พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายในสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมที่ไม่ใช่รายจ่ายตามปกติและจำเป็น และเงินได้จากผู้ร่วมสัมปทาน ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี
เงินรายจ่ายที่โจทก์จ่ายให้บริษัท ย. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และปี 2532 โดยคิดเป็นร้อยละของรายจ่ายหลักที่ใช้ในการผลิตบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายในการสำรวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์และบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายทางตรง เป็นการกำหนดขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงรายจ่ายที่เกิดขึ้นของบริษัท ย. จึงมิใช่รายจ่ายตามปกติและจำเป็นในการปิโตรเลียมของโจทก์ที่โจทก์จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ตาม มาตรา 65 ฉ แห่ง พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
แต่เงินรายจ่ายที่บริษัท ซ. และบริษัท ม. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ต้องเฉลี่ยจ่ายให้กับบริษัท ย. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และปี 2532 โดยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้จ่ายต่อให้แก่บริษัท ย. เป็นการที่โจทก์ได้รับเงินได้จากบริษัทผู้ร่วมสัมปทานซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันในส่วนที่เกินจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้จ่ายคืนให้บริษัท ซ. และบริษัท ย. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ ถือเป็นเงินได้อื่นที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 22 (5) พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่โจทก์ต้องนำมารวมในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2549)
แต่เงินรายจ่ายที่บริษัท ซ. และบริษัท ม. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ต้องเฉลี่ยจ่ายให้กับบริษัท ย. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และปี 2532 โดยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้จ่ายต่อให้แก่บริษัท ย. เป็นการที่โจทก์ได้รับเงินได้จากบริษัทผู้ร่วมสัมปทานซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันในส่วนที่เกินจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้จ่ายคืนให้บริษัท ซ. และบริษัท ย. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ ถือเป็นเงินได้อื่นที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 22 (5) พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่โจทก์ต้องนำมารวมในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2549)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหยุดงานชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นสำคัญจากการประกอบกิจการจริง มิใช่ปัญหาการบริหารจัดการภายใน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง เป็นกฎหมายที่คุ้มครองนายจ้างที่ประสบปัญหามีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว แต่นายจ้างยังมีความประสงค์จะประกอบกิจการของตนอีกต่อไป เพื่อเป็นการบรรเทาค่าใช้จ่ายจึงให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในระหว่างการหยุดงานเพียงครึ่งเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองลูกจ้างด้วย สำหรับความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอางจะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่ว ๆ ไป เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบแก่กิจการมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร
โจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 คน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นการคาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้าง และบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้
โจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 คน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นการคาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้าง และบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สายลับล่อซื้อยาเสพติดชอบด้วยกฎหมาย หากจำเป็นต่อการพิสูจน์ความผิดที่ได้กระทำไปแล้ว
การใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรในการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้วตามอำนาจในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (10) ชอบที่เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมจำเลยพร้อมพยานหลักฐาน การใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยจึงเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความผิดของจำเลย มิใช่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจขยายได้หากมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อความยุติธรรม
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 26 ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 มาอนุโลมใช้ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้ เมื่อมาตรา 26 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีแรงงานตามมาตรา 54จะต้องมีเหตุสุดวิสัยหรือมีพฤติการณ์พิเศษ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่อาจคัดสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและคำให้การพยานเพื่อประกอบในการเขียนอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่สมควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8934/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาวางเงินคดีแรงงาน: ศาลฎีกาวินิจฉัย พ.ร.บ.แรงงานฯ 2522 มาตรา 26 ใช้หลัก 'จำเป็น-ประโยชน์แห่งความยุติธรรม' ไม่ต้องมีเหตุพิเศษ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26 ได้บัญญัติเรื่องขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลแรงงานในการฟ้องคดีไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานในการฟ้องคดีที่ศาลแรงงานกลางกำหนดไว้แล้วว่าจะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โดยไม่จำต้องมีพฤติการณ์พิเศษดังเช่นบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในคดีนี้ว่าตามคำร้องของโจทก์ทั้งสามไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาวางเงินได้ เท่ากับศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าคดียังไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลาการวางเงินให้แก่โจทก์ทั้งสามนั่นเอง โจทก์ทั้งสามอ้างว่าประกอบกิจการขาดทุนไม่มีเงินทุนหมุนเวียนและไม่มีรายได้ใด ๆ ที่จะนำมาวางต่อศาลในการฟ้องคดี แต่กำลังดำเนินการขอเงินประกันคืนจากนายทะเบียนจัดหางานกลางและมีทางชนะคดีได้ เช่นนี้เป็นความบกพร่องของฝ่ายโจทก์ทั้งสามเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานกลางจะพึงขยายระยะเวลาการวางเงินให้แก่โจทก์ทั้งสาม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานในการฟ้องคดีที่ศาลแรงงานกลางกำหนดไว้แล้วว่าจะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โดยไม่จำต้องมีพฤติการณ์พิเศษดังเช่นบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในคดีนี้ว่าตามคำร้องของโจทก์ทั้งสามไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาวางเงินได้ เท่ากับศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าคดียังไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลาการวางเงินให้แก่โจทก์ทั้งสามนั่นเอง โจทก์ทั้งสามอ้างว่าประกอบกิจการขาดทุนไม่มีเงินทุนหมุนเวียนและไม่มีรายได้ใด ๆ ที่จะนำมาวางต่อศาลในการฟ้องคดี แต่กำลังดำเนินการขอเงินประกันคืนจากนายทะเบียนจัดหางานกลางและมีทางชนะคดีได้ เช่นนี้เป็นความบกพร่องของฝ่ายโจทก์ทั้งสามเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานกลางจะพึงขยายระยะเวลาการวางเงินให้แก่โจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478-6487/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต้องเกิดจากความจำเป็นที่แท้จริงในการใช้พื้นที่ก่อสร้าง หากไม่มีความจำเป็น สัญญาเช่าก็ยังคงมีผลผูกพัน
ตามสัญญาเช่าและสัญญาเช่าช่วง สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์และสิทธิบอกเลิกการเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยขึ้นอยู่กับความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดบอกเลิกสัญญาเช่าบางส่วนแก่โจทก์โดยอ้างมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบให้ผู้ร้องสอดดำเนินการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น-ลงเพิ่มเติมสำหรับทางด่วนเฉลิมมหานคร มติดังกล่าวเป็นการอนุมัติเพียงหลักและวิธีปฏิบัติเท่านั้นยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์หรือไม่ การที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตามสัญญาเช่า จึงหมายความว่าในขณะบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์ในการก่อสร้างจะขาดพื้นที่ส่วนนี้ไม่ได้ แต่ปรากฏว่าตั้งแต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ผู้ร้องสอดจัดทำโครงการดังกล่าวจนถึงวันที่ผู้ร้องสอดบอกเลิกสัญญาเช่าบางส่วนแก่โจทก์ผู้ร้องสอดและผู้ดำเนินโครงการของผู้ร้องสอดไม่ได้จัดทำแบบที่มีรายละเอียดจนระบุได้ว่า ผู้ร้องสอดจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์ในการก่อสร้าง จะขาดเสียไม่ได้ ทั้งยังปรากฏว่าเสาของทางขึ้น-ลงเพิ่มเติมตามโครงการดังกล่าวก็ไม่ได้ใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์และจนถึงปัจจุบันทางขึ้น-ลงนั้นสร้างเสร็จจนเปิดใช้แล้ว ก็ไม่ต้องใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์ในการก่อสร้างจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์ในส่วนที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลทางธุรกิจและความจำเป็นในการลดกำลังคน
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่ง การเลิกจ้างหรือไม่ และมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ เป็นสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อน หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงอยู่ต่อไป โดยหวังว่า กิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่ย่อม เป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้วกรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ระเบียบข้อบังคับกำหนดว่า จำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไปโดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ซึ่งหมายความว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย วันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงานนั้น เป็นกรณีที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรแม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่ง อธิบดีมอบหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิ คิดเงินเพิ่มตามข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีมรดก: ศาลอนุญาตได้หากจำเป็นต่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่สำคัญ
ศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้ร้องมิใช่บุตรของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ร้องฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้คัดค้านถึงแก่กรรมผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดี ศาลฎีกาอนุญาตให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้คัดค้านเสียจากสารบบความ แต่ยังคงวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ต่อไป
คดีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2535 เป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันโดยศาลชั้นต้นนัดไต่สวนไว้วันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 และเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่ 17 ธันวาคม 2535 แล้วเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่ 18 มกราคม 2536ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2535 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันอันเป็นการชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสองและวรรคสาม ต่อมาศาลชั้นต้นนัดและไต่สวนพยานผู้คัดค้านในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2536 ในวันเดียวกันนี้ แต่ก่อนไต่สวนผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 หนึ่งอันดับ คือทะเบียนบ้านซึ่งแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย ผู้ร้องมิได้แถลงคัดค้าน แต่กลับยอมรับด้วยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย จึงไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบหรือทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบประกอบกับคดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ด้วยมิใช่มีแต่เพียงประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่และมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติมนี้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลชั้นต้นใช้คำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2535 เป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันโดยศาลชั้นต้นนัดไต่สวนไว้วันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 และเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่ 17 ธันวาคม 2535 แล้วเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่ 18 มกราคม 2536ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2535 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันอันเป็นการชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสองและวรรคสาม ต่อมาศาลชั้นต้นนัดและไต่สวนพยานผู้คัดค้านในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2536 ในวันเดียวกันนี้ แต่ก่อนไต่สวนผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 หนึ่งอันดับ คือทะเบียนบ้านซึ่งแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย ผู้ร้องมิได้แถลงคัดค้าน แต่กลับยอมรับด้วยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย จึงไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบหรือทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบประกอบกับคดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ด้วยมิใช่มีแต่เพียงประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่และมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติมนี้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลชั้นต้นใช้คำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายจำเป็นในการรักษาพยาบาล และค่าขาดประโยชน์จากการดูแลผู้ป่วย
บิดามารดาโจทก์เดินทางไปเฝ้าดูแลโจทก์ขณะที่โจทก์พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เนื่องจากโจทก์ช่วยตัวเองไม่ได้ แพทย์ไม่ให้เคลื่อนไหวเพราะหากหกล้มจะเป็นอัมพาต จำเป็นต้องมีผู้ดูแล ค่าเดินทางและค่าที่พักที่บิดามารดาโจทก์ใช้จ่ายไป จึงเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการรักษาพยาบาลโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้
ค่าขาดประโยชน์ที่บิดามารดาโจทก์ไม่ได้ประกอบการงานในระหว่างที่เฝ้าดูแลรักษาโจทก์นั้นมิใช่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงเรียกร้องได้จากผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ตามป.พ.พ. มาตรา 444, 445 และ 446
โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอ จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ค่าขาดประโยชน์ที่บิดามารดาโจทก์ไม่ได้ประกอบการงานในระหว่างที่เฝ้าดูแลรักษาโจทก์นั้นมิใช่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงเรียกร้องได้จากผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ตามป.พ.พ. มาตรา 444, 445 และ 446
โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอ จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5076/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้และการพิจารณาใหม่คดีแรงงาน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานกลางจำเลยมอบอำนาจให้ พ. มาชี้แจงข้อเท็จจริงแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ แต่ พ. มีความจำเป็นต้องไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจำเลยจึงมอบให้ ส.ถือหนังสือมอบอำนาจและหนังสือของพ.ที่ขอเลื่อนการให้การมายื่นต่อศาลแรงงานกลาง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยได้แถลงให้ศาลทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่ดำเนินการไต่สวนเพื่อจะได้ทราบว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นจริงหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41