คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำนวนวันทำงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประจำ vs. ลูกจ้างชั่วคราว: วัตถุประสงค์การจ้างสำคัญกว่าจำนวนวันทำงาน
ข้อแตกต่างระหว่างลูกจ้างประจำกับลูกจ้างชั่วคราวอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการจ้าง ไม่ใช่อยู่ที่จำนวนวันทำงานหรือค่าจ้างในแต่ละเดือน ถ้านายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างไว้เป็นประจำก็ถือว่าเป็นลูกจ้างประจำ แต่ถ้าตกลงจ้างไว้เพียงเพื่อให้ทำงานซึ่งมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นงานจรหรือเป็นงานตามฤดูกาลก็ถือว่าเป็นลูกจ้างชั่วคราว เมื่อจำเลยจ้างโจทก์นั้นจำเลยมิได้แสดงความประสงค์ว่าจะจ้างประจำหรือจ้างชั่วคราว และมิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ แต่ลักษณะงานของจำเลยเป็นงานซึ่งมีอยู่โดยสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำเสร็จครั้งหนึ่งแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นกันไปโดยไม่มีงานให้ทำอีก ต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานไปตามปกติจนกว่าจะมีการเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ข้อตกลงที่ให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์วันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการ โดยจ่ายค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงานนั้น เป็นข้อตกลงกำหนดจำนวนวันทำงานและค่าจ้างกันเท่านั้น ไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าครองชีพเป็นค่าจ้างเหมาจ่ายรายเดือนที่ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ไม่ต้องเฉลี่ยตามจำนวนวันทำงาน
เมื่อค่าครองชีพซึ่งรัฐวิสาหกิจจ่ายให้ตามมติของคณะรัฐมนตรีเป็นค่าจ้างประเภทหนึ่งซึ่งจะต้องจ่ายในอัตราเหมาเดือนมิได้จ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงานและไม่มีการหักวันหยุดวันลาต่างๆ อันแตกต่างกับการจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมงตามปกติของโจทก์ ดังนั้นการคำนวณค่าล่วงเวลารายชั่วโมงของค่าครองชีพให้แก่โจทก์จึงต้องเอาจำนวนค่าครองชีพหารด้วย 30 คูณด้วย 8(จำนวนชั่วโมงที่โจทก์ทำงานแต่ละวัน) หาใช่เอา21.75 อันเป็นวันทำงานโดยเฉลี่ยของโจทก์ในแต่ละเดือนคูณด้วย 8 มาเป็นตัวหารไม่