คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำเลยเสียชีวิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดียาเสพติด: รถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะ และกรณีจำเลยเสียชีวิต
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบรถยนต์กระบะของกลางของจำเลยที่ 1 ทั้งที่ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 1 เพียงแต่ใช้รถยนต์กระบะเป็นยานพาหนะเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ มิได้ใช้ในการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรง และพิพากษาให้ริบรถยนต์กระบะของกลางของจำเลยที่ 2 ทั้งที่จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายแล้วและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ระงับลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 38 จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ฝ่ายจำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: ผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของการอ่านคำพิพากษา
จำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องขอให้หมายเรียกทายาทเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อพิจารณาสั่ง แต่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 จนกระทั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วส่งมาให้ศาลชั้นต้นอ่านจึงถือไม่ได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทราบเรื่องจำเลยมรณะอันจะทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไปโดยทราบแล้วว่าจำเลยมรณะและยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่ทายาทเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแทนจำเลยที่เสียชีวิต ไม่ถือเป็นการฟ้องทายาทโดยตรง ศาลไม่อาจบังคับชำระหนี้แทนได้
การที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องนางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 นางสาว ร. เพียงแต่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้นางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนฟ้อง และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขอให้พิจารณาใหม่นั้น หากได้ความตามคำร้องซึ่งอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนถูกฟ้อง ก็มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัวและศาลชั้นต้นต้องเริ่มต้นดำเนินกระบวนพิจารณาขึ้นใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก็เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษา ศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ผู้ร้องจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้นำเงิน ค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องมานั้นไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควร หยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของผู้ร้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสภาพบุคคลที่อยู่ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังจำเลยเสียชีวิต ทายาทรับผิดชอบหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถส่งมอบให้ได้ ให้จำเลยใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท ดังนี้ เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการบังคับคดีหน้าที่และความรับผิด ย่อมตกทอดแก่ทายาทเพื่อให้การบังคับคดีเสร็จสิ้นไปเท่านั้น กรณีไม่ใช่เรื่องคดีค้างพิจารณาอันจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และ 44 เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินคดีโดยแต่งตั้งทนายความต่อสู้คดีมาแต่ต้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่อ้างว่าผิดระเบียบในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกันเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนวันนัด ศาลไม่สามารถปรับผู้ประกันได้
เมื่อ จำเลย ตาย ตั้งแต่ ก่อน วันนัด พิจารณา คดี ของ ศาล ผู้ประกัน จำเลย จะ รู้ หรือไม่ รู้ ว่า จำเลย ตาย จริง หรือไม่ หรือ ผู้ประกัน จำเลย จะ ตั้งใจ หรือไม่ ตั้งใจ ที่ จะ นำ จำเลย มา ศาล ตาม นัด หรือไม่ ก็ ไม่มี ทาง ที่ ผู้ประกัน จำเลย จะ นำตัว จำเลย มา ส่ง ศาล ได้ การ ที่ ผู้ประกัน จำเลย มา ศาล ตาม นัด ใน เวลา ต่อมา จึง ไม่ใช่ ความผิด ของ ผู้ประกัน จำเลย ผู้ประกัน จำเลย จึง ไม่ผิด สัญญาประกัน ศาล ปรับ ผู้ประกัน จำเลย ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนที่หลังจำเลยเสียชีวิต: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่ง และศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
จำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปก่อน และทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 4 จริงหรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีเมื่อจำเลยเสียชีวิตระหว่างอุทธรณ์: ต้องมีผู้แทนจำเลยก่อนพิพากษา
ในกรณีที่จำเลยตายในระหว่างอุทธรณ์นั้น คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะและศาลจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42,43 ก่อน เมื่อศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาแล้วส่งมาให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังโดยมิได้สั่งคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกทายาทจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะเสียก่อน เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2)ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และผลกระทบต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา การพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามมาตรา 39(1) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 4 จากสารบบความแล้ว ศาลจะพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไม่ได้ การเรียกผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4 เฉพาะคดีส่วนแพ่งก็ไม่อาจนำข้อเท็จจริงในคำพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยอื่นมาฟังในคดีส่วนแพ่งของจำเลยที่ 4 ได้ การเรียกผู้จัดการมรดกของ จำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4 จึงไม่เป็นการสะดวก แก่การพิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นไม่เรียกทายาทจำเลยที่ 4 เข้ามา ในคดีจึงชอบแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอให้สั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เป็นคดีใหม่นั้น เป็น เรื่องที่โจทก์ต้องไปร้องขอต่อศาลชั้นต้น จะขอขึ้นมา ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทขอพิจารณาคดีใหม่หลังจำเลยเสียชีวิต แม้ศาลตัดสินแล้ว คดีไม่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยการขาดนัด หากจำเลยไม่มรณะก็ย่อมมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตามมาตรา 42 และ 43 นั้น หากคู่ความมรณะภายหลังศาลพิพากษาคดีแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาในระหว่างนี้หากคดียังไม่ถึงที่สุดทายาทของผู้มรณะก็ยังคงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้มิใช่ว่าเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะสิ้นไปด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลยหากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ ผู้ร้องคัดค้านในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า ศาลได้พิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ทราบ ต่อมาจำเลยถูกฆ่าตาย ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ซึ่งหากศาลได้ให้โอกาส ผู้ร้องในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทครึ่งหนึ่ง เป็นการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้อง อย่างไร หากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไป จากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
of 5