พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9312/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสารสำเนา และการชำระหนี้ที่ยังไม่ครบถ้วน
แม้เอกสารหมาย จ.19 เป็นเพียงสำเนาเอกสาร แต่เมื่อโจทก์ทั้งห้าซึ่งถูกจำเลยอ้างเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานยัน มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์ทั้งห้าจึงต้องห้ามไม่ให้คัดค้านการมีอยู่หรือความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 เอกสารหมาย จ.19 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเงินค่าหุ้น: เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระจากเงินอายัดก่อนเจ้าหนี้รายอื่น แม้มีการจำนำหุ้น
เงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องได้ชำระแก่ผู้ร้องไปแล้วนั้น แม้ว่าจะเป็นเงินทุนของผู้ร้องแต่จำเลยที่ 1 ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ และไม่อยู่ในข้อยกเว้นในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285,286 แม้จำเลยที่ 1จะได้จำนำหุ้นไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้กับผู้ร้อง ผู้ร้องก็มีสิทธิเพียงได้รับชำระจากเงินค่าหุ้นที่ถูกอายัดไว้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นเท่านั้น จะขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและคำสั่งให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนสหกรณ์ และการจำนำหุ้นเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้
ผู้จัดการสหกรณ์ผู้ร้องซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ผู้ร้องให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องได้ มีฐานะเป็นผู้แทนสหกรณ์ผู้ร้อง มีอำนาจทำการแทนผู้ร้องได้ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ผู้ร้องหาจำเป็นต้องทำใบมอบอำนาจอีกขั้นหนึ่งไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2451-2452/2517) การที่จำเลยนำหุ้นสหกรณ์ไปจำนำแก่ผู้ร้องภายหลังจากจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลพิพากษาตามยอมแล้วเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องได้ร่วมกันจำนำหุ้นทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ในเงินค่าหุ้นดังกล่าวก่อนโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินและหลักประกัน: การกู้ยืมเงินโดยมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักประกัน ไม่ใช่การจำนำหุ้น
จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ซื้อหุ้นของโจทก์และทำสัญญากู้ยืมเงิน จากโจทก์มาชำระค่าหุ้น โดยจำเลยนำตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ยึดไว้เป็น หลักประกันในการกู้ยืมเงิน ดังกล่าวเท่านั้น กรณีมิใช่โจทก์รับจำนำหุ้นของตนไว้เป็นประกัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หาตกเป็นโมฆะไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามสัญญากู้ยืมเงินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้นของตนเองและรับจำนำหุ้นเป็นประกัน ขัดต่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์
โจทก์จัดการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยเป็นตัวแทนและนายหน้าของลูกค้า โดยโจทก์ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็น สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการแทนโจทก์หาใช่เป็นการจัด ให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขาย หลักทรัพย์หรือให้บริการที่เกี่ยวกับการจัดให้มีตลาดหรือ สถานที่ดังกล่าวตามความหมายของ พระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 มาตรา 3 ไม่ โจทก์ย่อมกระทำการดังกล่าวได้โดยชอบ
การที่โจทก์ให้จำเลยกู้เงินไปเพื่อซื้อหุ้นของบริษัท โจทก์เองโดยโจทก์ ยึดถือหุ้นนั้นไว้เป็นจำนำหรือเป็นประกัน เงินที่โจทก์ทดรองจ่ายซื้อหุ้น หรือโจทก์ให้จำเลยกู้เงิน จากบริษัทในเครือของบริษัทโจทก์โดยเงิน ที่กู้เป็นเงิน ของบริษัทโจทก์ให้บริษัทในเครือดังกล่าวกู้ไปให้จำเลย กู้ อีกต่อหนึ่ง ทั้งหุ้นที่จำเลยจำนำแก่บริษัทในเครือ ดังกล่าว โจทก์เป็น ผู้ยึดถือไว้เอง พฤติการณ์เช่นนี้ถือ ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของ บริษัทโจทก์และโจทก์รับจำนำหุ้นของตนเองเป็นประกัน เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1143 ทั้งต่อมา พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 20(3) บัญญัติห้ามมิให้บริษัทเงินทุน รับหุ้นของ บริษัทเงินทุนนั้นเองเป็นประกันหรือรับหุ้นของบริษัทเงินทุน จากบริษัทเงินทุนอื่นเป็นประกันอีกด้วย การกระทำของ โจทก์จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่มีผลบังคับ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้ จำเลยชดใช้เงินที่โจทก์ฟ้องมิได้
การที่โจทก์ให้จำเลยกู้เงินไปเพื่อซื้อหุ้นของบริษัท โจทก์เองโดยโจทก์ ยึดถือหุ้นนั้นไว้เป็นจำนำหรือเป็นประกัน เงินที่โจทก์ทดรองจ่ายซื้อหุ้น หรือโจทก์ให้จำเลยกู้เงิน จากบริษัทในเครือของบริษัทโจทก์โดยเงิน ที่กู้เป็นเงิน ของบริษัทโจทก์ให้บริษัทในเครือดังกล่าวกู้ไปให้จำเลย กู้ อีกต่อหนึ่ง ทั้งหุ้นที่จำเลยจำนำแก่บริษัทในเครือ ดังกล่าว โจทก์เป็น ผู้ยึดถือไว้เอง พฤติการณ์เช่นนี้ถือ ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของ บริษัทโจทก์และโจทก์รับจำนำหุ้นของตนเองเป็นประกัน เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1143 ทั้งต่อมา พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 20(3) บัญญัติห้ามมิให้บริษัทเงินทุน รับหุ้นของ บริษัทเงินทุนนั้นเองเป็นประกันหรือรับหุ้นของบริษัทเงินทุน จากบริษัทเงินทุนอื่นเป็นประกันอีกด้วย การกระทำของ โจทก์จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่มีผลบังคับ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้ จำเลยชดใช้เงินที่โจทก์ฟ้องมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้นของตนเองและจำนำหุ้นเป็นประกัน ถือเป็นโมฆะตามกฎหมาย
บริษัทโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของโจทก์เอง และจำเลยต้องจำนำหุ้นให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันเงินที่กู้ยืมไป ดังนี้ เป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1143 ที่ห้ามมิให้บริษัทจำกัดรับจำนำหุ้นของตนเองทั้งต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ มาตรา 20(3) ที่บัญญัติห้ามมิให้บริษัทเงินทุนรับหุ้นของบริษัทเงินทุนนั้นเป็นประกันหรือรับหุ้นของบริษัทเงินทุนจากบริษัทเงินทุนอื่นเป็นประกันอีกด้วย การกระทำของโจทก์ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 และเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 ไม่มีผลบังคับ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินตามที่ฟ้องไม่ได้(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของตัวแทนที่ทดรองจ่ายเงินซื้อหุ้นให้ลูกค้าและรับจำนำหุ้นเป็นประกัน ถือเป็นโมฆะตามกฎหมาย
โจทก์เป็นตัวแทนของลูกค้าในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยโจทก์ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการแทนโจทก์ ถือไม่ได้ว่าการดำเนินงานของโจทก์เป็นการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงหาใช่เป็นการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือการให้บริการที่เกี่ยวกับการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่ดังกล่าวตามความหมายในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ไม่ ดังนั้น การรับเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป โจทก์ย่อมกระทำได้โดยชอบ
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์ และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้ จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์ และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้ จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทดรองจ่ายซื้อหุ้นพร้อมจำนำหุ้นประกันเข้าข่ายผิดกฎหมายและโมฆะ
โจทก์เป็นตัวแทนของลูกค้าในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยโจทก์ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการแทนโจทก์ ถือไม่ได้ว่าการดำเนินงานของโจทก์เป็นการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงหาใช่เป็นการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือการให้บริการที่เกี่ยวกับการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่ดังกล่าวตามความหมายในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ไม่ ดังนั้น การรับเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยทั่วๆ ไป โจทก์ย่อมกระทำได้โดยชอบ
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ ผู้จำนำต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามมูลค่าหุ้น หากขายได้เงินน้อยกว่าก็ต้องชดใช้ส่วนต่าง
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 1, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 และที่ 7 ได้จำนำหุ้นซึ่งจำเลยแต่ละคนเป็นผู้ถือเพื่อเป็นการประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 สัญญาจำนำระบุว่าผู้จำนำยอมรับผิดต่อผู้รับจำนำในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และถ้าขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมชดใช้เงินที่ยังขาดอีกจนครบนั้น ต้องแปลว่าจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เต็มมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนนำมาจำนำ หากภายหลังขายได้เงินสุทธิน้อยกว่ามูลค่าหุ้นแล้ว ผู้จำนำยอมรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้น
ปัญหาว่าการขายทอดตลาดหุ้นที่จำนำและโอนหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการขายทอดตลาดเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าพ.ศ.2474 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น จำเลยมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าการขายทอดตลาดหุ้นที่จำนำและโอนหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการขายทอดตลาดเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าพ.ศ.2474 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น จำเลยมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกฯ ตาม ม.17 ชอบด้วยกฎหมาย, นิติกรรมอำพราง, การจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้, ศาลต้องสืบพยานเพิ่มเติม
ธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักรเป็นกฎหมายสูงสุด บทกฎหมายใดที่ขัดกับธรรมนูญการปกครองราชาอาณาจักรย่อมจะนำมาใช้บังคับไม่ได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ใดจะอ้างว่า คำสั่งดังกล่าวขัดต่อกฎหมายนั้น ย่อมฟังไม่ได้
การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่นั้น อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่ และมาตรา 17 มิได้ระบุให้ใช้มาตรการเช่นนั้นแก่ผู้กระทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะ แต่ให้ใช่เพื่อระงับหรือปราบปรามการกระทำที่เป็นการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้วแต่ผลแห่งการกระทำยังอยู่ ผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วยย่อมอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 494/2510)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินบริษัทบางกอกกระสอบ จำกัด โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้กู้ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของร่วม ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้กู้เงินรายนี้ โดยได้สมรู้ร่วมกันกับบริษัทเจ้าหนี้ปกปิดอำพรางนิติกรรมอันแท้จริงไว้ โดยให้เอาชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ไว้เป็นพิธี และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลย การทำสัญญากู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเจ้าหนี้นั้น ก็เป็นการแสดงเจตนาลวงไว้เท่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้กันอยู่แล้วเมื่อนิติกรรมทำขึ้นโดยเจตนาลวง จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118
(ข้อกฎหมายวรรคนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23,24,25,26,27,28/2512)
สัญญาจำนำไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ ลูกหนี้ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ว่า ได้มีการมอบใบหุ้นให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นการจำนำ
การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่นั้น อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่ และมาตรา 17 มิได้ระบุให้ใช้มาตรการเช่นนั้นแก่ผู้กระทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะ แต่ให้ใช่เพื่อระงับหรือปราบปรามการกระทำที่เป็นการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้วแต่ผลแห่งการกระทำยังอยู่ ผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วยย่อมอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 494/2510)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินบริษัทบางกอกกระสอบ จำกัด โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้กู้ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของร่วม ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้กู้เงินรายนี้ โดยได้สมรู้ร่วมกันกับบริษัทเจ้าหนี้ปกปิดอำพรางนิติกรรมอันแท้จริงไว้ โดยให้เอาชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ไว้เป็นพิธี และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลย การทำสัญญากู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเจ้าหนี้นั้น ก็เป็นการแสดงเจตนาลวงไว้เท่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้กันอยู่แล้วเมื่อนิติกรรมทำขึ้นโดยเจตนาลวง จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118
(ข้อกฎหมายวรรคนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23,24,25,26,27,28/2512)
สัญญาจำนำไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ ลูกหนี้ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ว่า ได้มีการมอบใบหุ้นให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นการจำนำ