คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชั่วคราว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8678/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างหยุดกิจการบางส่วนชั่วคราวได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยวิธีการสลับกลุ่มลูกจ้างหยุดงาน
ในกรณีที่นายจ้างประสบปัญหามีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะหยุดกิจการของตนได้โดยจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในระหว่างที่หยุดกิจการไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ แต่ตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดวิธีการในการหยุดกิจการไว้ว่าให้นายจ้างกระทำโดยวิธีใด นายจ้างจึงสามารถกำหนดวิธีการหยุดกิจการให้เหมาะสมแก่ความจำเป็นของกิจการนายจ้างได้ ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการโดยโจทก์แบ่งลูกจ้างออกเป็น 3 กลุ่ม ให้ลูกจ้างแต่ละกลุ่มสลับกันหยุดงานกลุ่มละ 6 วัน เป็นวิธีการการลดกำลังการผลิตโดยมีระยะเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร คือในระหว่างวันที่ 22 เมษายน 2545 ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2545 และระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2545 โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งให้ลูกจ้างคนหนึ่งคนใดหรือลูกจ้างกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดหยุดงานเป็นการเฉพาะ ย่อมถือได้ว่าเป็นการหยุดกิจการบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9846/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับคดี: กำหนดระยะเวลาการเฉลี่ยเงิน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยสั่งอายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับจาก ส. ผู้ถูกอายัด และผู้ถูกอายัดได้ส่งเงินจำนวนดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นตามคำสั่งอายัด ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2541 ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260(2) เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี ซึ่งศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีให้ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลได้ จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มีการชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว จึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินดังกล่าวก่อนสิ้นระยะเวลา14 วัน นับแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดี อันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตามมาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินอันเป็นทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการบริษัทชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมากระหว่างการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามรายงานการประชุมดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คน ให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้าน ที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งที่เกี่ยวกับการกำหนดวิธีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินชั่วคราว: การบอกเลิกสัญญาและการใช้สิทธิโดยสุจริต
จำเลยยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยบางส่วนทำแปลงเพาะชำต้นกล้ากระท้อนโดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่มีกำหนดระยะเวลา หากจำเลยต้องการที่ดินคืนวันใดจะแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร ดังนี้ เป็นการยอมให้โจทก์เข้าใช้สิทธิในที่ดินของจำเลยเป็นการชั่วคราวในลักษณะสิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง โจทก์จะอ้างว่าในการเข้าใช้ที่ดินเพื่อเพาะชำต้นกล้ากระท้อนย่อมเป็นที่รู้กันดีว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อประโยชน์ของโจทก์ฝ่ายเดียวมิได้ เมื่อเป็นกรณีสิทธิเหนือพื้นดินไม่มีกำหนดเวลาและจำเลยไม่ต้องการให้โจทก์เข้าใช้ที่ดินดังกล่าวต่อไป จำเลยย่อมบอกกล่าวให้โจทก์ออกไปจากที่ดินนั้นได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และไม่เป็นการผิดสัญญาหรือละเมิดต่อโจทก์
แม้จำเลยจะบอกกล่าวให้โจทก์ออกจากที่ดินของจำเลยภายใน2 วัน แต่โจทก์ก็ไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปภายในกำหนดดังกล่าว ตรงข้ามโจทก์กลับห้ามคนงานมิให้เข้าไป และโจทก์ได้ขนของออกไปจากที่ดินของจำเลยหลังจากจำเลยบอกกล่าวถึง 1 เดือนเศษ นับว่าจำเลยได้ให้เวลาแก่โจทก์พอสมควรแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งโจทก์ แม้จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9028/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อคุ้มครองสิทธิของโจทก์จากจำเลยที่อาจหลีกเลี่ยงหนี้
นอกจากตัวโจทก์จะมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 150,000 บาท ตามฟ้องแล้ว โจทก์ยังมีหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้มาแสดง มีเหตุให้น่าเชื่อในเบื้องต้นว่า ฟ้องของโจทก์มีมูลความจริง แม้โจทก์จะไม่มีพยานมาเบิกความให้ได้ความโดยแจ้งชัดว่าจำเลยยังมีเจ้าหนี้รายอื่นหรือจำเลยตั้งใจจะโอน ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของตนเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยักย้ายไปให้พ้นจากอำนาจศาล แต่โจทก์ก็มีผู้ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกันกับจำเลยมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยและสามีได้ลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้วโดยจำเลยจะได้เงินทดแทนต่าง ๆ หลังจากลาออกประมาณ2 เดือน ซึ่งโจทก์นำสืบว่าจำเลยจะได้รับประมาณ 500,000 บาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่น เมื่อเงินที่จำเลยจะได้รับเป็นทรัพย์ที่จำเลยสามารถปกปิดซ่อนเร้นหรือยักย้ายถ่ายเทได้โดยง่าย การที่จำเลยและสามีลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ย่อมทำให้จำเลยไม่มีอาชีพการงานที่แน่นอนมั่นคงหากจำเลยคิดบิดพลิ้วหรือหลีกเลี่ยงย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามบังคับหากโจทก์ชนะคดีในภายหลัง และกรณีไม่อาจรับฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยยังมีทรัพย์อื่นอีก ดังนี้เพื่อความยุติธรรม กรณีมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดเงินจำนวนที่จำเลยจะได้รับดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 (2) (ข)
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254วรรคหนึ่ง กำหนดให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว ซึ่งตามมาตรา 21 (3) ยกเว้นให้ศาลไม่ต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนเฉพาะพยานหลักฐานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โจทก์ขอให้อายัดเงินทั้งหมดที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจำนวน 500,000 บาทเศษ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้เพียง 250,000 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจึงเหมาะสมแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นให้มีหมายถึงผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อจัดการส่งเงินที่อายัดไปให้ศาลชั้นต้นโดยที่โจทก์ไม่ได้ขอนั้นก็เป็นการสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการอายัดเงินว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้ส่งมาที่ศาล หาได้เกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเช็คชั่วคราวและการบังคับคดี: การไม่ดำเนินการตามกำหนดทำให้หมายอายัดสิ้นผล
ภายหลังที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลไต่สวนบริษัทย.ที่ปฏิเสธนำเงินตามเช็คมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คดีถึงที่สุด และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีต่อไปภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับ ดังนั้นหมายอายัดเช็คตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในระหว่างพิจารณานั้น ย่อมยกเลิกไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2)การที่โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น โดยอ้างว่าอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ยื่นไม่พ้นกำหนดเวลา1 เดือน ตามกฎหมายนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน 23 แปลง ของจำเลยที่ 2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่น จึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไว้ต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้
การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมา ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากอายัดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา เป็นคดีต่างหากจากฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่เกิดจากการที่ศาลชั้นต้นอายัดที่ดินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์มูลหนี้ตามฟ้องแย้งเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากจากคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมชอบที่จำเลยจักฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์สินชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา: สิทธิของเจ้าหนี้และข้อห้ามการอายัดซ้ำ
กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น โจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดทรัพย์สินจำเลยตามคำสั่งศาลในชั้นนี้เป็นวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254 (1) มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 บทบัญญัติใน ป.วิ.พ. ลักษณะ 2แห่งภาค 4 ว่าด้วยการบังคับคดีที่มาตรา 259 ให้นำมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวนั้นหารวมถึงบทบัญญัติมาตรา 290 นี้ไม่ กรมสรรพากรผู้ร้องมีฐานะเสมือนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีรื้อถอนตึกแถวชั่วคราวได้ หากมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน และอาจเกิดความเสียหายหากบังคับคดี
ตึกแถวพิพาทจำนวน 11 คูหาเป็นส่วนหนึ่งของตึกแถวจำนวน 20คูหาที่โจทก์ดำเนินการบังคับคดีให้รื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์ซึ่งซื้อฝากมาจากภริยาจำเลย ต่อมาภริยาจำเลยได้ฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินดังกล่าว การที่จำเลยขอให้ระงับการขับไล่ผู้อยู่อาศัยและรื้อถอนตึกแถวพิพาทไว้ก่อนจนกว่าคดีที่ภริยาจำเลยฟ้องโจทก์ถึงที่สุดเสียก่อน เช่นนี้ ถือได้ว่ากรณีมีเหตุสมควรที่ศาลจะให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2).
of 6