คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่ถือเป็นการป้องกันโดยชอบธรรม เนื่องจากไม่มีเหตุอันตรายที่ต้องป้องกัน
ผู้ตายกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน แต่มีเรื่องทะเลาะกันเป็นประจำจึงแยกกันอยู่ วันเกิดเหตุผู้ตายกับจำเลยไปบ้านเกิดเหตุเพื่อตกลงปัญหาเรื่องครอบครัวแต่ตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงจะออกจากบ้าน ผู้ตายนำอาวุธปืนออกมาวางที่ปลายเตียงเพื่อขู่ให้จำเลยอยู่กับผู้ตายและที่ผู้ตายพูดขู่จำเลยขณะจำเลยขยับตัวจะวิ่งก็เป็นเพียงขู่ไม่ใช่จำเลยหนีไปเท่านั้น แต่จำเลยเกรงว่าผู้ตายจะใช้อาวุธปืนของกลางยิงจำเลย ทั้งที่ไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่จะส่อว่าผู้ตายจะทำเช่นนั้น จึงถือว่าไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุสมควร แม้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเลิกจ้างตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจึงชอบธรรม
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 กำหนดข้อยกเว้นให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับไว้ใน (1) ถึง (5) แต่ก็มิได้หมายความว่า นอกจากข้อยกเว้นดังกล่าวแล้วนายจ้างไม่อาจเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเพราะเหตุอื่น ๆ ได้อีก หากนายจ้างมีเหตุผลที่จำเป็นไม่ว่าจะเกิดจากนายจ้างหรือลูกจ้าง นายจ้างก็ย่อมมีสิทธิที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ปรากฏว่าผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นลูกจ้างโจทก์ตามสัญญาจ้างชั่วคราวอันเป็นนโยบายช่วยเหลือบุตรและญาติเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีลูกจ้างในโครงการประมาณ 500คน เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้าง โจทก์บรรจุลูกจ้างดังกล่าวเป็นพนักงานประจำประมาณ350 คน และโจทก์ตั้งคณะทำงานโดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อบรรจุลูกจ้างที่เหลือ แต่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีเหตุผลและความชอบธรรมที่จะเลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดได้ นอกจากนี้โจทก์ยังเลิกจ้างลูกจ้างคนอื่น ๆ ที่ไม่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดจึงมิใช่เป็นเพราะสาเหตุจากการที่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภา หรือเพราะเหตุที่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น ไม่ถือว่าโจทก์มีเจตนากลั่นแกล้งเลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ด แต่เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลและจำเป็นมิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824-1825/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่สืบเนื่องจากคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ถอดถอนกรรมการ ถือเป็นการเลิกจ้างโดยชอบธรรม
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากกรรมการของธนาคารพาณิชย์จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเนื่องจากจำเลยดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ซึ่งเป็นอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะออกคำสั่งดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 24 ตรีซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505(ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2540 มาตรา 4 และให้ถือว่าเป็นการออกคำสั่งโดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของจำเลยด้วย ทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการอีกต่อไป จึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังเลิกจ้าง: ข้อจำกัดที่ชอบธรรมและผลผูกพันทางสัญญา
สัญญาแนบท้ายสัญญาจ้างแรงงานมีว่า ในระหว่างการจ้างงานหรือภายใน 5 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงจำเลยจะต้องไม่ทำงานให้แก่บริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์หรือมีหุ้นในบริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อจำกัดห้ามการประกอบอาชีพอันเป็นการแข่งขันกับโจทก์ และระบุจำกัดประเภทของธุรกิจไว้อย่างชัดเจน มิได้เป็นการห้ามจำเลยประกอบอาชีพอันเป็นการปิดทางทำมาหาได้อย่างเด็ดขาด และจำเลยสามารถที่จะประกอบอาชีพหรือทำงานในบริษัทประกอบธุรกิจที่อยู่นอกเหนือข้อตกลงและนอกขอบเขตพื้นที่ที่ห้าม ลักษณะของข้อตกลงที่ก่อให้เกิดหนี้ในการงดเว้นการกระทำตามที่กำหนดโดยความสมัครใจของคู่กรณีเช่นนี้ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดทีเดียว เพียงแต่เป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่เป็นการแข่งขันกับโจทก์ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบในเชิงของการประกอบธุรกิจ ไม่เป็นการปิดการทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ ย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยไปทำงานกับบริษัทอื่นซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับโจทก์หลังจากโจทก์เลิกจ้างแล้วภายในกำหนดเวลาห้าม อันเป็นการผิดสัญญาซึ่งจำเลยต้องรับผิด แต่ความรับผิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งการกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่มีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทโดยศาล ชอบธรรมหากประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นเดิม
เดิมศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ข้อ 1 จำเลยทั้งสองเช่าที่ดินและค้างชำระค่าเช่าที่ดินโจทก์หรือไม่ เพียงใด ข้อ 2 โจทก์บอกเลิกการเช่าที่ดินโดยชอบหรือไม่ ข้อ 3 โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด ต่อมาศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นว่า ข้อ 1 ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ และข้อ 2 จำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จากโจทก์ที่ 2 และค้างชำระค่าเช่าหรือไม่ และค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใด เป็นเรื่องที่ศาลต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ เมื่อฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จึงจะมาพิจารณาต่อว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทหรือไม่ หากฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไปในเรื่องการเช่าและค่าเสียหายอีก จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองไม่เคยขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่มีการเช่าที่ดินพิพาท อันเป็นการนำสืบไปตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 เดิม และขณะเดียวกันก็สืบไปตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 และข้อ 2 ใหม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ภายหลังไม่มีผลต่อการนำสืบและรับฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลชั้นต้นเพิกถอนการชี้สองสถานเดิมและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ โดยมีเนื้อหาหรือข้อตามที่ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น แต่ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดใหม่ยังคงมีความหมายรวมอยู่ในประเด็นเดิมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3918/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์รวมชอบธรรม หากเกี่ยวข้องกับประเด็นฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลย ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งหรือใช้ราคาแทน จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยผู้เดียว โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแทนจำเลยขอให้บังคับโจทก์ถอนชื่อออกจากการเป็นเจ้าของรวม ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำฟ้องแย้งจึงมีว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทหรือไม่ คำฟ้องและคำฟ้องแย้งจึงเกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน ชอบที่จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ และก่อเหตุทำร้ายร่างกาย ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าห้ามเล่นการพนันก่อการทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายลักทรัพย์หรือก่อกวนความสงบสุขหรือก้าวก่ายการปฏิบัติงานของพนักงานอื่นซึ่งหากคนงานกระทำผิดข้อบังคับดังกล่าวจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่โจทก์มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของอ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบงานของอ. และอ. จะตอบคำถามของโจทก์หรือไม่ก็ได้เมื่ออ. ไม่ยอมพูดด้วยโจทก์ก็น่าจะรู้ว่าอ.ไม่ต้องการให้โจทก์ไปรบกวนเวลาที่กำลังทำงานระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ระบุห้ามไว้ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตามแต่โจทก์กลับหาเรื่องชกต่อยอ.ถึง2ทีเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายไปก่อเหตุขึ้นก่อนจะอ้างว่าได้กระทำไปเพราะบันดาลโทสะเนื่องจากอ. แสดงอาการยียวนหาได้ไม่การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยและเป็นความผิดทางอาญาด้วยจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583ด้วยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปดำเนินการในบริษัทคู่แข่งโดยชอบธรรม แม้มีข้อพิพาทเรื่องการถือหุ้นและบริหารงาน ไม่ถึงขั้นบุกรุก
เดิมบริษัท ต.มี บ. เป็นกรรมการผู้จัดการได้ดำเนินกิจการขาดทุน และมีเจ้าหนี้จำนวนมากป.เข้าช่วยเหลือโดยตั้งบริษัทย.ผู้เสียหายขึ้นมาเพื่อดำเนินการแทน โดยฝ่ายบ.ถือหุ้นในบริษัทผู้เสียหายร้อยละ 45 ของหุ้นทั้งหมด และบริษัทต.ทำสัญญาให้บริษัทผู้เสียหายเช่าโรงงานและเครื่องจักรด้วย เมื่อปรากฏว่าป.ถือสิทธิเข้าดำเนินการบริหารบริษัทผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวทำให้บริษัทผู้เสียหายเป็นหนี้ธนาคารถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาทท่วมทุนจดทะเบียนของบริษัทผู้เสียหายซึ่งมีอยู่เพียงหนึ่งล้านบาทและกีดกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ถือหุ้นฝ่ายบ.ถึงขนาดที่บริษัทต.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าโรงงานไปแล้ว เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการบริษัทต.และจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัทผู้เสียหายกับพวกย่อมเข้าใจว่ามีความชอบธรรมที่จะเข้าไปดำเนินการบริหารบริษัทผู้เสียหายได้ ทั้งการเข้าไปดำเนินการก็เป็นการกระทำโดยเปิดเผยการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากยุบหน่วยงานเพื่อปรับปรุงการผลิต ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดถึงการพ้นสภาพของพนักงานว่าเนื่องจากเหตุผลของบริษัทหรือเหตุผลอื่นดังต่อไปนี้ ปิดหรือยุบหน่วยงานในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานหรือบางส่วนของหน่วยงาน ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็นกรณีที่ปิดหรือยุบหน่วยงานเพราะจำเลยประกอบกิจการค้าขาดทุนเท่านั้น หากจำเลยมีความจำเป็นจะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานด้วยเหตุผลอื่นที่สมควรก็ย่อมทำได้ การที่จำเลยมีความจำเป็นต้องยุบหน่วยงานกองโรงพิมพ์ที่โจทก์ทำงานอยู่เนื่องจากจำเลยได้ขยายการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นเหตุให้กองโรงพิมพ์ไม่สามารถผลิตของบรรจุสินค้าได้ทันความต้องการ จำต้องแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเครื่องจักรและหาเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการผลิตของโดยชักชวนบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีความชำนาญงานด้านนี้มาร่วมก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้น ย่อมเป็นผลให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ต้องพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ยอมโอนไปเป็นลูกจ้างในบริษัทใหม่จึงมีเหตุอันสมควรและชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินติดกัน และการก่อสร้างรุกล้ำเขตที่ดิน การก่อสร้างในที่ดินของตนเองย่อมชอบธรรม
ที่ดินของจำเลยอยู่ชิดผนังตึกของโจทก์ จำเลยชอบที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนได้ จำเลยได้สร้างคันหินคอนกรีตกับกำแพงซ้อนคันหินและหลังคาในที่ดินของจำเลย ซึ่งแม้จะปิดช่องหน้าต่างของโจทก์แต่มิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ อาคารของโจทก์ก็สร้างผนังตึกชิดติดแนวเขตที่ดินจำเลย ซึ่งโจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าฝาผนังตึกของโจทก์ย่อมมีสภาพเหมือนเป็นกำแพงรั้วกั้นเขตที่ดินโจทก์และจำเลยจำเลยย่อมใช้ประโยชน์จากฝาผนังตึกนี้ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเปิดหน้าต่างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย และไม่มีสิทธิเปิดช่องทางเดินผ่านไปยังที่ดินของจำเลย การที่จำเลยได้ทำการก่อสร้างดังกล่าว แม้จะทำให้โจทก์ไม่สามารถเปิดหน้าต่างชั้นลอยด้านที่ติดกับที่ดินของจำเลยและไม่สามารถใช้ช่องทางผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของจำเลยได้ ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ และไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้การก่อสร้างของจำเลยจะไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามกฎหมายไม่เกี่ยวกับโจทก์
of 5