คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำนวนครั้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจช่วง: การกำหนดจำนวนอากรแสตมป์สำหรับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแพ่ง
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจช่วงซึ่งระบุข้อความว่า "...ขอมอบอำนาจช่วงให้ พ. และ/หรือ ส. ...เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องช. ที่ 1 ว. ที่ 2 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในข้อหาหรือฐานความผิดเรื่องสัญญากู้ยืมเงินเบิกเงินเกินบัญชี (บัญชีเดินสะพัด) สัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกัน บังคับจำนำ บังคับจำนอง ตั๋วเงิน เรียกดอกเบี้ยค้าง เรียกค่าเสียหาย เบี้ยปรับ และค่าขาดประโยชน์อันเกิดจากการผิดสัญญาต่าง ๆ แทนบริษัท และให้มีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีและแก้ต่างคดีของบริษัท ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร และคดีล้มละลาย มีอำนาจทวงถาม บอกกล่าวจำนอง ดำเนินการบังคับจำนอง ตลอดจนดำเนินการใด ๆ ในชั้นบังคับคดีจนเสร็จการ ขอรับเงินหรือเอกสารจากศาลหรือองค์การของรัฐตลอดจนคู่ความ รวมทั้งให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิของบริษัทได้ เช่นการยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายเรียกร้อง การถอนฟ้องการประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ การมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจมอบอำนาจช่วงต่อไปให้บุคคลอื่นเข้ากระทำการแทนอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างหรือทุกอย่างตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจนี้..." ดังนี้ ข้อความที่ว่า...มอบอำนาจช่วงให้ พ. และ/หรือ ส.เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้กับมีข้อความอื่นตามที่ระบุข้างต้นนั้น เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท มิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์คนละ 30 บาท เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนบริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2532 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินที่รับแทนโจทก์: การบรรยายฟ้องต้องระบุจำนวนครั้งและจำนวนเงินที่ชัดเจน
โจทก์มอบหมายให้จำเลยซึ่ง เป็นทนายความของโจทก์ในคดีก่อนมีอำนาจรับเงินจากจำเลยในคดีนั้นแทนโจทก์ได้ เมื่อจำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่ง ชำระหนี้แก่โจทก์แทนจำเลยในคดีดังกล่าว เงินที่จำเลยรับไว้จึงตกเป็นของโจทก์ จำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน ยักยอก โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐาน ยักยอกโดย บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันเวลาที่ระบุไว้ จำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่ง ชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้งรวมเป็นเงิน ๑๘๐,๐๐๐ บาท และจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต มิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยรับเงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใด ดังนี้ แม้จะพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมศาลก็จะเรียงกระทงลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นการนอกเหนือไปจากฟ้องปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๕ ประกอบด้วย มาตรา ๒๒๕.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091-3092/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: การกระทำผิดเป็นกรรม ๆ ไปตามจำนวนครั้งที่กระทำ
เจ้าอาวาสเจ้าของโรงเรียนมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทุจริตยักยอกเงินของโรงเรียน เป็นการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว เจ้าอาวาสเบิกความต่อศาลว่า ที่ให้ไปแจ้งความก็เพื่อให้ได้เงินคืน ไม่ต้องการให้จำเลยรับโทษทางอาญา ไม่ทำให้การแจ้งความร้องทุกข์ที่ได้กระทำไว้แล้วโดยชอบเสียไป และไม่ใช่ถอนคำร้องทุกข์ด้วย
เมื่อสิ้นภาคเรียนจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินของโรงเรียนมอบให้เจ้าอาวาสทุกครั้งไป ครั้งใดจำเลยไม่ส่งมอบแต่กลับยักยอกเอาเป็นประโยชน์ของตนเสีย ก็เป็นความผิดฐานยักยอกสำหรับครั้งนั้นสำเร็จขาดตอนไปเป็นกรรมหนึ่ง การยักยอกของจำเลยจึงเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไปตามจำนวนครั้งที่จำเลยกระทำการยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องคดีทุจริต-ยักยอกทรัพย์: การเปลี่ยนแปลงจำนวนครั้งกระทำผิด และอำนาจเรียกคืนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทุจริตปลอมเอกสารและนำออกใช้และเบียดบังยักยอกเงินไป แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าปลอมใช้เอกสารมากกว่า 2 ครั้ง ซึ่งเกินกว่าที่ระบุในฟ้อง. ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ซึ่งให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สิน หรือราคาคืนในคดียักยอกทรัพย์นั้น.หมายรวมทั้งคดีเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ด้วย ตามแบบอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ 1907/2494.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวค่าเช่าค้างชำระ: ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าว 2 ครั้ง
การบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่า ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องบอกกล่าวถึง 2 ครั้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ โดยพิจารณาจากจำนวนครั้งที่ศาลพิพากษาให้จำคุก ไม่ใช่จำนวนครั้งที่พ้นโทษ
ม.8 แห่งพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 ความว่า "ถ้าผู้ใดเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ฯลฯ " นั้น หมายความถึงว่าผู้นั้นได้รับโทษโดยศาลพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้งอีกนัยหนึ่งคือครั้งตามคำพิพากษา หามีข้อความใดในบทบัญญัตินี้แสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นได้หลุดพ้นโทษไปแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้งเช่นกฎหมายลักษณะอาญาเรื่องผู้กระทำผิดไม่เข็หลาบนั้นไม่
จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว 3 คดีคือคดีแดงที่ 1221/2491 ฐานชิงทรัพย์ คดีแดงที่ 136/2492 ฐานลักทรัพย์ คดีแดงที่ 769/2492 ฐานหลบหนีที่คุมขัง และปรากฎตามสำนวนคดีแดงที่ 136/2492 ว่าจำเลยรับโทษตามคำพิพากษาคดีแดงที่ 1221/2491 อยู่แล้วหลบหนีไปกระทำผิดในคดีแดงที่ 136/2492 นั้นทั้ง 3 คดีนี้จำเลยจึงได้รับโทษจำคุกต่อเนื่องกันไป เพิ่งพ้นโทษไปคราวเดีว เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2494 เช่นนี้ เมื่อจำเลยมากระทำผิดในคดี ( ลักทรัพย์ ) ขึ้นอีก ศาลก็เพิ่มโทษกักกันจำเลยได้
อ้างฎีกาที่ 1307/2480 และที่ 1514/2482

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ โดยพิจารณาจากจำนวนครั้งที่ศาลพิพากษาให้จำคุก ไม่ใช่จำนวนครั้งที่พ้นโทษ
มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายพ.ศ.2479 ความว่า"ถ้าผู้ใดเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ฯลฯ" นั้นหมายความถึงว่าผู้นั้นได้รับโทษโดยศาลพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง อีกนัยหนึ่งคือครั้งตามคำพิพากษา หามีข้อความใดในบทบัญญัตินี้แสดงให้เห็นว่าผู้นั้นได้หลุดพ้นโทษไปแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง เช่นกฎหมายลักษณะอาญาเรื่องผู้กระทำผิดไม่เข็ดหลาบนั้นไม่
จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว 3 คดีคือคดีแดงที่ 1221/2491 ฐานชิงทรัพย์ คดีแดงที่136/2492 ฐานลักทรัพย์คดีแดงที่ 769/2492 ฐานหลบหนีที่คุมขัง และปรากฏตามสำนวนคดีแดงที่ 136/2492 ว่าจำเลยรับโทษตามคำพิพากษาคดีแดงที่ 1221/2491 อยู่แล้วหลบหนีไปกระทำผิดในคดีแดงที่ 136/2492 นั้น ทั้ง 3 คดีนี้จำเลยจึงได้รับโทษจำคุกต่อเนื่องกันไป เพิ่งพ้นโทษไปคราวเดียว เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2494 เช่นนี้ เมื่อจำเลยมากระทำผิดในคดี(ลักทรัพย์)ขึ้นอีก ศาลก็เพิ่มโทษกักกันจำเลยได้ (อ้างฎีกาที่1307/2480 และที่ 1514/2482)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยเกินฟ้อง: ศาลต้องลงโทษตามจำนวนครั้งที่ระบุในฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงฟังได้เกินกว่านั้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแทงเขา 1 ที แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยแทงเขา 3 ที ศาลก็ฟังลงโทษจำเลยเกินฟ้องไม่ได้ ต้องลงโทษจำเลยฐานแทงเขาแผลเดียว