คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำแนกประเภท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6238/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับกากกุ้ง: พิจารณาจากลักษณะ 'ป่น' ตามหลักเกณฑ์การตีความ
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ กำหนดสินค้าตามประเภทพิกัด 0508.00 ว่า "หินปะการังและสิ่งที่คล้ายกันที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ ... เปลือกของสัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์ ครัสตาเซีย หรือเอคไคโนเดิร์ม และลิ้นทะเลที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ แต่ไม่ได้ตัดเป็นรูปทรง รวมทั้งผงและเศษของสิ่งดังกล่าวด้วย" และกำหนดสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 ว่า "ปลาหรือสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์ สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่ป่นที่ทำเป็นเพลเลต" เห็นว่า สินค้าที่จัดอยู่ประเภทพิกัด 0508.00 จำกัดว่าเป็นเปลือกของสัตว์น้ำจำพวกดังกล่าวรวมทั้งผงและเศษของสิ่งดังกล่าวที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ ส่วนสินค้าสัตว์น้ำจำพวกเดียวกันนี้ที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 ไม่ได้จำกัดว่าเป็นเฉพาะเปลือก แต่กำหนดลักษณะว่าได้ป่นหรือได้ทำเป็นเพลเลต และคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามใบขนสินค้าขาเข้าฯ แต่ละฉบับไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 238 ดังนั้น จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาว่า สินค้ารายพิพาทเป็นกากกุ้งประกอบด้วยหัว เปลือก หาง และอาจมีเศษเนื้อติดอยู่บ้างที่เหลือจากการนำเนื้อกุ้งไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้ว มีลักษณะป่นเป็นผง เมื่อสินค้ามีลักษณะป่นเป็นผงจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 ตามวิธีการตีความที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร หลักเกณฑ์ ข้อ 3 (ก) ที่กำหนดไว้ว่า ของที่อาจจำแนกประเภทได้ตั้งแต่สองประเภทขึ้นไป ถ้าประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้โดยเฉพาะและประเภทอื่นระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ให้จัดของนั้นเข้าประเภทที่ระบุไว้โดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6238/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับกากกุ้ง: ป่นหรือเปลือก?
พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 กำหนดสินค้าตามประเภทพิกัด 0508.00 ว่า "หินปะการังและสิ่งที่คล้ายกัน ที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ ... เปลือกของสัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์ ครัสตาเซีย หรือเอคไคโนเดิร์ม และลิ้นทะเล ที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ แต่ไม่ได้ตัดเป็นรูปทรง รวมทั้งผงและเศษของสิ่งดังกล่าวด้วย" และกำหนดสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 ว่า "ปลาหรือสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์ สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่ป่น ที่ทำเป็นเพลเลต" เห็นว่า สินค้าที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 0508.00 จำกัดว่าเป็นเปลือกของสัตว์น้ำจำพวกดังกล่าวรวมทั้งผงและเศษของสิ่งดังกล่าวที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ ส่วนสินค้าสัตว์น้ำจำพวกเดียวกันนี้ที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 ไม่ได้จำกัดว่าเป็นเฉพาะเปลือก แต่กำหนดลักษณะว่าได้ป่นหรือได้ทำเป็นเพลเลต และคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามใบขนสินค้าขาเข้า ฯ แต่ละฉบับไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 238 ดังนั้น จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาว่า สินค้ารายพิพาทเป็นกากกุ้งประกอบด้วยหัว เปลือก หาง และอาจมีเศษเนื้อติดอยู่บ้าง ที่เหลือจากการนำเนื้อกุ้งไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้ว มีลักษณะป่นเป็นผง เมื่อสินค้ามีลักษณะป่นเป็นผงจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 ตามวิธีการตีความที่ พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร หลักเกณฑ์ ข้อ 3 (ก) ที่กำหนดไว้ว่า ของที่อาจจำแนกประเภทได้ตั้งแต่สองประเภทขึ้นไป ถ้าประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้โดยเฉพาะและประเภทอื่นระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ให้จัดของนั้นเข้าประเภทที่ระบุไว้โดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5707/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราอากรสำหรับสินค้า 'สนามหญ้าเทียม' เพื่อใช้ในการฝึกซ้อมกอล์ฟ มิใช่ 'พรม' หรือ 'สิ่งทอปูพื้น'
สินค้าหรือของที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530ให้เรียกเก็บและเสียอากรตามที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าท้าย พ.ร.บ.ดังกล่าว หมวด 11 ว่าด้วยสิ่งทอและของทำด้วยสิ่งทอ ตอนที่ 57"พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น ๆ" ได้ให้ความหมายของคำว่าพรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น ๆ ว่าหมายถึงสิ่งปูพื้นที่มีวัตถุทอเป็นพื้นผิวด้านบนเมื่อใช้งาน และรวมถึงของที่มีลักษณะเป็นสิ่งทอปูพื้นแต่มีเจตนาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ไม่คลุมถึงของที่ใช้รองสิ่งปูพื้น และประเภทพิกัดที่ 5702.42 ระบุว่า "ทำด้วยวัตถุทอประดิษฐ์" ดังนี้ พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น ๆจะต้องเป็นสิ่งปูพื้นที่มีวัตถุทอเป็นผิวด้านบนเมื่อใช้งานและของที่มีลักษณะเป็นสิ่งทอปูพื้น แต่มีเจตนาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่นนำไปแขวนหรือประดับฝาผนัง แต่สินค้าของโจทก์มีผิวด้านบนเป็นเส้นใยตั้งตรงแข็งทำด้วยพลาสติกชนิดไนลอนไม่ได้มีผิวด้านบนเป็นวัตถุทอ คงมีแต่เฉพาะส่วนล่างที่มีการทอเพื่อยึดเส้นใยที่อยู่ด้านบนไว้ แล้วอาบด้วยพลาสติก ไม่ได้ใช้สำหรับปูพื้น แต่ใช้สำหรับวางลูกกอล์ฟแทนสนามหญ้าเพื่อการฝึกซ้อมตีกอล์ฟ จึงมิใช่เป็นพรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น ๆ ตามความหมายของสินค้าหรือของในประเภทพิกัดที่ 5702.42 และสินค้าของโจทก์เป็นสนามหญ้าเทียม มีขนาดโดยเฉพาะเจาะจงไว้ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับวางลูกกอล์ฟแทนสนามหญ้าเพื่อการฝึกซ้อมตีกอล์ฟ และนำไปใช้ได้เฉพาะการฝึกซ้อมตีกอล์ฟเท่านั้นไม่อาจนำไปใช้ในกิจการอื่นได้ สินค้าของโจทก์จึงเป็นสินค้าประเภทอุปกรณ์กีฬา ตามที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2530 หมวด 20 ว่าด้วยผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ดตอนที่ 95 "ของเล่น ของเล่นเกมและของใช้ที่จำเป็นในการเล่นกีฬาส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของของดังกล่าว"ประเภทพิกัดที่ 9506.39 ต้องเสียอากรร้อยละ 10 ของราคาสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากร และข้อยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 30
สินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.15 เป็นสินค้าประเภทที่ใช้เพื่อความสะดวกสบายหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยอัตราอากรจึงได้กำหนดไว้สูงถึงร้อยละ 80 ส่วนสินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.17 นั้น เป็นสินค้าที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการผลิตหรือเป็นสินค้าประเภทที่นำมาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตผลงานอย่างอื่น จึงได้กำหนดพิกัดอัตราอากรไว้ต่ำลงมาเพียงร้อยละ 30 คำว่า"เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จึงหมายถึงเครื่องปรับอากาศหรือส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่ใช้เพื่อความสะดวกสบาย ส่วนคำว่า"ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่84.17ก. นั้น หมายถึงเครื่องที่จะระบายความร้อนให้กับเครื่องจักรขณะที่เครื่องจักรทำงาน ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรสินค้าคอนเดนเซอร์ที่โจทก์นำเข้ามา เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายและไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15ข. จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรของเศษเหล็กที่นำเข้าเพื่อนำไปรีดทำเหล็กเส้น พิจารณาจากสภาพและกรรมวิธีผลิต
เหล็กแผ่นสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเหล็กแผ่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานถูกคัดออก บริษัทผู้ขายขายเหล็กพิพาทอย่างเป็นเศษเหล็กโจทก์นำเหล็กดังกล่าวไปตัดซอยเป็นแผ่นเล็ก ๆ และเผาให้ร้อนรีดเป็นเหล็กเส้นตามขนาดและมาตรฐานที่ตลาดต้องการ และนำออกจำหน่ายทั้งหมดโดยมิได้นำไปขายเป็นเหล็กแผ่น เหล็กพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 73.03 มิใช่ประเภทพิกัดที่ 73.13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรเหล็กแผ่นที่นำเข้าและแปรรูป
เหล็กแผ่นสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเหล็กแผ่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานถูกตัดออก บริษัทผู้ขายขายเหล็กพิพาทอย่างเป็นเศษเหล็ก โจทก์นำเหล็กดังกล่าวไปตัดซอยเป็นแผ่นเล็ก ๆ และเผาให้ร้อนรีดเป็นเหล็กเส้นตามขนาดและมาตรฐานที่ตลาดต้องการและนำออกจำหน่ายทั้งหมดโดยมิได้นำไปขายเป็นเหล็กแผ่น เหล็กพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 73.03 มิใช่ประเภทพิกัดที่73.13.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรต้องตามความหมายในประเภทสินค้านั้น หรือหมายเหตุที่เกี่ยวข้อง การจำแนกประเภทกระจกตามกรรมวิธีผลิต
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในการจำแนกประเภทสินค้าตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ต้องเป็นไปตามความหมายในประเภทของสินค้านั้น หรือตามความหมายของหมายเหตุหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ จะตีความนอกเหนือไปจากความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดหรือหมายเหตุในหมวดหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ ไม่ได้
พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธียืดหรือเป่าเพียง 2 วิธี และยังมิได้มีการตกแต่ง
พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่าและขัดผิวให้เรียบแล้วไม่ว่าจะขัดผิวโดยกรรมวิธีอย่างไร และกระจกนั้นจะมีสภาพใสเป็นมันเงาหรือไม่อย่างหนึ่ง และแผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่า และทำให้ใส่แล้วไม่ว่าจะทำโดยกรรมวิธีอย่างไรและกระทำในขั้นตอนใดของการผลิตอีกอย่างหนึ่ง เพราะตามพิกัดดังกล่าวระหว่างข้อความว่าขัดผิวกับทำให้ใสแล้วใช้คำว่า "หรือ"
กระจกชีทที่โจทก์นำเข้ามามีกรรมวิธีในการผลิตโดยดึงน้ำแก้วที่หลอมเหลวในเบ้าหลอมขึ้นเป็นแผ่นกระจกในแนวตั้ง แผ่นกระจกที่ผ่านออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สภาพของผิวกระจกเรียบและใสทั้งสองด้าน เนื่องจากน้ำแก้วที่หลอมเหลวไหลผ่านไปบนผิวโลหะหลอมเหลวในอ่างโลหะหลอมเหลวที่มีการควบคุมอุณหภูมิจนแผ่นกระจกเย็นลง สินค้าดังกล่าวจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทกระดาษนำเข้าเพื่อเสียอากร: พิจารณาจากชื่อ คุณสมบัติ และวัตถุประสงค์การใช้งาน
หนังสือพิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา4 หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกันและออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ประกอบกับใบอนุญาตซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ออกให้โจทก์ระบุไว้ชัดว่า อนุญาตให้โจทก์เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกบิสิเนสเยลโล่เพจเจ็สและหนังสือพิมพ์สมุดธุรกิจเยลโล่เพจเจ็สอีกหลายฉบับ ซึ่งออกเป็นรายปี ดังนี้สมุดธุรกิจต่าง ๆ ของโจทก์จึงเป็นหนังสือพิมพ์ตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 48.01 ค. หมายถึงชนิดของกระดาษหาได้หมายถึงวัตถุประสงค์ในการใช้กระดาษไม่ การที่จะพิจารณาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ชื่อที่เรียกคุณสมบัติ ลักษณะจุดมุ่งหมายในการใช้ ฯลฯสินค้าพิพาทมีชื่อว่ากระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ชนิดเบาจากประเทศแคนาดา คุณสมบัติและลักษณะเหมือนกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป โจทก์มีวัตถุประสงค์นำไปใช้พิมพ์สมุดธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชนิดหนึ่งดังนี้สินค้าพิพาทจึงเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์และอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.01 ค. (1) ทั้งนี้เพราะกระดาษพิพาทมีน้ำหนักเพียง 36 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งไม่เกิน 55 กรัมต่อตารางเมตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าสำหรับกระดาษพิมพ์หนังสือพิมพ์ พิจารณาจากชื่อ, คุณสมบัติ, และวัตถุประสงค์การใช้
หนังสือพิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา4 หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ประกอบกับใบอนุญาตซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ออกให้โจทก์นั้นระบุไว้ชัดว่า อนุญาตให้โจทก์เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกบิสิเนสเยลโล่เพจเจ็ส และหนังสือพิมพ์สมุดธุรกิจเยลโล่เพจเจ็สอีกหลายฉบับ ซึ่งออกเป็นรายปี ดังนี้ สมุดธุรกิจต่าง ๆ ของโจทก์จึงเป็นหนังสือพิมพ์ตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 48.01 ค. หมายถึงชนิดของกระดาษ หาได้หมายถึง วัตถุประสงค์ในการใช้กระดาษไม่ การที่จะพิจารณาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือไม่ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ชื่อที่เรียก คุณสมบัติลักษณะจุดมุ่งหมายในการใช้ ฯลฯ สินค้าพิพาทมีชื่อว่ากระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ชนิดเบาจากประเทศแคนาดา คุณสมบัติและลักษณะเหมือนกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป โจทก์มีวัตถุประสงค์นำไปใช้พิมพ์สมุดธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชนิดหนึ่ง ดังนี้สินค้าพิพาทจึงเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์และอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.01 ค.(1) ทั้งนี้เพราะกระดาษพิพาทมีน้ำหนักเพียง 36 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งไม่เกิน55 กรัมต่อตารางเมตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของพลาสติกม้วน: เศษพลาสติกหรือพลาสติกสำเร็จรูป
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นพลาสติกที่เป็นแผ่นหรือแถบซึ่งม้วนพันอยู่รอบแกนกระดาษ ด้านข้างทั้งสองด้านรวมทั้งแกนกระดาษตัดเรียบเสมอกันเป็นพลาสติกใสไม่ยับยู่ยี่ ทุกม้วนหน้ากว้าง 8 นิ้ว หนักม้วนละ 16.5 ปอนด์ ซึ่งบางม้วนมีกระดาษปิดบอกน้ำหนัดไว้ทั้งยังมีพลาสติกพันหรือหุ้มห่อไว้อีกชั้นหนึ่งสภาพดีใช้การได้ มีสภาพแตกต่างจากเศษพลาสติกที่นำเข้ามาพร้อมกัน ถือได้ว่าเป็นพลาสติกสำเร็จรูปต้องชำระอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ข.แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 จึงมิใช่เศษพลาสติกที่ใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับเอามาหล่อ หลอม อัด หรือผสมเป็นของสำเร็จรูปรวมทั้งการที่ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่39.02 ก..
of 2