คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การและฎีกาในชั้นฎีกา: ข้อจำกัดด้านเวลาและการสละข้อต่อสู้
จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดก็ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุก ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอถอนข้อต่อสู้เดิมตามฎีกาที่ให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง คำร้องของจำเลยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง ที่บัญญัติให้กระทำได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ส่วนที่จำเลยขอแก้ไขฎีกาที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องนั้น เป็นการขอแก้ไขฎีกาโดยมิได้เพิ่มเติมประเด็นใหม่ แต่เป็นการสละข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา ไม่ใช่การคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ตกอยู่ในจำกัดเวลาฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขฎีกาได้แม้พ้นกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การร้องทุกข์เกิน 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดทำให้คดีขาดอายุความ
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว หาได้มีบทบัญญัติเรื่องเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถทำให้อายุความสะดุดหยุดลง อันเป็นเหตุให้อายุความยังไม่ครบบริบูรณ์ดังที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 187 ไม่ จึงจะนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ในคดีอาญาไม่ได้ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเกินกว่า3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนาถา: ศาลอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้เสมอ ไม่จำกัดเวลาที่เกิดเหตุการณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรค 4 ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นพยานหลักฐานใหม่นั้นไว้ในคำร้องที่ขอให้พิจารณาใหม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์จะแสดงให้ปรากฏในชั้นไต่สวนคำร้องใหม่
พยานหลักฐานที่จะนำมาแสดงเพิ่มเติมในชั้นไต่สวนพิจารณาคำร้องใหม่ดังกล่าว ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพยานหลักฐานที่มีขึ้นหลังจากศาลสั่งยกคำร้องขออนาถาเดิมพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นไม่ว่าจะมีอยู่ก่อนหรือหลังจากศาลมีคำสั่งยกคำร้องขออนาถาเดิมก็มีสิทธินำมาแสดงเพิ่มเติมได้เสมอ