พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช่าและมรดก: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินขอบเขต
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่า หากโจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท และโจทก์ได้ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามอัตรานั้นเดือนละ 10,000 บาท ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันได้ความว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ ค. ผู้เช่าเดิมตกลงอัตราค่าเช่าปีละ 10,000 บาท และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผูกพันถึงทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นมรดกแก่จำเลยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. ดังนี้ถือว่าจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าจาก ค. จะต้องฟังว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องปีละ 10,000 บาทจึงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์หามีผลบังคับแก่คดีไม่ การที่ฎีกาจำเลยฎีกาต่อมาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีขับไล่และการอุทธรณ์ดุลพินิจศาล: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งการใช้ดุลพินิจดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีเช่าค่าเช่าต่ำกว่าสองพันบาท และการเพิกเฉยต่อการดำเนินคดีฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าห้องแถวจากโจทก์มีกำหนดเวลาสามสิบปีค่าเช่าเดือนละสี่สิบบาทโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่า จึงมีสิทธิการเช่าเพียงสามปี ครบกำหนดและบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยแล้ว ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะต้องไปจดทะเบียนการเช่ามีกำหนดสามสิบปี ในวันทำสัญญาจำเลยได้เสียค่าตอบแทนแก่โจทก์และได้ตกแต่งห้องแถวเป็นเงินจำนวนหนึ่ง สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาดังนี้ เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาทซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยเช่ามีกำหนดสามสิบปี จำเลยได้ออกเงินชำระค่าก่อสร้าง ได้เสียเงินค่าตอบแทนและได้ปรับปรุงตกแต่งห้องพิพาทสิ้นเงินไปจำนวนหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งว่า หมายเรียกส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ ให้โจทก์แก้ฟ้องแย้งภายใน 8 วัน ส่งหมายเรียกไม่ได้ให้จำเลยแถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องแย้ง ดังนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้นำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งแก่โจทก์แล้วแต่ส่งไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วถึงการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งไม่ได้จำเลยจึงต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงเกินกำหนดดังกล่าว ต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้ง ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยเช่ามีกำหนดสามสิบปี จำเลยได้ออกเงินชำระค่าก่อสร้าง ได้เสียเงินค่าตอบแทนและได้ปรับปรุงตกแต่งห้องพิพาทสิ้นเงินไปจำนวนหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งว่า หมายเรียกส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ ให้โจทก์แก้ฟ้องแย้งภายใน 8 วัน ส่งหมายเรียกไม่ได้ให้จำเลยแถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องแย้ง ดังนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้นำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งแก่โจทก์แล้วแต่ส่งไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วถึงการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งไม่ได้จำเลยจึงต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงเกินกำหนดดังกล่าว ต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้ง ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8448/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ อุทธรณ์ต้องยกข้อไม่เชื่อถือพยานโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงใหม่
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและเพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดี ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสอง นั้น จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะในพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำสืบมา ว่าศาลไม่ควรเชื่อหรือรับฟังไม่ได้เท่านั้น จำเลยไม่อาจที่จะไปกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้นำสืบหรือที่ไม่มีอยู่ในสำนวนขึ้นมาอ้างอิงเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ โดยเชื่อตามที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลและพยานเอกสาร แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์อ้างว่า พยานบุคคลและพยานเอกสารที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนักในการรับฟังด้วยเหตุผลตามที่พยานเบิกความและข้อความในเอกสารมีพิรุธไม่น่าเชื่อถือในข้อไหนอย่างไรกลับอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่มีอยู่ในสำนวนขึ้นมาโต้เถียงว่า เจ้าหน้าที่ของโจทก์นำแบบพิมพ์เปล่ามาให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ จนกระทั่งถูกฟ้องจำเลยจึงทราบว่าแบบพิมพ์เปล่าที่จำเลยเคยลงลายมือชื่อไว้เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งโจทก์เติมข้อความโดยจำเลยไม่รู้เห็นและยินยอม หนังสือรับสภาพหนี้ปลอม ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีคำขอนอกเหนือจากที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องว่า ให้ย้อนสำนวนคืนให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีด้วย โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การว่าไม่ชอบมาด้วยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ โดยเชื่อตามที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลและพยานเอกสาร แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์อ้างว่า พยานบุคคลและพยานเอกสารที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนักในการรับฟังด้วยเหตุผลตามที่พยานเบิกความและข้อความในเอกสารมีพิรุธไม่น่าเชื่อถือในข้อไหนอย่างไรกลับอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่มีอยู่ในสำนวนขึ้นมาโต้เถียงว่า เจ้าหน้าที่ของโจทก์นำแบบพิมพ์เปล่ามาให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ จนกระทั่งถูกฟ้องจำเลยจึงทราบว่าแบบพิมพ์เปล่าที่จำเลยเคยลงลายมือชื่อไว้เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งโจทก์เติมข้อความโดยจำเลยไม่รู้เห็นและยินยอม หนังสือรับสภาพหนี้ปลอม ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีคำขอนอกเหนือจากที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องว่า ให้ย้อนสำนวนคืนให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีด้วย โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การว่าไม่ชอบมาด้วยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8448/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ อุทธรณ์ต้องจำกัดเฉพาะพยานโจทก์ที่นำสืบเท่านั้น ข้อเท็จจริงใหม่ไม่อาจอุทธรณ์ได้
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสอง นั้น จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะในพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาว่าศาลไม่ควรเชื่อหรือรับฟังไม่ได้เท่านั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้นำสืบหรือที่ไม่มีอยู่ในสำนวน เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง