คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชายทะเล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกที่ยังมิได้แก้ไขโฉนดใช้ต่อสู้แย่งกรรมสิทธิ์ได้ ที่ชายทะเลทำประโยชน์ได้ไม่ใช่สาธารณประโยชน์
ได้รับมรดกปกครองที่ดินมาโดยยังมิได้แก้โฉนด ก็ยกเป็นข้อต่อสู้ผู้แย่งกรรมสิทธิ์ได้. ที่ชายทะเลน้ำท่วมถึงบางฤดูอยู่ระหว่างป่าแสมกับที่นาเป็นที่มีโฉนดได้. เจ้าของทำนาเกลือ. ดังนี้ ไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ชายทะเลเป็นสาธารณสมบัติ เจ้าพนักงานไม่อาจออกโฉนดให้เอกชนได้ แม้มีพระราชหัตถเลขา
ที่ชายทะเลซึ่งน้ำท่วมถึงทุกวันนั้นแม้ก่อนบรรพ 4 ก็ถือว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 ม.35 เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจออกโฉนดซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินให้แก่เอกชน ๆ หาได้กรรมสิทธิไม่ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชเอกชนจะได้กรรมสิทธิในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ก็ต้องได้รับพระราชหัตถเลขาเป็นพิเศษจากพระเจ้าแผ่นดิน
ฟ้องตัดสิน โจทก์ฟ้องอ้างตนว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิที่ดิน ศาลมีหน้าที่วินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิอย่างเดียว ไม่ต้องวินิจฉัยถึงเรื่องครอบครองด้วยฟ้องที่กล่าวว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและได้ครอบครองใช้อำนาจเป็นเจ้าของนั้นเป็นฟ้องฐานอ้างกรรมสิทธิไม่ใช่อ้างสิทธิครอบครอง ที่ดินอาศัยชวนกันให้เข้าไปอยู่ในที่ที่มีสภาพปรากฎเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่แล้วไม่เข้าลักษณอาศัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9214/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินงอกริมตลิ่งสาธารณประโยชน์: สิทธิในที่ดินงอกเป็นของที่ดินสาธารณประโยชน์เดิม
ในขณะที่ ข. นำรังวัดที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เพื่อออกโฉนดที่ดินเลขที่ 1837 เมื่อปี 2508 นั้น ข. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในขณะนั้นได้ตกลงยินยอมให้นายอำเภอบางละมุงกันที่ดินส่วนสุดเขตทางด้านทิศตะวันตกที่ระบุว่าจดทะเลไปจนถึงทะเลในระยะ 15 เมตร ไว้เป็นที่ชายทะเลสาธารณประโยชน์ ซึ่งถือได้ว่า ข. ได้ยกหรืออุทิศที่ดินส่วนนั้นให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว แม้จะมิได้มีการทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือหรือจดทะเบียนโอนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว เมื่อที่ดินที่กันไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์เกิดที่งอกริมตลิ่งขึ้น ที่ดินที่งอกขึ้นนั้นย่อมเป็นทรัพย์สินของที่สาธารณประโยชน์แปลงนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1308 หาใช่เป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1837 ของโจทก์ไม่
จำเลยให้การตั้งประเด็นต่อสู้คำฟ้องโจทก์ว่า ตามหลักฐานที่ปรากฏในรูปแผนที่โฉนดที่ดินเลขที่ 1837 ระบุว่า ด้านทิศตะวันตกของที่ดินจดชายทะเล ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า "ที่ชายทะเล" หมายถึง "เขตระหว่างแนวน้ำทะเลต่ำสุดกับแนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุด" ซึ่งแสดงว่า แต่เดิมที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกที่เกิดที่งอกนั้นติดชายทะเลที่น้ำท่วมถึง ที่ดินที่น้ำขึ้นลงดังกล่าว (ชายหาด) ย่อมเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทประชาชนใช้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมิได้อยู่ติดกับทะเล แต่มีชายทะเล (ชายหาด) กั้นอยู่ระหว่างที่ดินของโจทก์กับพื้นน้ำทะเล ที่ดินที่งอกขึ้นจากชายทะเลดังกล่าว จึงเป็นที่ดินที่งอกขึ้นจากที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่งอกดังกล่าวจึงยังคงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพื้นที่ที่ดินที่งอกขึ้นมา ตามคำให้การของจำเลยเช่นว่านี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่งอกริมตลิ่งที่ดินพิพาท มิใช่ที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1837 ของโจทก์ โดยอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าที่งอกริมตลิ่งพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ชายทะเล ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หาใช่เป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1837 ของโจทก์ไม่ ส่วนที่จำเลยนำสืบว่าที่ชายหาดเป็นที่สาธารณประโยชน์ เนื่องจาก ข. เจ้าของที่ดินเดิมตกลงอุทิศให้แก่อำเภอบางละมุงนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่จำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้อเถียงตามคำให้การจำเลยในประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่งอกริมตลิ่งพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่สาธารณประโยชน์นั่นเอง จึงหาใช่เป็นการนำสืบและพิพากษาคดีนอกฟ้องนอกประเด็นอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ ชายทะเล การพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการบังคับใช้กฎหมายที่ดิน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ชายทะเล และอยู่นอกเขต น.ส. 3 ก. ของบิดาจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าบุคคลใดมีเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว จึงถือว่าเป็นที่ดินของรัฐ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยไม่จำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดิน มาตรา 108 วรรคหนึ่ง หรือต้องมีการเวนคืนให้ที่ดินตกมาเป็นของรัฐ หรือร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเสียก่อน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคห้า บัญญัติว่า ในระหว่างอุทธรณ์ ไม่ให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารอันเป็นมูลกรณีแห่งการอุทธรณ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง ระหว่างจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ได้
เมื่อจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360 และ ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยมีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารพักอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และให้จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ ได้ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งต่างหาก เพราะเป็นการบังคับให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่