คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดวงเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดวงเงินทุนทรัพย์อุทธรณ์-ฎีกา: ศาลอุทธรณ์-ฎีกาต้องห้ามหากทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้เงิน 150,194 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากต้นเงิน 139,716 บาท นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ 112,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระหนี้เต็มตามฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เท่ากับจำนวนเงินตามที่โจทก์ฟ้อง 150,194 บาท หักด้วยจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระ 112,000 บาทกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องอีก 8,400 บาท แล้ว คือ 29,794 บาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องเรียกคืนการให้ที่พิพาทราคา350,000บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนคืนการให้กึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนที่เป็นที่ดินของโจทก์และยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่ช.เป็นเจ้าของกึ่งหนึ่งจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องที่ดินกึ่งหนึ่งในส่วนที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นของโจทก์โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในที่ดินส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าช. มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทกึ่งหนึ่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนที่ว่าช. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกึ่งหนึ่งจึงเป็นอันยุติทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียง175,000บาทตามที่จำเลยอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์โจทก์จึงฎีกาได้เฉพาะที่พิพาทจำนวนกึ่งหนึ่งที่จำเลยอุทธรณ์และตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงเป็นเพียง175,000บาทดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์และช. ซื้อที่พิพาทมาจากบิดามารดาช. ที่พิพาทไม่ใช่สินส่วนตัวของช. หากฟังว่าช.ได้รับมรดกที่พิพาทมาจากบิดามารดาจริงช. ก็สละการครอบครองที่พิพาทจำนวนกึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9245/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเนื่องจากทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของแต่ละโจทก์ไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันรับประกันภัยทรัพย์พิพาทโดยโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ในวงเงินร้อยละ 60และ 40 ของค่าเสียหายทั้งหมดตามลำดับ เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญาและโจทก์ทั้งสองได้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามวินาศภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนที่รับประกันภัยไว้แล้ว จึงรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองดังนี้ การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิใช่นายจ้างหรือตัวการของคนขับรถบรรทุกผู้ทำละเมิด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่มีพยานยืนยันว่าคนขับรถบรรทุกดังกล่าวเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยก็ตาม แต่คำพยานจำเลยก็ไม่มีน้ำหนักรับฟังนั้นเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่า คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8434/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดวงเงินฎีกาในคดีสัญญาประกันตัว: ทุนทรัพย์แยกตามสัญญาแต่ละฉบับ
ทุนทรัพย์ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา2คนต้องถือตามจำนวนเงินในสัญญาประกันแต่ละฉบับเพราะค่าปรับตามสัญญาทั้ง2ฉบับเป็นคนละรายแบ่งแยกรับผิดเป็นส่วนสัดเมื่อทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากราคาทรัพย์สินในชั้นฎีกาลดลงต่ำกว่า 200,000 บาท
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน 248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษา กลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน 128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดวงเงินฎีกาในคดีแพ่ง, การรับช่วงสิทธิค่าเสียหาย, และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงกับคดีอาญา
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยที่1ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องมีเพียง194,114.18บาทจึงไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งจำเลยที่1ฎีกาว่าเหตุพิพาทคดีนี้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่2แม้ศาลจะฟังว่ารถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋งก็เป็นเหตุสุดวิสัยฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ขับรถโดยประมาทมิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทมาตราดังกล่าวข้างต้น ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่2ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,46,157รัฐเป็นผู้เสียหายจำเลยที่1ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใดศาลจึงกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหายกับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฏว่าค่าเสียหายมีเพียงใดโจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวเต็มจำนวนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว และราคาทรัพย์สินไม่เกิน 200,000 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของท.และจำเลยทั้งสองเมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ฎีกาว่าคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือรับฟังดีกว่าพยานจำเลย พยานจำเลยไม่น่าเชื่อถือและรับฟัง จึงเป็นฎีกาที่โจทก์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันหนี้ที่จำกัดวงเงินและความรับผิดตามสัญญาอุปกรณ์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เคยตกลงผูกพันตามสัญญาโอนขายลดเช็คฉบับเดิม ในการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขายลดเช็คที่ได้กระทำขึ้นใหม่ภายหลัง เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้สินที่มีอยู่แล้ว และที่จะเกิดขึ้นในภายหลังผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คที่คู่สัญญาได้กระทำขึ้นต่อมาอีกภายหลัง แต่ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนเงินที่ต้องรับผิดตามสัญญาโอนขายลดเช็คที่สัญญาค้ำประกันได้ทำขึ้นเป็นสัญญาอุปกรณ์อยู่เดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้ร่วม: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดวงเงิน และการคิดดอกเบี้ย
ฎีกาของโจทก์แม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต่างทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ในวงเงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์คนละฉบับ ดังนี้ เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หาใช่แยกความรับผิดกันไม่
กรณีดังกล่าวแม้หนี้ของจำเลยที่ 1 จะมีจำนวนเกินกว่า 500,000 บาท จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญารับชำระหนี้ในส่วนที่เกินกว่า 500,000 บาทไม่ แต่ถ้าผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิในค่าจ้างและค่าชดเชยแรงงาน: การจำกัดวงเงินบุริมสิทธิในค่าจ้างนับถอยหลัง
หนี้ค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่เป็นบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ส่วนหนี้ค่าจ้างคนงานที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เป็นบุริมสิทธิตามมาตรา 253(4) และมาตรา 257 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีบุริมสิทธิในมูลค่าจ้างนับถอยหลังไปสองเดือนแต่ไม่เกิน 150 บาท
of 2