พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกไม้แปรรูปจากสภาพการติดตั้งในสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว
ไม้ของกลางที่รื้อมาจากบ้านของจำเลยบางส่วน เฉพาะส่วนที่เป็นฝาชั้นบนและชั้นล่างหนา 1 นิ้วบ้าง 5 กระเบียดบ้าง ไม่ได้ไสกบและตีตะปูไว้เพียงหัวท้าย สามารถรื้อออกจากตัวบ้านได้ง่าย ไม้ฝาชั้นล่างก็เพียงตีทาบไว้ระหว่างเสาไม้ ไม่มีลักษณะเป็นฝาที่ป้องกันอะไรได้ ส่วนที่เป็นไม้พื้นก็ไม่มีลักษณะเป็นไม้พื้นถาวร ไม่อยู่ภายในกรอบของตัวบ้านไม้ของกลางมีลักษณะเป็นไม้ที่อยู่ในสภาพพรางว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรืออยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างอันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่ว ๆ ไป จึงเป็นไม้แปรรูป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์และยักยอกทรัพย์: การครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายและจำเลยไปซื้อพริกด้วยกัน ขณะที่ผู้เสียหายกำลังก้มลงเลือกพริกอยู่ จำเลยบอกผู้เสียหายว่าเงินในกระเป๋าจะตกพร้อมกันหยิบเอาห่อพลาสติกซึ่งผู้เสียหายใส่เงิน 2,200 บาทจากกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหายมาถือไว้ ผู้เสียหายจึงบอกให้จำเลยถือไว้ให้ดีอย่าให้ตกหาย แล้วเลือกพริกต่อไปอีกประมาณ 10 นาที เมื่อเงยหน้าขึ้นปรากฏว่าจำเลยเอาเงินของผู้เสียหายหลบหนีไปเสียแล้ว เช่นนี้ การครอบครองเงินจำนวนนี้ยังอยู่กับผู้เสียหาย การที่จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอก เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอก เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดระหว่างลักทรัพย์กับยักยอก: การครอบครองทรัพย์สินเป็นสำคัญ
ผู้เสียหายและจำเลยไปซื้อพริกด้วยกัน ขณะที่ผู้เสียหายกำลังก้มลงเลือกพริกอยู่ จำเลยบอกผู้เสียหายว่าเงินในกระเป๋าจะตกพร้อมกับหยิบเอาห่อพลาสติกซึ่งผู้เสียหายใส่เงิน 2,200 บาท จากกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหายมาถือไว้ผู้เสียหายจึงบอกให้จำเลยถือไว้ให้ดีอย่าให้ตกหาย แล้วเลือกพริกต่อไปอีกประมาณ 10 นาที เมื่อเงยหน้าขึ้นปรากฏว่าจำเลยเอาเงินของผู้เสียหายหลบหนีไปเสียแล้วเช่นนี้ การครอบครองเงินจำนวนนี้ยังอยู่กับผู้เสียหายการที่จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอก เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2521)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอก เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดฐานทำร้ายร่างกาย: อาวุธร้ายแรง vs. ไม่ร้ายแรง และเจตนาในการกระทำ
จำเลยใช้มีดพับซึ่งมีใบมีดยาว 3 นิ้ว ฟุตแทงผู้ตายเพียงหนึ่งทีแล้วก็วิ่งหนีไป เช่นนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ไม่ผิดตามมาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดทางภาษี: ลงบัญชีไม่ครบถ้วน (มาตรา 190) กับไม่ทำบัญชีเลย (มาตรา 197) และอำนาจฟ้อง
เจ้าหน้าที่สรรพากรได้มีคำสั่งบังคับให้โจทก์เสียภาษีโภคภัณฑ์และเงินเพิ่มจนถึงกับจะยึดทรัพย์ของโจทก์เพื่อเอาชำระค่าภาษีนั้น นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องศาลได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 190 เป็นบทความผิดสำหรับผู้ค้าโภคภัณฑ์ที่มีโภคภัณฑ์หรือเกินบัญชี ภ.ภ. 11 คือ ลงบัญชีไว้ไม่ครบถ้วน ส่วนมาตรา 197 เป็นบทความผิดผู้ที่ไม่ทำบัญชี ภ.ภ. 11 หรือทำแล้วไม่เก็บบัญชีไว้ 5 ปี ซึ่งมีโทษทั้งปรับทั้งจำ เป็นการแยกความผิดฐานลงบัญชีไม่ครบถ้วน กับการไม่ทำบัญชีเสียเลยให้มีโทษหนักเบาต่างกัน
โจทก์ได้สั่งโภคภัณฑ์เข้ามาเป็นคราว ๆ และได้ลงบัญชี ภ.ภ. 11 แล้ว แต่คราวสุดท้ายไม่ลงบัญชีเลยดังนี้ ไม่ใช่เรื่องลงบัญชีไม่ครบอันเป็นเหตุให้มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินจากบัญชีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 190 ต้องถือว่าไม่ได้ทำบัญชีตามมาตรา 197 เจ้าพนักงานจึงเรียกเก็บภาษีและเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 190 เป็นบทความผิดสำหรับผู้ค้าโภคภัณฑ์ที่มีโภคภัณฑ์หรือเกินบัญชี ภ.ภ. 11 คือ ลงบัญชีไว้ไม่ครบถ้วน ส่วนมาตรา 197 เป็นบทความผิดผู้ที่ไม่ทำบัญชี ภ.ภ. 11 หรือทำแล้วไม่เก็บบัญชีไว้ 5 ปี ซึ่งมีโทษทั้งปรับทั้งจำ เป็นการแยกความผิดฐานลงบัญชีไม่ครบถ้วน กับการไม่ทำบัญชีเสียเลยให้มีโทษหนักเบาต่างกัน
โจทก์ได้สั่งโภคภัณฑ์เข้ามาเป็นคราว ๆ และได้ลงบัญชี ภ.ภ. 11 แล้ว แต่คราวสุดท้ายไม่ลงบัญชีเลยดังนี้ ไม่ใช่เรื่องลงบัญชีไม่ครบอันเป็นเหตุให้มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินจากบัญชีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 190 ต้องถือว่าไม่ได้ทำบัญชีตามมาตรา 197 เจ้าพนักงานจึงเรียกเก็บภาษีและเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดฐานปลอมแปลงเงินตรา: เจตนาในการนำออกใช้เป็นเงินตราจริงหรือไม่
กรณีตาม มาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นเรื่องที่กระทำบัตรหรือโลหะธาตุอย่างใดให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตราขึ้นเท่านั้น โดยผู้กระทำไม่เจตนาทำปลอมให้เป็นเงินตราเพื่อนำออกลวงใช้เป็นเงินตราที่แท้จริง
ฉะนั้น เมื่อจำเลยเจตนาทำปลอมให้เป็นเงินตรา เพื่อนำออกลวงใช้เป็นเงินตราที่แท้จริง กรณีจึงปรับด้วย มาตรา 249 ไม่ได้ต้องปรับด้วย มาตรา 240
ฉะนั้น เมื่อจำเลยเจตนาทำปลอมให้เป็นเงินตรา เพื่อนำออกลวงใช้เป็นเงินตราที่แท้จริง กรณีจึงปรับด้วย มาตรา 249 ไม่ได้ต้องปรับด้วย มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์ตามเหตุพิเศษและลักษณะการกระทำ
ในเรื่องลักทรัพย์ กฎหมายจำแนกความผิดและกำหนดโทษหนักเบาต่างกันสุดแต่ว่าจะมีเหตุพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยลักทรัพย์ของนายจ้างในเวลาค่ำคืน การกระทำของจำเลยต้องด้วยม.294 ข้อ 5 ซึ่งเป็นเหตุพิเศษประกอบกับตัวทรัพย์ที่ถูกลักและประกอบกับตัวทรัพย์ที่ถูกลักและประกอบด้วย ม.293 ข้อ 1 อันเป็นเหตุพิเศษประกอบอาการแห่งการลักทรัพย์นั้นด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 294 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์ตามเหตุพิเศษและโทษที่แตกต่างกัน
ในเรื่องลักทรัพย์ กฎหมายจำแนกความผิดและกำหนดโทษหนักเบาต่างกันสุดแต่ว่าจะมีเหตุพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เมื่อจำเลยลักทรัพย์ของนายจ้างในเวลาค่ำคืน การกระทำของจำเลยต้องด้วยมาตรา 294 ข้อ 5 ซึ่งเป็นเหตุพิเศษประกอบกับตัวทรัพย์ที่ถูกลักและประกอบด้วย มาตรา 293 ข้อ 1 อันเป็นเหตุพิเศษประกอบอาการแห่งการลักทรัพย์นั้นด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 294 วรรคท้าย
เมื่อจำเลยลักทรัพย์ของนายจ้างในเวลาค่ำคืน การกระทำของจำเลยต้องด้วยมาตรา 294 ข้อ 5 ซึ่งเป็นเหตุพิเศษประกอบกับตัวทรัพย์ที่ถูกลักและประกอบด้วย มาตรา 293 ข้อ 1 อันเป็นเหตุพิเศษประกอบอาการแห่งการลักทรัพย์นั้นด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 294 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์และยักยอกทรัพย์ พิจารณาจากข้อความในฟ้อง
ฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต ลักเอาทรัพย์สิ่งของของโจทก์ ซึ่งมีผู้ฝากจำเลยมา ให้โจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 288 แม้จะมีคำว่า ลัก และมีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 288 ก็ตาม แต่ข้อความในฟ้องย่อมมีความหมายว่าจำเลยกระทำผิดฐานยักยอกตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 314ฉะนั้นโจทก์จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ไม่ได้