คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชดเชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740-3790/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินชดเชยหลังเกษียณ: การระงับข้อพิพาทสัญญาประนีประนอม และฟ้องซ้ำ
ในขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 7 ถึงที่ 20 ที่ 32 ถึงที่ 38 ที่ 48 ที่ 50 ถึงที่ 53 ฟ้องคดีเดิมและทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์รู้อยู่แล้วว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการปรับปรุงมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างระดับผู้ปฏิบัติงานโดยให้ผู้ที่ปฏิบัติงานก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 15 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2544 เป็นต้นไป แต่โจทก์ ก็ยังสมัครใจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน และตกลง "ไม่เรียกร้องใด ๆ อีก" จึงหมายความว่าจะไม่เรียกร้องอื่นใดอีกซึ่งรวมถึงเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน ตามมติคณะรัฐมนตรีที่จะได้รับเพิ่มขึ้นเมื่อมีการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ต่อไปจนเสร็จสิ้นแล้วด้วย อันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นในอนาคต ประกอบกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมเกิดขึ้นหลังจากโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุแล้ว จึงมีอิสระแก่ตนพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงมีผลใช้บังคับ ดังนั้นการเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน จึงระงับสิ้นไป
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง เป็นการบัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนและกำหนดว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างนั้นใช้บังคับแก่ผู้ใด ไม่ได้บัญญัติถึงว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด ดังนั้นมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับประกาศของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในคดีเดิมวินิจฉัยว่า จนถึงเวลาเสร็จการพิจารณาในคดีเดิมสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์ (คดีเดิม) จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ไม่ใช่ 240 วัน มีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาว่า โจทก์ (คดีเดิม) ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินส่วนนี้ในคดีเดิม ต่อมาเมื่อประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 มีผลใช้บังคับแล้วและความในประกาศมีผลถึงโจทก์คดีเดิมด้วย โจทก์ที่ 21 ถึงที่ 30 ที่ 39 ถึงที่ 47 (ที่เคยเป็นโจทก์ใน
คดีเดิม) ซึ่งมีอำนาจฟ้องตามประกาศฉบับหลังจึงฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905-4927/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยที่จ่ายโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และอายุความการฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้
โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลยโดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิได้รับตามข้อบังคับสถาบันการบินพลเรือน ว่าด้วยสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับค่าชดเชยของพนักงาน พ.ศ. 2539ทั้งที่แท้จริงแล้วจำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง และขัดต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือนพ.ศ. 2535 มาตรา 38 ไม่มีผลใช้บังคับ จึงเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกให้จำเลยคืนค่าชดเชยที่รับมาให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 กรณีดังกล่าวมิใช่จำเลยเอาทรัพย์ของโจทก์มายึดถือไว้โดยไม่มีสิทธิ โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนได้ตามมาตรา 1336
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 บัญญัติให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนทรัพย์สินจากผู้ที่ได้ทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน มิใช่ภายในหนึ่งปีนับแต่ผู้เสียหายประสงค์ใช้สิทธิเรียกคืน
สถาบันการบินพลเรือนโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ผู้ว่าการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้รับทราบหนังสือกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2540 แจ้งว่าข้อบังคับของโจทก์ที่ให้จ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยประกาศใช้โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและขัดต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 ไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้จำเลยจึงเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้รับ ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยตั้งแต่ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 7กรกฎาคม 2543 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ว่ามีสิทธิเรียกค่าชดเชย คืนดังกล่าวแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงาน: เหตุผลความร้ายแรง, การชดเชย, และค่าจ้างระหว่างพักงาน
โจทก์พูดกับมัคคุเทศก์ว่า "แขกเลวๆ อย่างนี้อย่าพามาที่นี่เลย" แม้ถ้อยคำที่โจทก์ใช้จะเป็นถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมแต่โจทก์ได้กล่าวไปด้วยอารมณ์ไม่พอใจในพฤติกรรมที่ไม่สมควรของบุตรแขกชาวตะวันออกกลางโดยไม่ได้มีเจตนาจะทำให้โรงแรมจำเลยเสียหายหรือทำไปโดยเล็งเห็นถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่จำเลย และข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายตามที่จำเลยคาดการณ์ กรณีจึงใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงและไม่ใช่เป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียหาย ตามมาตรา 119 (4) แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมจำเลยจะต้องทำดีที่สุดในการรักษาชื่อเสียงของโรงแรม โจทก์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวเท่ากับโจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยได้มีคำสั่งพักงานโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ถึงวันที่ 2 กันยายน 2543 รวม 5 วัน เพื่อสอบสวนความผิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุให้จำเลยจ่ายเงินแก่ลูกจ้างระหว่างพักงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินในระหว่างพักงาน 5 วัน ดังกล่าว ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 116

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายทางจิตใจจากความผิดพลาดทางการแพทย์: การชดเชยความเสียหายอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน
โจทก์เป็นหญิง รับราชการเป็นอาจารย์ โดยตำแหน่งหน้าที่ต้องพบปะผู้คนจำนวนมากแต่ต้องเสียบุคลิกภาพ ใบหน้าเสียโฉมเนื่องจากหนังตาแหว่งเห็นตาขาวมากกว่าปกติ ย่อมเป็นความทุกข์ทรมานที่โจทก์รู้สึกได้อยู่ตลอดเวลาตราบจนความเสียโฉมดังกล่าวจะได้รับการแก้ไข ค่าที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานกับค่าที่โจทก์ต้องสูญเสียบุคลิกภาพตั้งแต่จำเลยผ่าตัดโจทก์จนโจทก์ต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขถือเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาตลาด ณ วันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และความล่าช้าในการจ่ายค่าชดเชย
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ทันที กำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ก่อนได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทน ถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์เรื่องเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกเวนคืนได้โอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้น มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินภายหลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้
การพิจารณาว่าโจทก์สมควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงิน ค่าทดแทนที่ดินไปวางให้โจทก์ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้วเกือบสามสิบปี เป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นการที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์โดยใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่ พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ก.ค. 2508 มาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประมาณ 2 ปี โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของ ที่ดินพิพาทก่อนการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปกติจนถึงกลางปี 2533 ว่าหากไม่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้แล้ว สภาพและที่ตั้งของที่ดินพิพาทเป็นเช่นไรประกอบการพิจารณาในการกำหนดเงินค่าทดแทนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8906/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าเสียหายจากประกันภัย: อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันจ่ายเงินชดเชย
ป.พ.พ. มาตรา 196 การชำระหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน คดีนี้เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินให้ผู้เอาประกันภัย ณ วันใด ถือว่าความเสียหายที่แท้จริงของโจทก์เกิดขึ้น ณ วันนั้น จึงต้องคิดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐซึ่งกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยกับเงินไทย ณ วันที่โจทก์จ่ายไปจริง ไม่ใช่วันเกิดเหตุละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุทะเลาะวิวาท ศาลยืนค่าชดเชยและค่าวันหยุดพักผ่อน
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์ทะเลาะวิวาทกับนายโชคชัย นุ้ยทองคำ หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นการกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยกับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า แม้โจทก์จะเป็นผู้เริ่มต้นก่อเหตุทะเลาะวิวาทขึ้นโดยกล่าววาจาหยาบคายและต่อว่านายโชคชัย เป็นเหตุให้นายโชคชัยบันดาลโทสะเข้าชกต่อยโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพียงกรณีที่โจทก์ถูกนายโชคชัยทำร้ายร่างกายแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยโจทก์มิได้ทำร้ายตอบโต้ และโจทก์มีตำแหน่งหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยเท่าเทียมกับนายโชคชัย ทั้งห้องเกิดเหตุก็เป็นห้องสำนักงานรักษาความปลอดภัยอันเป็นที่ทำงานเฉพาะส่วนของพนักงานรักษาความปลอดภัย บุคคลภายนอกไม่สามารถที่จะเข้าไปหรือเห็นเหตุการณ์หรือได้ยินเสียงทะเลาะวิวาทได้
++ จึงถือไม่ได้ว่า การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
++ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังรับเงินชดเชยทำให้ขาดสิทธิฟ้อง
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆจากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงิน หรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยเมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลย รับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็น ซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่ การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาเป็นยุติว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 7 เดือนเป็นเงิน 560,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาทและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชย ค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิ์ในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากการบอกเลิกสัญญา, การริบผลงาน, และการหักชดเชยค่าจ้างเพิ่ม
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเป็นเงิน53,200,000 บาท จำเลยที่ 1 ส่งมอบงาน 5 งวด รับเงินไปแล้ว14,151,200 บาท เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาสร้าง จำเลยที่ 1ไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันที่ธนาคารได้ส่งเงินตามสัญญาค้ำประกันจำนวน 2,660,000 บาท แต่หนังสือค้ำประกันมิใช่สิ่งซึ่งจะพึงริบ เมื่อมีการเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(2) เงินจำนวน 2,660,000 บาท ที่ธนาคารส่งมอบให้แก่โจทก์จึงมิใช่มัดจำแต่เป็นเงินประกันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสองกำหนดว่า เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นใน ฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ ริบเบี้ยปรับแล้วต้องนำเบี้ยปรับที่ริบจำนวน 2,660,000 บาท ไปหักออกจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์ต้องไปจ้าง บุคคลภายนอก ให้ทำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในราคา62,900,000 บาท ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเพียง21,191,200 บาท การที่สัญญาจ้างระบุว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้นผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยผู้รับจ้างจะเรียกค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้นั้น เป็นการที่ผู้รับจ้างให้ สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่จำนวนเงินให้ เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบเบี้ยปรับนี้ได้ตามมาตรา 381 วรรคแรก เมื่อพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ผู้ว่าจ้างกับผลงานและ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างที่ปฏิบัติมาตามสัญญา เห็นได้ว่าเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นจำนวนพอสมควรแล้ว โจทก์ย่อม ริบผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าตอบแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ เกี่ยวกับค่าผลงานที่ทำไปแล้วอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำละเมิดจากการสำแดงเท็จเพื่อรับเงินชดเชยภาษีอากร ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันที่รับบัตรภาษี
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1ได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้น ต่อมากรมศุลกากรโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่หลอกลวงโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกบัตรภาษีคืนจากจำเลยทั้งสี่เป็นมูลหนี้ละเมิด จำเลยทั้งสี่จึงต้องตกเป็นผู้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดคือวันที่รับบัตรภาษีหาใช่นับแต่วันที่จำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือแจ้งให้คืนหรือชดใช้ราคาบัตรภาษีไม่
of 5