเงินค้ำประกันโดยตรงแต่ความในสัญญาค้ำประกันที่ระบุว่า เนื่องในการที่โจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้หรือเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาลงวันที่ 21 มกราคม 2528 เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท ตามสัญญาลงวันที่ 3 มีนาคม 2532 เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท และตามสัญญาลงวันที่ 27 มิถุนายน 2533 เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท นั้น ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง แสดงให้เห็นว่าผู้ค้ำประกันมีเจตนาเข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 เฉพาะต้นเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีไม่เกิน 690,000 บาท เท่านั้น ส่วนที่ผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญานั้น หมายถึงผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โดยสละสิทธิให้โจทก์เรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 1 หรือทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 691 เท่านั้น มิใช่เป็นข้อสัญญาให้ผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้หรือเบิกเงินเกินบัญชีย่อมมีผลให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะในต้นเงินไม่เกิน 690,000 บาท กับดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น ส่วนสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นเพียงการที่จำเลยที่ 3 ให้หลักประกันเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินไม่เกิน 690,000 บาท เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการให้หลักประกันใหม่โดยไม่จำกัดจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากทุนทรัพย์ข้อพิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท และประเด็นบางส่วนมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีเพียงค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 กำหนดเพิ่มให้ แก่โจทก์เป็นเงิน 112,200 บาท เท่านั้น เมื่อไม่เกิน 200,000 บาท จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับพิจารณาเนื่องจากทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท แม้จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อ337,800 บาท กับค่าขาดราคารถยนต์ที่เช่าซื้อ 60,000 บาท รวมเป็น 397,800 บาทให้แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ เท่ากับจำเลยยินยอมที่จะชำระค่าขาดประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อโดยกำหนดให้450,000 บาท ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้เหมาะสมแล้ว จำเลยฎีกา ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ 112,200 บาท จำเลยจะฎีกาโดยถือเอาจำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างชำระจำนวน 423,933.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยฎีกาแต่เพียงว่าจำเลยค้างชำระอยู่ 353,333.50 บาท เท่านั้น คดีของจำเลยจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเพียง 70,600 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดจำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาและข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามในมูลละเมิดโดยบรรยายในส่วนของค่าเสียหาย คือ ค่าจัดการศพ 35,000 บาทค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ 2,500 บาท และค่าขาดไร้อุปการะ 600,000 บาทแต่โจทก์ทั้งสองขอคิดค่าเสียหายทั้งหมดเพียง 537,000 บาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมทั้งดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นค่าจัดการศพ 30,000 บาท เป็นค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 200,000 บาท และ 100,000 บาทตามลำดับพร้อมทั้งดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เช่นนี้ ในส่วนของค่าจัดการศพซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง 30,000 บาท นั้นต้องนำไปคิดรวมเป็นทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนด้วย ดังนั้นรวมเป็นค่าเสียหายในส่วนของโจทก์ที่ 2เพียง 130,000 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่ 2 คงมีเพียง130,000 บาท ซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุที่เกิดขึ้นมิได้เป็นเพราะการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นั้นสูงเกินไป ถือว่าโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยของจำเลยที่ 2ในส่วนของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท แม้ฎีกาเกี่ยวข้องกับการดำเนินกระบวนพิจารณา
แม้ฎีกาของจำเลยที่ 1 จะเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับประเด็นพิพาทตามคำฟ้องก็ต้องถือตามทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเป็นหลักในการพิจารณาว่าเป็นคดีที่ฎีกาได้หรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8444/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์ต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคน หากไม่เกิน 50,000 บาท จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งห้าฟ้องว่าที่ดินพิพาทราคา 200,000 บาท เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตกได้แก่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยคนละส่วนขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าตามส่วนและขอให้แบ่งค่าเช่าที่ดินพิพาทจำนวน 1,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้าด้วยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกแต่เป็นทรัพย์ที่ผู้ตายยกให้แก่จำเลยตั้งแต่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนจะได้รับแยกต่างหากจากกัน ไม่ใช่ถือราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมา เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ตายยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ค่าเสียหายในอนาคตไม่นำมาคำนวณในชั้นอุทธรณ์ ทำให้คดีนั้นห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ค่าเสียหายปีละ40,000บาทที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์นับแต่วันหลังจากวันฟ้องนั้นเป็นค่าเสียหายในอนาคตจะนำไปรวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค1พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งอุทธรณ์ทั้งคดีส่วนฟ้องของโจทก์และคดีส่วนฟ้องแย้งของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ฎีกาจำเลยจึงมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยอย่างละ200บาทรวมเป็น400บาทจำเลยเสียเกินมาศาลฎีกาสั่งให้คืนส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารักษาพยาบาลอนาคตเป็นค่าเสียหายโดยตรง แต่การคิดค่าเสียหายต้องพิจารณาความเป็นไปได้และจำกัดจำนวน
ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต นับว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรง ศาลคิดค่า-เสียหายดังกล่าวให้ได้ แต่กรณีของโจทก์ที่ 2 เป็นการพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้ได้แน่ว่าจะมีอาการแทรกซ้อน ทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องผ่าตัดหรือไม่ และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เรียกได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 6,000 บาทตามคำขอของโจทก์ที่ 2 โดยสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาภายในกำหนดเวลาสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดตามจำนวนที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน และอายุความฟ้องร้องหนี้
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 บัญญัติว่า"ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนเช่นว่านั้นให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม" สัญญาค้ำประกันมิได้มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนจึงเป็นนิติกรรมธรรมดา แม้สหกรณ์โจทก์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด แม้สัญญาค้ำประกันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ แต่ผู้ค้ำประกันยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน ส่วนการที่จะให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกันนั้น ย่อมต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันมาเป็นพยานหลักฐานอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดเต็มตามจำนวนที่ฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ แล้วทำเรื่องราวขอกู้เงินฉุกเฉินจากโจทก์ในนามของสมาชิกดังกล่าวรวมหลายคราวเป็นเงิน 728,070 บาทซึ่งโจทก์หลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของสมาชิกจริงจึงอนุมัติจ่ายให้ไป คำฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอเพียงแล้ว จำเลยที่ 1 จะปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ด้วยวิธีใด หลักฐานการปลอมแปลงมีหรือไม่และมีการตรวจสอบไปแล้วเพียงใดเป็นเรื่องรายละเอียด ไม่จำต้องบรรยายมา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องเรียกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกคืน และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.