พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตและจำหน่ายซีอิ๊วปลอมติดฉลากเครื่องหมายการค้าผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1)
ซีอิ๊วของกลางส่วนหนึ่งที่ขวดปิดฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมระบุว่าผลิตที่แห่งหนึ่ง แต่ความจริงผลิตที่อีกแห่งหนึ่ง เช่นนี้เป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องสถานที่ที่ผลิต ซีอิ๊วของกลางจึงเป็นอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27 (4)
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272 (1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272 (1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272 (1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272 (1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ฉลากเครื่องหมายการค้าปลอม แม้ไม่เข้าข่ายปลอมแปลง แต่เข้าข่ายใช้เครื่องหมายการค้าผู้อื่นโดยมิชอบ
พยานหลักฐานโจทก์ซึ่งมีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่าจำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่น แล้วให้ลูกจ้างของจำเลยปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 273 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272(1)แม้โจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษตามมาตรานี้ แต่ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์พอจะถือได้ว่าได้บรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา272(1) ไว้ด้วยแล้ว ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 272(1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่น ๆ ที่มิได้ฎีกาด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสุราพร้อมฉลากสรรพคุณยา ไม่ถือเป็นยาผิดกฎหมาย หากพิสูจน์ได้เป็นกลยุทธ์ทางการค้า
จำเลยขายสุราแต่ในฉลากปิดขวดมีข้อความว่าเป็นยารักษาโรคได้ แต่ทั้งนี้เป็นเพียงพาณิชย์โยบายอย่างหนึ่งและไม่ทำให้ผู้เห็นฉลากเข้าใจว่าจำเลยขายยา จำเลยไม่มีผิดตามกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9797/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องกรณีสินค้ามีเครื่องหมายการค้าปลอม และการแสดงฉลากไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
แม้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีบทบัญญัติในมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดอาญา โดยมิได้คุ้มครองสิทธิของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมดังเช่นบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้ความคุ้มครองไว้ กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติใน ป.อ. ดังกล่าวขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และเมื่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเลิกเฉพาะ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 เท่านั้น ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 มิได้ถูกยกเลิกด้วย
สินค้าและภาชนะบรรจุสินค้าของกลางมีเครื่องหมายการค้าคำว่า ประกอบอยู่ด้วย ส่วนคำอื่นที่ประกอบเพิ่มเติมมีขนาดเล็กจนมองแทบไม่เห็นความแตกต่าง แสดงว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้ามีคำว่า เช่นเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม และเครื่องหมายการค้าที่ตัวผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าแตกต่างจากที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แม้ป้ายหุ้มห่อผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยกับพวกร่วมกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แต่ไม่มีฉลากสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ผลิตสินค้าที่จะเป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมให้ประชาชนผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าสามารถแยกความแตกต่าง จึงมีโอกาสที่จะทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าหลงเชื่อไปได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมหรือโจทก์ร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อันส่อให้เห็นเจตนาไม่สุจริตว่าประสงค์จะใช้หรือแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ถือได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร
สินค้าและภาชนะบรรจุสินค้าของกลางมีเครื่องหมายการค้าคำว่า ประกอบอยู่ด้วย ส่วนคำอื่นที่ประกอบเพิ่มเติมมีขนาดเล็กจนมองแทบไม่เห็นความแตกต่าง แสดงว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้ามีคำว่า เช่นเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม และเครื่องหมายการค้าที่ตัวผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าแตกต่างจากที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แม้ป้ายหุ้มห่อผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยกับพวกร่วมกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แต่ไม่มีฉลากสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ผลิตสินค้าที่จะเป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมให้ประชาชนผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าสามารถแยกความแตกต่าง จึงมีโอกาสที่จะทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าหลงเชื่อไปได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมหรือโจทก์ร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อันส่อให้เห็นเจตนาไม่สุจริตว่าประสงค์จะใช้หรือแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ถือได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขายวัตถุอันตรายต้องตรวจสอบฉลากวันเดือนปีที่ผลิต หากไม่ตรวจสอบถือว่าละเลยหน้าที่ตามกฎหมาย
พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 4 นิยามคำว่า "ฉลาก" หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ซึ่งแสดงไว้ที่วัตถุอันตราย หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุ หรือสอดแทรก หรือรวมไว้กับวัตถุอันตราย หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุ และหมายความรวมถึงเอกสาร หรือคู่มือประกอบการใช้วัตถุอันตรายด้วย มาตรา 62 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ขายสินค้าเคมีที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จะต้องระมัดระวังตรวจสอบความเชื่อถือได้ของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้จัดหาวัตถุอันตรายนั้นให้แก่ตน ความถูกต้องของภาชนะบรรจุและฉลาก ความเหมาะสมของการเก็บรักษา และความไว้วางใจได้ของผู้ที่รับมอบวัตถุอันตรายไปจากตนและมาตรา 83 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ที่ขายวัตถุอันตรายโดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลาก หรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้องมีความผิด นอกจากนี้ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ.2538 ข้อ 6 (12) กำหนดให้วัตถุอันตรายที่ขายหรือจำหน่าย หรือแสดงไว้เพื่อขายหรือจำหน่ายต้องมีฉลากขนาดที่เหมาะสมกับภาชนะบรรจุ ปิดหรือพิมพ์ไว้ที่ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายทุกชิ้น ฉลากดังกล่าวต้องมีเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ เช่นนี้ เห็นได้ว่ากฎหมายให้ความสำคัญกับฉลาก วันเดือนปีที่ผลิตที่ผู้ขายต้องแสดงให้ลูกค้าทราบเพื่อรู้ว่าสินค้าหมดอายุเมื่อใด จึงกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตและผู้ขายวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องติดฉลากแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของวัตถุอันตรายที่ผลิตหรือขายทั้งภาชนะที่บรรจุคือขวดไม่ว่าชนิดใดและหีบห่อบรรจุคือกล่อง จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขายสารกำจัดวัชพืชและสารกำจัดแมลงของกลางอันเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม โดยจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 ซึ่งผ่านการฝึกอบรมจากกรมวิชาการเกษตรและขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบฉลากและภาชนะวัตถุอันตรายตามที่กฎกระทรวงกำหนดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของฉลากแสดงวันเดือนปีที่ผลิตสินค้าก่อนส่งให้ลูกค้า... จำเลยทั้งสองไม่ได้เปิดกล่องกระดาษตรวจดูเป็นรายขวดหรือแกลลอนที่บรรจุเนื่องจากเห็นว่าหากกล่องกระดาษมีร่องรอยการแกะก่อนส่งให้ลูกค้าจะมองดูไม่น่าเชื่อถือ ทั้งการตรวจสินค้าดังกล่าวเป็นประเพณีทางการค้าที่ผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้และผู้จัดจำหน่ายปฏิบัติต่อกัน จำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดจำหน่ายจึงไม่สามารถล่วงรู้ว่าสินค้าเคมีเกษตรแต่ละชนิดที่บริษัท พ. ผลิตออกมา มีรายการวันเดือนปีที่ผลิตติดไว้ครบถ้วนทุกขวดทุกแกลลอนหรือไม่ เป็นหน้าที่ของบริษัท พ. ที่จะต้องติดรายการวันเดือนปีที่ผลิต นั้น จำเลยทั้งสองสามารถส่งพนักงานไปตรวจสอบสินค้าที่บริษัท พ. ผลิตก่อนที่จะบรรจุกล่อง หากพบว่าฉลากไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่ผลิตก็สามารถแก้ไขได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบดังกล่าว กรณีต้องถือว่าจำเลยทั้งสองละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขายสินค้าเคมีตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 62 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535