คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำเลยทราบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดสืบพยานโดยปิดประกาศที่ศาลชอบด้วยกฎหมาย หากการส่งหมายด้วยวิธีปกติไม่สำเร็จ และจำเลยทราบวันนัด
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าศาลชั้นต้นไม่ได้ส่งหมายนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบ แต่ปิดประกาศที่หน้าศาลแทนการส่งหมายตามปกติ จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ เป็นกรณีที่อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 77 อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
ในวันที่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งให้ส่งประเด็นคืนศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปศาล จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดฟังประเด็นกลับ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งวันนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่เมื่อไม่มีการสืบพยานประเด็นโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะฟังประเด็นกลับหรือไม่ ไม่เป็นผล เสียหายแก่จำเลยที่ 2 เพราะหลังจากนั้นศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ทราบอีก จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่คู่ความที่เสียหายอันจะยกการพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นว่ากล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยวิธีปิดหมาย เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีธรรมดาไม่สามารถกระทำได้ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งโดยวิธีอื่นแทน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 เมื่อศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 2 ทราบที่หน้าศาลตลอดมาจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 2 จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวมีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8548/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและพยายามส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 และ 4 จำเลยทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุขแล้ว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97ฯ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 6 (1) และมาตรา 11 (4) แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2539 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวจึงมีผลบังคับใช้
คำฟ้องของโจทก์ในข้อ ก. กล่าวว่า จำเลยมีไว้เพื่อขายซึ่งเฟนเตอมีนอันเป็นวัถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97ฯ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว และจำเลยได้พยายามนำเฟนเตอมีนดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักรไทย เพื่อไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลีโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการบรรยายฟ้องที่ยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว แม้ท้ายฟ้องหรือในการพิจารณาโจทก์มิได้นำส่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าว ก็หาทำให้การฟ้องและการดำเนินคดีของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายการวางเงินค่าธรรมเนียมศาล เริ่มเมื่อจำเลยทราบคำสั่ง ไม่ใช่เมื่อศาลมีคำสั่ง
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา229 นั้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ อันจะเป็นที่สุดตามป.วิ.พ.มาตรา 236 และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลย ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
การขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไป แต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538หลังจากวันที่ 17 กรกฎาคม 2538 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก 7 วัน นับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 กรกฎาคม 2538จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบ และตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้ จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่ 21กรกฎาคม 2538 ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่ 28 กรกฎาคม2538 เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่ 25กรกฎาคม 2538 จึงยังไม่พ้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยทราบถึงการฟ้องคดีแล้ว
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 และให้แก่จำเลยที่ 2 โดย น.รับแทนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 แต่ปรากฏว่าวันที่17 กรกฎาคม 2534 จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าว และต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี ไม่ทำให้การดำเนินคดีเป็นโมฆะ หากจำเลยทราบและต่อสู้คดีได้
การส่งคำคู่ความ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 25,31ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคแรก นอกจากเป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบในการส่งคำคู่ความและเอกสารนั้น แล้วยังเป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นจะต้องถึงผู้รับโดยถูกต้องจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้เช่นนั้น เมื่อได้ความว่าหลังจากเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว จำเลยได้แต่งทนายความมาต่อสู้คดี และดำเนินกระบวนพิจารณา จนมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมแล้วแสดงว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยจำเลยได้รับทราบและมาตามนัดของศาลแล้ว แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวจะมีบุคคลอายุไม่เกินยี่สิบปี ซึ่งทำงานเป็นพนักงานของจำเลยเป็นผู้รับไว้ ก็หาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ไม่ ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยมายื่นคำร้องภายหลังศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาแล้วซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: จำเลยต้องทราบวันนัดจริง แม้การส่งหมายชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะบุคคลที่ลงนามรับหมายแทนทนายจำเลยมิได้อยู่หรือทำงานในสำนักงานของทนายจำเลย ขอให้ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาใหม่แม้จะปรากฏว่าการส่งหมายนัดได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ตามแต่ในรายงานการเดินหมายระบุว่า นายกล้า อายุ 40 ปี เต็มใจรับหมายไว้แทนเพราะอยู่ที่ทำงานเดียวกัน ซึ่งถ้าหากได้ความตามคำร้องของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่า จำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะต้องไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: จำเลยทราบว่าทรัพย์เป็นของร้ายซุกซ่อนอยู่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้บอกให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อของกลางที่ถูกยึด ในครั้งแรกแล้วนำไปขายนำเงินมาแบ่ง และจำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้เดินนำจำเลยที่ 2 เข้าไปในป่าละเมาะบริเวณที่ของกลางซุกซ่อนอยู่และก้มลง หยิบเฟืองเกียร์ของกลางจึงถูกจับกุม พฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยที่ 1ย่อม ทราบมาก่อนว่า ของกลางเป็นของร้ายที่ซุกซ่อนไว้ จำเลยที่ 1มีความผิดฐานรับของโจร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยทราบสถานะป่าสงวนแห่งชาติ แม้ไม่มีหลักฐานประกาศ, สุจริตไม่มีผล, เจตนาผิดมี
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงการปิดประกาศกฎกระทรวง มีหลักป้ายหรือเครื่องหมายแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ไม่ได้หมายความว่าทางราชการไม่ได้เคยดำเนินการดังกล่าว เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็คงไม่รู้ว่าบริเวณนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยรู้ข้อเท็จจริงนั้นอยู่แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงการที่ทางราชการได้ปิดประกาศดังกล่าว ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียไป จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความสุจริตทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยไม่รู้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และแม้จะไม่ได้แจ้งหรือสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียก่อนดำเนินคดี ก็จะถือว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะกระทำผิดทางอาญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดสืบพยานเมื่อจำเลยทราบวันชี้สองสถานแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องแจ้งวันนัดสืบพยานซ้ำ
จำเลยทราบวันนัดชี้สองสถานโดยชอบแล้ว แต่ถึงวันนัดจำเลยไม่มาและศาลได้ชี้สองสถานไปโดยกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ด้วยการกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2527บัญญัติไว้ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายที่ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานทราบแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มาในวันนัดสืบพยาน ที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับทราบกำหนดนัดพิจารณาคดี: การเกษียนสั่งในคำให้การและหมายนัด ถือว่าจำเลยทราบวันนัด แม้จะเข้าใจผิด
ศาลชั้นต้นได้เกษียนสั่งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในคำให้การจำเลยในวันที่จำเลยยื่นคำให้การ ต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดนัดวันสืบพยานโจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยนำคำให้การไปยื่นต่อศาล จำเลยได้รับหมายนัด และได้ทราบกำหนดนัดวันสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว การที่จำเลยเข้าใจหรือจำเวลานัดสืบพยานโจทก์ผิดพลาดไปเพราะความเข้าใจผิดหรือหลงลืมของจำเลยเอง ไม่มีเหตุสมควรที่จะขอให้ พิจารณาใหม่และไม่จำต้องไต่สวนคำร้อง ของ จำเลย
of 3