พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ปลอมและพิรุธ โจทก์ฟ้องผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยได้กู้เงินไปเพียง 30,000 บาท แต่โจทก์กลับไปกรอกข้อความในสัญญาเงินกู้เป็นเงินถึง 109,000 บาท โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม สัญญากู้จึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์ไม่อาจนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีได้ เมื่อเงินกู้จำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้มาแสดง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อข้อกำหนดขัดต่อกฎหมายโรงงาน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยเช่าโรงงานแล้วต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่าตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลงตามมาตรา 16 ดังนั้น เมื่อการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าข้อ 8 ที่กำหนดให้จำเลยดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการในนามบริษัท ก. ได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว สัญญาเช่าข้อ 8 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการบังคับคดี: คำนวณถึงวันขายทอดตลาด และจำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อบัญชีส่วนเฉลี่ยล่าช้า
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามหมายบังคับคดี โดยทำการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง รวมทั้งรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษา เป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278 กรณีต้องถือว่าเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดเป็นเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยถึงวันขายทอดตลาดเท่านั้น
เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยเสร็จล่าช้าไปหลายปีนับแต่วันขายทอดตลาดเพราะมีผู้เข้าสู้ราคาคัดค้านการขายทอดตลาด และโจทก์คัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ย จำเลยหาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยเสร็จล่าช้าไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์หลังจากวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองอีกต่อไป
เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยเสร็จล่าช้าไปหลายปีนับแต่วันขายทอดตลาดเพราะมีผู้เข้าสู้ราคาคัดค้านการขายทอดตลาด และโจทก์คัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ย จำเลยหาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยเสร็จล่าช้าไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์หลังจากวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฟ้องเคลือบคลุมทำให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็ตาม แต่ผู้ให้เช่าซื้อก็อาจปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อชำระเงินค่าเช่าซื้อครบแล้วอันเป็นส่วนสำคัญของสัญญาเช่าซื้อให้เป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อได้ หรือหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งจะต้องรับผิดต่อไป ดังนั้นในขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือไม่ ไม่ทำให้ความสมบูรณ์แห่งสัญญาเช่าซื้อเสียไป สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 เป็นต้นมา ตามคำฟ้องดังกล่าวสาระสำคัญอยู่ที่ว่าทำสัญญากันเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยทั้งสองรับผิด เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในระหว่างที่สัญญายังไม่เกิด จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมขัดกัน ไม่อาจเข้าใจได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงต้องถือว่าฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เคลือบคลุมด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 เป็นต้นมา ตามคำฟ้องดังกล่าวสาระสำคัญอยู่ที่ว่าทำสัญญากันเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยทั้งสองรับผิด เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในระหว่างที่สัญญายังไม่เกิด จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมขัดกัน ไม่อาจเข้าใจได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงต้องถือว่าฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เคลือบคลุมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6696/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้ - การรับโอนโดยไม่สุจริต - จำเลยไม่ต้องรับผิด
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจาก ส. โดยรู้ว่าเป็นเช็คที่จำเลยออกให้แก่ ส. ทนายความเพื่อให้ ส. ช่วยเหลือคดีที่จำเลยถูกฟ้องในความผิดฐานให้ที่พักแก่คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ในอันที่จำเลยจะต้องรับผิด โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่มีหลักฐานพิสูจน์การทำสัญญา จำเลยไม่ต้องรับผิด
สำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องไม่มีต้นฉบับไม่ใช่ต้นฉบับสูญหายดังที่โจทก์อ้างและสำเนาสัญญาค้ำประกันที่อ้างส่งศาลก็มิใช่ต้นฉบับที่เป็นคู่ฉบับลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันของเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่2ดังนี้เมื่อจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและสัญญาค้ำประกันที่ส่งศาลโจทก์จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในคดีนี้หาได้ไม่ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยที่2ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้ โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์จำเลยที่2ต่อสู้คดีปฏิเสธว่าจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์กล่าวอ้างลายมือชื่อของจำเลยที่2ในสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือชื่อจำเลยที่2ปลอมจำเลยที่2จึงต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเลยที่2เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ไปเท่าใดศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้เพราะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา129(2)แม้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมิได้กำหนดไว้ในตาราง1ถึง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ตามแต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคสอง ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่2ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารอื่นกับสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้องและสัญญาค้ำประกันไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักบานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ดังจำเลยที่2แถลงไว้ดังนี้ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา99แล้วและการกำหนดความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับคู่ความนั้นศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคแรกไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจักมีคำขอหรือไม่ก็ให้ศาลสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา167วรรคแรกคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้จำเลยที่2จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ถ้าหากเห็นเป็นการสมควรที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจากการบุกรุกและลักทรัพย์: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทน
ผู้ตายเจาะกำแพงอิฐบล๊อกแล้วมุดเข้าไปในโรงงานเพื่อลักทรัพย์ของจำเลยแต่ผู้ตายไปเหยียบแผ่นไม้สี่เหลี่ยมที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดจนถูกช๊อตจนถึงแก่ความตายถือว่าจำเลยได้กระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมได้รับนิรโทษกรรมไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา449วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน การสืบพยานหลักฐานไม่เพียงพอทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
ธ. พยานโจทก์มิได้เป็นประจักษ์พยานรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงิน ทั้งโจทก์มิได้นำผู้ที่รู้เห็นข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเบิกความต่อศาลที่โจทก์อ้างเหตุในชั้นฎีกาว่า พนักงานสาขาของโจทก์ผู้ที่รู้เห็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ ย่อมต้องบอกเล่าให้ ธ.ทราบโดยละเอียดแม้ธ. จะมารับตำแหน่งภายหลังการทำสัญญา ก็ย่อมทราบได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานของธนาคารนั้นเป็นเพียงการคาดเดาของโจทก์ที่อ้างขึ้นในชั้นฎีกาโดย ธ. มิได้เบิกความถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวเลยคำเบิกความของพยานโจทก์มีน้ำหนักน้อย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาปราศจากน้ำหนักฟังไม่ได้ว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินตามฟ้องเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ดังนี้ เมื่อโจทก์สืบไม่สมฟ้องและจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามในสัญญากู้เงินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเปิดบัญชีให้ผู้ไม่มีอำนาจ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อความกำหนดไว้ว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันต้องส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงถึงรายนามผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของโจทก์ที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้แก่กรณีที่ผู้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยเฉพาะข้อกำหนดดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้ทราบว่าผู้ที่โจทก์เข้าทำสัญญาด้วยเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจริงและผู้มาขอเปิดบัญชีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนห้างดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญของการเข้าทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ใช้เช็คของโจทก์และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาหากมีต่อไปได้แต่โจทก์กลับไม่เรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ส่งหนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คงเชื่อเพียงข้ออ้างของจำเลยที่ 2ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เพราะเหตุที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 มาด้วยเท่านั้น เป็นการที่โจทก์เข้าทำสัญญานั้นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และตราประทับนั้นเป็นตราของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ตลอดจนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จะมีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารซึ่งหากโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามที่โจทก์กำหนดไว้เอง โจทก์ก็จะทราบได้โดยง่ายว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ต้องเสียหายเพราะการที่ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีในนามของจำเลยที่ 1 ประกอบกับไม่ปรากฎว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมายื่นคำขอเปิดบัญชี จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อกับโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 มาก่อน ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้นำเงินที่เบิกจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตลอดจนไม่ปรากฎพฤติการณ์อื่นใดในขณะที่จำเลยที่ 2 มาขอเปิดบัญชีกับโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821กรณีจึงไม่อาจให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากศาลไม่อนุญาตขาย
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาว่าที่ดินพิพาทเป็นของบุตรผู้เยาว์ของจำเลย ซึ่งจะต้องขออนุญาตศาลก่อนจึงจะขายได้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตขายที่ดินแทนผู้เยาว์ภายหลังทำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์เพียงเดือนเศษไม่ปรากฏว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำเข้าไต่สวนในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยจงใจจะไม่ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ การที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์ จะถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบหาได้ไม่ จำเลยไม่ผิดสัญญาจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้แก่โจทก์