คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากการละทิ้งหน้าที่ และอำนาจการสั่งการของผู้อำนวยการที่ถูกจำกัด
สัญญาจ้างผู้อำนวยการระหว่างจำเลยที่ 1 กับ พ. กำหนดว่า พ. มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย ภายใต้นโยบายและการควบคุมดูแลของคณะกรรมการจำเลยที่ 1 พ. ต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการจำเลยที่ 1 ที่ยับยั้งหรือสั่งการเมื่อเห็นว่า พ. ปฏิบัติงานใด ๆ ขัดต่อกฎหมาย นโยบายหรือมติของคณะกรรมการ หรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และในระหว่างอายุสัญญา คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 จะพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของ พ. ทุกปี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ท้ายสัญญา คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของ พ. ได้ เมื่อผลการปฏิบัติงานของ พ. ไม่เป็นที่พอใจของคณะกรรมการและคณะกรรมการเห็นว่าการปฏิบัติงานของ พ. เป็นไปในทางที่อาจทำให้จำเลยที่ 1 เสียประโยชน์ จึงสามารถยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ของ พ. ได้ และ พ. ต้องปฏิบัติตามไม่ว่าจะได้ทำผิดระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายหรือไม่
คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ พ. รับตำแหน่งที่ปรึกษาโดยให้การดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. มีผลเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติตำแหน่ง และแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. ให้มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการองค์การจำเลยที่ 1 โดย พ. ไม่ต้องรับผิดชอบในผลการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2545 เป็นต้นไป ส่วนหนึ่งเป็นการยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการของ พ. อีกส่วนหนึ่งเป็นการให้ พ. ไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ ซึ่งแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น ไม่ว่ากระทรวงการคลังจะได้อนุมัติตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. แล้วหรือไม่ และจะได้มีการถอดถอน พ. ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการหรือไม่ พ. ก็ไม่อาจทำหน้าที่ผู้อำนวยการต่อไปได้ จึงเป็นกรณีที่ผู้อำนวยการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่ง พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 24 บัญญัติให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ทำการแทน แม้ขณะที่ พ. ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จะมีจำเลยที่ 2 เป็นรองผู้อำนวยการซึ่งมาตราดังกล่าวบัญญัติให้เป็นผู้ทำการแทนไว้แล้ว การที่คณะกรรมการมีมติและคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. อีก ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีฐานะเป็นผู้ทำการแทน พ. เพราะมติและคำสั่งของคณะกรรมการเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำการแทน
จำเลยที่ 2 ออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 ให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนล่าง โจทก์ได้โต้แย้งเฉพาะเรื่องตำแหน่งที่ให้โจทก์ไปดำรงโดยมิได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ออกคำสั่ง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่า พ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อ พ. สั่งการให้โจทก์ไปช่วยปฏิบัติงานที่สำนักงาน อ.ส.ค. กรุงเทพมหานครในวันที่ 28 พ.ค. 2545 ภายหลังจากที่โจทก์ได้โต้แย้งคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 และจำเลยที่ 2 ได้แก้ไขข้อผิดพลาดในคำสั่งดังกล่าวด้วยการออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 แล้วโจทก์จะอ้างว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่า พ. ยังมีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 และโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. ไม่ได้ การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. และไม่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งการละทิ้งหน้าที่การงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้เพียง 3 วันทำงานติดต่อกัน ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (4) ก็กำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วันโดย ไม่มีเหตุอันสมควรของโจทก์จึงเป็นความผิดร้ายแรง จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
2/2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414-5415/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้บริหารแผนและการจำกัดอำนาจผู้บริหารลูกหนี้หลังฟื้นฟูกิจการ
ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทนิยามใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/1 เมื่อศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้วอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลง ครั้นเมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วอำนาจดังกล่าวและบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และเมื่อศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้ว สิทธิและอำนาจของผู้ทำแผนตกเป็นของผู้บริหารแผนนับแต่ผู้บริหารแผนได้รับทราบคำสั่ง ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติในมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง, มาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ดังนี้ การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ร้องออกคำสั่งใด ๆ แก่พนักงานของลูกหนี้หรือติดต่อภายในพื้นที่ของลูกหนี้และห้ามผู้ร้องเข้าไปในสถานที่ทำงานหรือโรงงานของลูกหนี้เนื่องจากจะทำให้การบริหารงานมีเหตุขัดข้อง และก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำงาน ผู้บริหารแผนย่อมมีอำนาจทำได้เช่นเดียวกับที่ผู้บริหารแผนไม่ให้ผู้ร้องใช้ทรัพย์สินต่าง ๆ ของลูกหนี้ก็เป็นอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของผู้ทำแผนเพื่อนำทรัพย์สินของลูกหนี้มาไว้ในความอารักขาแห่งตนรวมทั้งเป็นการให้ผู้บริหารของลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 90/21 วรรคสาม, มาตรา 90/24 วรรคสอง และ 90/59 วรรคสอง ส่วนที่ยังค้างอยู่
สำหรับเรื่องค่าตอบแทนของผู้ร้องนั้น ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หากข้อบังคับมิได้กำหนดไว้ การจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผนตามมาตรา 90/25 ประกอบมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างเวลาดังกล่าวจึงอยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ส่วนสถานะของผู้ร้องที่เป็นผู้บริหารของลูกหนี้นั้น แม้ว่าในระหว่างการฟื้นฟูกิจการอำนาจของผู้บริหารลูกหนี้ในการบริหารจัดการกิจการของลูกหนี้จะสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติข้างต้น โดยมีผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวแทน แล้วแต่กรณี แต่เมื่อคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงโดยการยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว อำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเป็นของผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 90/74 หรือ 90/75 แล้วแต่กรณี และการที่ผู้ร้องเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจจัดการกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการซึ่งถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เช่นนี้ การที่ผู้บริหารมีหนังสือแจ้งข้อกำหนดต่าง ๆ ให้ผู้ร้องปฏิบัติ จึงมีผลบังคับได้เท่าที่ไม่กระทบถึงสถานะและสิทธิของผู้ร้องซึ่งยังดำรงสถานะเป็นผู้บริหารหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ในการที่จะดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายล้มละลายได้ให้อำนาจและคุ้มครองไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414-5415/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้บริหารลูกหนี้หลังฟื้นฟูกิจการ: การจำกัดอำนาจและการรักษาสถานะหลังคำสั่งศาล
ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทนิยามใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/1 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลง การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง มาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง
ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารของลูกหนี้ ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หรือมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 90 เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผน การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้ เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่อยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ตามมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง มาตรา 90/25 ประกอบกับมาตรา 90/74 และมาตรา 90/75 คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิได้ทำให้สถานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
การที่ผู้ร้องมีฐานะเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ จัดการกิจการของลูกหนี้และเมื่อผู้ร้องดำเนินกิจการของลูกหนี้ในฐานะดังกล่าวแล้ว จะต้องรายงานผลการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการของลูกหนี้ทราบ การที่ผู้ร้องดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้อง: ศาลไม่อาจพิพากษาเกินกว่าที่ระบุในฟ้อง แม้มีข้อเท็จจริงสนับสนุน
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างชัดแจ้งว่าจำเลยเช่าที่ดินโจทก์เนื้อที่ 30 ตารางวา และปลูกบ้านเลขที่ 16/4 บนที่ดินดังกล่าวอยู่อาศัยตลอดมาโดยขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 16/4 ออกไปจากที่ดินโจทก์ที่จำเลยทำสัญญาเช่ามา มิได้ขอให้บังคับขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์เนื้อที่เกินกว่า 30 ตารางวาแม้จะกล่าวอ้างด้วยว่าที่ดินที่จำเลยเช่าเป็นแปลงเดียวกับที่ดินเนื้อที่ 11 ไร่เศษ และจำเลยให้การว่าที่ดินตามฟ้องจำเลยมีสิทธิครอบครองอยู่ 4 ไร่ โดยโจทก์มอบให้เพื่อชำระราคาที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์ แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นพิพาทว่า จำเลยครอบครองที่ดินในส่วนที่เกินกว่า 30 ตารางวา คงพิพาทและบังคับกันได้เฉพาะที่พิพาทตามฟ้องเนื้อที่ 30 ตารางวา ศาลย่อมไม่มีอำนาจวินิจฉัยเลยไปถึงว่าให้จำเลยออกไปจากที่ดินเนื้อที่ 3 ไร่เศษของโจทก์ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเกินอำนาจศาลอุทธรณ์เมื่อราคาทรัพย์สินไม่เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามา ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไป จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยกั้นรั้วตามแนวเขตที่ดินของจำเลยซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินอยู่ด้วยก็ตาม แต่เมื่อประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของใคร ส่วนคำขอให้รื้อถอนรั้วออกไปเป็นผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น เรียกไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แยกกันได้จากคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดอำนาจศาลอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญา และการลงโทษที่ไม่ตรงกับฟ้อง
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้างมาตรา 376 ไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์มิได้กล่าวบรรยายมาในฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดมาตราดังกล่าวดังนั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกซ้อนกันเป็นโมฆะ หากศาลยังไม่ได้จำกัดอำนาจผู้จัดการมรดกเดิม
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไว้แล้ว โดยมิได้จำกัดอำนาจของผู้จัดการมรดกไว้แต่เฉพาะทรัพย์บางอย่าง ทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกในคดีใหม่ก็เป็นทรัพย์สินอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกดังกล่าวที่จะต้องดำเนินการอยู่แล้ว การที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกจึงเป็นการขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซ้อนกัน ต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องผิดฐานความผิด ศาลไม่อาจลงโทษเกินกว่าที่ฟ้องได้ แม้จะอ้างบทมาตรานั้นในคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการขายให้เช่าหรือเสนอขายเสนอให้เช่าหรือนำออกโฆษณาซึ่งภาพยนตร์วีดีโอเทปเพื่อการค้าโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2521มาตรา27และ44วรรคสองซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดตามมาตรา24,25และ43วรรคสองกล่าวคือความผิดตามมาตรา27และ44วรรคสองเป็นการกระทำแก่งานที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยขายให้เช่าให้เช่าซื้อหรือเสนอขายเสนอให้เช่าหรือเสนอให้เช่าซื้อนำออกโฆษณาแจกจ่ายนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรแต่ความผิดตามมาตรา24,25และ43วรรคสองเป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือนำออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา13เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยตามมาตรา24,25และ43วรรคสองแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์จากตัวแทนที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ และการโอนกรรมสิทธิ์ที่จำกัด
รถคันพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เชิดจำเลยที่ 1 ออกเป็นตัวแทนขายรถคันพิพาทให้โจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ รถคันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดเกี่ยวกับรถคันพิพาทกับโจทก์ การโอนทะเบียนรถยนต์อันเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนรถคันพิพาทเป็นชื่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2479/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำกัดอำนาจ การเชิดตัวแทน และความรับผิดในฐานะตัวการ
บริษัทจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรมได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการใหญ่บริหารโรงแรม และมอบอำนาจให้เป็นผู้ทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์ รวมทั้งให้เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 4 ในกิจการของโรงแรมได้ ดังนี้ถือได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 4 ได้เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนบริษัทจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดในฐานะตัวการชำระราคาสินค้าพร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการของโรงแรม.
of 3