พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนจากนายจ้างและกองทุนเงินทดแทน สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขัดกฎหมาย
ท.ลูกจ้างโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติงานให้โจทก์ โจทก์ได้จ่ายเงินทดแทนและค่าทำศพให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ท.แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหาย โจทก์และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ยอมให้จำเลยที่ 3 ขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้ โดยโจทก์จะไม่เกี่ยวข้องโต้แย้ง จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ดังนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดห้ามนายจ้างจ่ายเงินทดแทนหรือห้ามลูกจ้างรับเงินทดแทนเกินกว่าจำเลยที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 3 ได้รับเงินทดแทนจากโจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 3 ยื่นขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้อีก สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงหาเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 15 วรรคสอง กำหนดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้มีสิทธ์ทราบว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายและจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดแล้ว ก็หาเป็นการห้ามสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 3 ไม่ และแม้การจ่ายเงินดังกล่าวทำให้โจทก์เสียหายเพราะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น แต่เป็นความเสียหายที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ทำลงโดยสมัครใจและบังคับได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องให้ห้ามกรมแรงงานและผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนจากนายจ้างและกองทุนเงินทดแทนหลังประนีประนอมยอมความ ย่อมไม่ขัดกฎหมาย
ท. ลูกจ้างโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติงานให้โจทก์โจทก์ได้จ่ายเงินทดแทนและค่าทำศพให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ท. แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหาย โจทก์และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ยอมให้จำเลยที่ 3 ขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้ โดยโจทก์จะไม่เกี่ยวข้องโต้แย้งจำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ดังนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดห้ามนายจ้างจ่ายเงินทดแทนหรือห้ามลูกจ้างรับเงินทดแทนเกินกว่าจำนวนที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 3ได้รับเงินทดแทนจากโจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 3ยื่นขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้อีกสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงหาเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 15 วรรคสองกำหนดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้มีสิทธิทราบว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายและจำเลยที่ 3ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดแล้ว ก็หาเป็นการห้ามสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 3 ไม่ และแม้การจ่ายเงินดังกล่าวทำให้โจทก์เสียหายเพราะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น แต่เป็นความเสียหายที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ทำลงโดยสมัครใจและบังคับได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องให้ห้ามกรมแรงงานและผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเงินทดแทน: นายจ้างมีส่วนได้เสียเมื่อมีการจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนหรือผิดพลาด
การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน และได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า เป็นการแจ้งให้นายจ้างทราบ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 16 และย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามข้อ 2 ทั้งการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างนั้นอาจเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นได้ด้วยตามนัยแห่ง ข้อ 3 โจทก์จึงมีส่วนได้เสียอยู่ด้วยในการจ่ายหรือไม่จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ แม้เงินทดแทนนั้นจะจ่ายจากองทุนเงินทดแทนก็ตาม เมื่อโจทก์ทักท้วงว่าจำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยืนยันว่าจะจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3 ดังนี้ ย่อมต้องถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว ซึ่งข้อนี้ฝ่ายจำเลยก็ทราบดี ดังจะเห็นได้จากหนังสือของจำเลยที่ 2 ยืนยันคำวินิจฉัยไปยังโจทก์ได้กล่าวไว้ด้วยว่า ถ้าโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ก็ขอให้ร้องต่อศาลภายใน 15 วัน