คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 948 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนอง: นับจากประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกที่ไม่มีผู้ประมูล จนถึงการประกาศขายใหม่
การขายทอดตลาดครั้งแรกไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่เป็นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองคดีนี้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์จำนองนั้นออกขายทอดตลาดแล้ว ส่วนวันที่ 18 สิงหาคม 2543 เป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศให้มีการขายทอดตลาดครั้งแรกเท่านั้น โดยไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวจริง จะถือว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น, การบังคับจำนอง, การคิดดอกเบี้ยผิดนัด, และระยะเวลาการยื่นคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพื่อใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งวรรคสองได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอด เมื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนวันที่ประกาศขายทอดตลาดใหม่ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์จำนองนั้นออกขายทอดตลาดตามที่กฎหมายกำหนด
การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 มีผลเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำนองและตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 (1) ได้บัญญัติให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ย ทั้งสัญญาจำนองที่ดินก็ระบุให้ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้ง ดังนี้ วงเงินจำนองตามที่ระบุในสัญญาจำนองหมายถึงเฉพาะหนี้เงินต้นไม่รวมถึงหนี้ดอกเบี้ย ผู้รับจำนองมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่เกินวงเงินจำนองได้แต่หนี้จำนองเป็นเพียงอุปกรณ์ การบังคับจำนองได้เพียงใดต้องพิจารณาจากหนี้ประธานว่ามีจำนวนเท่าใด ถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ และกำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการกู้ยืมเงิน จำนองประกัน และการชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการกู้ยืม จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ แต่จำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้ของ ส. บุตรชายจำเลย ดังนี้เป็นการต่อสู้ว่าไม่มีหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานตามฟ้อง มีแต่หนี้เงินกู้ยืมของ ส. บุตรชายที่จำเลยเพียงแต่จำนองประกันหนี้เท่านั้น ซึ่งหากคดีฟังได้ตามข้อต่อสู้ ก็เท่ากับว่าไม่มีหนี้เงินกู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ก็ไม่อาจบังคับจำนองที่ดินพิพาทอันเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ คดีจึงมีประเด็นด้วยว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และพิพากษาคดีมา จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ 183 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเสียก่อน แต่กลับฟังข้อเท็จจริงยุติไปเลยว่า จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเพื่อประกันการกู้ยืมเงินของ ส. ย่อมเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นเพิ่มและวินิจฉัยให้เสร็จไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
คดีนี้จำเลยให้การเพียงว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปจดทะเบียนขายฝากจำนวน 715,000 บาท เพื่อชำระหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระแก่โจทก์ มิได้ให้การถึงการขายฝากที่ดินแปลงอื่นอีก การที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดินแปลงอื่นจำนวน 3 แปลง ไปขายฝากแก่บุคคลภายนอกแล้วนำเงินที่ได้จากการขายฝากจำนวน 200,000 บาท ไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 แต่ที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปขายฝากแก่ ก. บุตรชายโจทก์และโจทก์หักเงินที่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม เป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ยค้างชำระ มิใช่เป็นการนำสืบถึงการใช้ต้นเงินจึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นโมฆะเพราะเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด การชำระดอกเบี้ยจึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 ซึ่งจะนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินไม่ได้
คำแถลงรับของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้คืนบางส่วนจากจำเลย ย่อมผูกพันโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักยอดหนี้ค้างชำระได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินพิพาทที่ออกโฉนดโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิเพิกถอนได้ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้รับจำนองสุจริต
อ. ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินทีมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ อ. ได้สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนในวันที่ซื้อขายแล้ว ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของ อ. จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 อ. ไม่ใช่เจ้าของ อ. และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่จำเลยที่ 2 เพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองจึงไม่มีผล โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกโฉนดที่ดินพิพาทไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิที่เกิดจากที่ดินส่วนที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองและการเข้าเฉลี่ยทรัพย์: กรณีหนี้ขาดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
คดีแพ่งเรื่องอื่นที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคดีที่ผู้ร้องฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อนและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละสองบาทสิบห้าสตางค์ แต่ผู้ร้องมีคำขอมาท้ายฟ้องด้วยว่าหากจำเลยไม่ชำระเงินให้ผู้ร้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลย โดยการขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องแสดงว่าผู้ร้องประสงค์จะบังคับคดีเอาจากที่ดินอันเป็นทรัพย์จำนองดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องบังคับจำนองด้วย ดังนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีตามคำขอท้ายฟ้อง และผู้ร้องนำยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ อันเป็นการบังคับจำนองแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 733 ซึ่งบัญญัติให้ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ขาดจำนวน เมื่อสัญญาจำนองไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดในเงินที่ขาดจำนวน เมื่อสัญญาจำนองไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวน จึงไม่มีหนี้อันเป็นมูลให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: ผู้เสียหายจากการกระทำละเมิดคือสหกรณ์ฯ มิใช่เจ้าของที่ดินจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ดิน 29 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา เป็นของโจทก์ โจทก์ได้นำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ ส. สามีโจทก์ต่อสหกรณ์การเกษตร ต่อมาสหกรณ์การเกษตรได้ยื่นฟ้อง ส. เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ มิฉะนั้นให้บังคับที่ดินที่จำนองและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว จำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรได้ซื้อที่ดินในฐานะส่วนตัวแล้วใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยปราศจากอำนาจที่สหกรณ์การเกษตรให้จำเลยเข้าประมูลสู้ราคาหรือซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดและทำนิติกรรมรับโอนที่ดินแทนสหกรณ์การเกษตร แต่จำเลยกลับกระทำขัดต่อหนังสือมอบอำนาจที่ทางสหกรณ์การเกษตรให้อำนาจไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและผิดต่อข้อบังคับของสหกรณ์การเกษตร ส่อไปในทางทุจริต และต่อมาจำเลยและบริวารได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงดังกล่าวอีกด้วย ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินเป็นของสหกรณ์การเกษตร และห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดินต่อไป ซึ่งหากจำเลยได้ทำการละเมิดจริง ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือถูกโต้แย้งสิทธิคือสหกรณ์การเกษตร มิใช่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4952/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ผู้อื่น: ฟ้องบังคับจำนองไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลยกฟ้องได้
การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกัน แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้อง แต่จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองหลังขายทอดตลาด: จำเลยมีสิทธิไถ่ถอน/โจทก์บังคับคดีได้ แต่ไม่ใช่ฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้อง พ. และนาวาอากาศตรี พ. ให้ชำระหนี้และบังคับจำนองต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 16255/2536 คดีถึงที่สุดแล้วจำเลยเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดในคดีหมายเลขแดงที่ 5957/2537 ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ พ. นำยึดออกขายทอดตลาด ดังนี้ โจทก์ผู้ทรงสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ แต่หาทำให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ ฐานะของจำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 12 หมวด 4 มิใช่ว่าโจทก์จะอาศัยความเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 16255/2536 ของศาลชั้นต้น ติดตามบังคับแก่ทรัพย์สินนั้นได้ทันที จำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ทั้งประเด็นแห่งคดีเป็นคนละอย่างกัน กรณีหาใช่เรื่องการสืบสิทธิที่จะถือว่าเป็นเรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 16255/2536 ของศาลชั้นต้น ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นอื่นที่ยังมิได้วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับจำนองโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ: สิทธิของตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 806
การที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ที่ 2 ได้รับจำนองที่ดินจากจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยกู้ยืมไปจากโจทก์ที่ 2 เป็นการกระทำแทนโจทก์ที่ 2 แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับจำนองเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำการแทนโจทก์ที่ 2 ก็เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 2 ตัวการซึ่งยังไม่เปิดเผยชื่อแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาจำนองซึ่งโจทก์ที่ 1 ได้ทำไว้แทนตน ซึ่งโจทก์ที่ 2 มีสิทธิกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 และเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่ง ที่การตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้การตั้งตัวแทนของโจทก์ที่ 2 เพื่อทำสัญญาจำนองกับจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือดังที่จำเลยฎีกา แต่เมื่อสิทธิของโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาจำนองเป็นสิทธิที่มีอยู่ในฐานะตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองโดยสุจริตของผู้รับจำนอง vs สิทธิครอบครองของผู้ไม่จดทะเบียน การคุ้มครองผู้ได้สิทธิโดยเสียค่าตอบแทน
โจทก์รับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เมื่อโจทก์เสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาย่อมไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองได้เต็มสัญญา ผู้ร้องจะขอกันส่วนของตนจากเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินจากการบังคับจำนองหาได้ไม่
of 95