พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบ และการคิดดอกเบี้ยเมื่อผู้รับคืนไม่ชำระคืนตามกำหนด
เงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.41 บาท ที่โจทก์คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนตรวจสอบตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ มีข้อตกลงว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขอคืนภาษีอากรต้องเสียภาษี แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระภาษีอากรตามการแจ้งการประเมินหรือสั่งให้ชำระไม่ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือมีการโต้แย้งหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ยอมชำระให้จนครบถ้วนทันที การคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมิใช่การคืนให้โดยเด็ดขาด แต่เป็นการคืนโดยมีเงื่อนไขว่า หากผลการตรวจสอบปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าว จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีอากรที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้น เจ้าพนักงานของโจทก์เห็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย เป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.51 บาท ที่ได้รับคืนไป โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสองคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองไม่คืนให้จึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที 1 คืนเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ขอคืนไปจากโจทก์โดยไม่มีสิทธิได้ และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ปรากฏตามคำฟ้องว่า โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบโดยจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากร พ.ศ. 2529 ข้อ 15.2 ข. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ แม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์มิได้ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีอากรตามหนังสือแจ้งการประเมิน แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกัน เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ยังต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 12 ตุลาคม 2536 แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.41 บาท มาคืนโจทก์ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปคืนโจทก์ภายในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2536 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 รับคืนไปจากโจทก์จำนวน50,677,905.41 บาท ได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่14 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 มิใช่นับแต่วันที่14 ตุลาคม 2536 หรือวันที่จำเลยที่ 1 รับเงินจำนวนดังกล่าวคืนไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงิน 50,677,905.41 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่ม ดังนี้คำว่าเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา 27 กรณีบุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนและมาตรา 27 ทวิให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินภาษี ดังนั้น เงินเพิ่ม จึงมิใช่ดอกเบี้ย เมื่อกรณีพิพาทในคดีนี้ไม่มีเงินเพิ่มตามสัญญาค้ำประกันได้ระบุจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด จึงไม่ใช่การค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 683 จำเลยที่ 2 จึงคงรับผิดในวงเงิน 50,677,905.41 บาท แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 เมื่อโจทก์มีหนังสือลงวันที่ 15 ธันวาคม 2536 แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบว่าการตรวจสอบภาษีอากรเสร็จสิ้นแล้ว ผลการตรวจสอบจำเลยที่ 1 ต้องส่งคืนเงินภาษีอากรที่รับคืนเกินไปและให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 นำเงินจำนวน 50,677,905.41 บาทไปชำระแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่20 ธันวาคม 2536 แล้วไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวนดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2536 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารการจ่ายเงินไม่ใช่สัญญากู้ยืม แม้มีข้อความระบุการชำระคืน ศาลฎีกายืนตามอุทธรณ์ ยกฟ้อง
ตอนแรกของเอกสารเป็นรายการจ่ายเงินให้แก่จำเลยซึ่งมีทั้งเงินสดและเช็ค ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และจะชดใช้ให้โจทก์อย่างไรแม้จำเลยลงลายมือชื่อตามรายการดังกล่าว ก็ไม่เป็นหลักฐานว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ ส่วนตอนที่สองอยู่ในช่องหมายเหตุที่ระบุว่า จำเลยรับเงินสดพร้อมเช็คจำนวนรวม 300,000 บาท จะนำต้นเงินและดอกเบี้ยมาชำระคืนให้โจทก์ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2524 จำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อ รับรองเนื้อความดังกล่าว จึงไม่เป็นหลักฐานการกู้เงิน สภาพของเอกสาร แสดงว่าข้อความในช่องหมายเหตุ ได้พิมพ์ขึ้นภายหลังข้อความตอนแรก แบบของเอกสาร ก็ไม่ใช่เป็นสัญญากู้เงิน แต่เป็นใบสำคัญการจ่ายเงิน ซึ่งจำเลยรับไปในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม การเมืองนำไปใช้จ่ายในการโฆษณาหาชื่อเสียงของพรรค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินต้องชัดเจนว่ามีเจตนาจะกู้ยืมและชำระคืน เอกสารเพียงแค่การจ่ายเช็คไม่ถือเป็นหลักฐาน
เช็คที่จำเลยลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ก็ดี หรือเช็คที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยและจำเลยนำไปรับเงินแล้วก็ดี ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
ความในเอกสารมีว่า คุณอาจิน (โจทก์) ที่นับถือ ผม(จำเลย) ให้สุวพรมาหา ผมกำลังวิ่งหาซื้อของจะขึ้นไปหน่วยงาน ที่ผมเรียนไว้เมื่อเช้าว่าจะเอาคืนก่อน 400,000 ผมคิดรายการที่จำเป็นจะต้องใช้ดูไม่ค่อยพอดี จึงเขียนเช็คมาให้ 450,000 ขอให้คุณอาจิณจ่ายธนาคารเอเซียทรัสต์ ผมจะให้สุวพรไปทำแคชเชียร์เช็คจากธนาคารเช่นนี้ ไม่มีข้อความตอนใดพอที่จะแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกัน หรือจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์จะใช้เงินคืนให้โจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
ความในเอกสารมีว่า คุณอาจิน (โจทก์) ที่นับถือ ผม(จำเลย) ให้สุวพรมาหา ผมกำลังวิ่งหาซื้อของจะขึ้นไปหน่วยงาน ที่ผมเรียนไว้เมื่อเช้าว่าจะเอาคืนก่อน 400,000 ผมคิดรายการที่จำเป็นจะต้องใช้ดูไม่ค่อยพอดี จึงเขียนเช็คมาให้ 450,000 ขอให้คุณอาจิณจ่ายธนาคารเอเซียทรัสต์ ผมจะให้สุวพรไปทำแคชเชียร์เช็คจากธนาคารเช่นนี้ ไม่มีข้อความตอนใดพอที่จะแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกัน หรือจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์จะใช้เงินคืนให้โจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินของหน่วยงาน การชำระคืนไม่ทำให้พ้นผิดทางอาญา
จำเลยเป็นพนักงานเสมียนการไฟฟ้าและได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการร้านค้าการไฟฟ้าของโจทก์ร่วม ได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไป การที่จำเลยนำเงินที่ยักยอกไปมาชำระให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้น ไม่ทำให้พ้นความรับผิดทางอาญา โจทก์ร่วมย้งคงเป็นผู้เสียหายในความผิดทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน: ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเงินคืนได้ทันที และสิทธิในการทำกินต่างดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อมีคำพิพากษา
กู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน ผู้ให้กู้เรียกให้ชำระเงินได้โดยพลัน ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง
สัญญากู้มอบที่สวนให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปตั้งแต่วันศาลพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จ ชั้นฎีกาไม่มีข้อโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ จึงต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันพิพากษา ส่วนการทำกินต่างดอกเบี้ย เมื่อพิพากษาแล้วต่อไปไม่คืนสวน เป็นคนละเรื่องกัน
สัญญากู้มอบที่สวนให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปตั้งแต่วันศาลพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จ ชั้นฎีกาไม่มีข้อโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ จึงต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันพิพากษา ส่วนการทำกินต่างดอกเบี้ย เมื่อพิพากษาแล้วต่อไปไม่คืนสวน เป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14143/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาภารจำยอมและการเรียกร้องดอกเบี้ยของต้นเงินที่ชำระคืน
กรณีเป็นการเลิกสัญญาโดยสมัครใจซึ่งคู่กรณีแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามวรรคสองของบทมาตราดังกล่าวบัญญัติถึงเงินที่ต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวนั้นให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย โดยให้คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ สำหรับการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานและดอกเบี้ย ป.พ.พ. มาตรา 329 ไม่ได้บังคับว่าลูกหนี้จะขอชำระหนี้อันเป็นประธานโดยยังไม่ชำระดอกเบี้ยไม่ได้เสียเลย เพียงแต่ให้สิทธิเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ระบุให้จัดใช้หนี้อันเป็นประธานก่อนโดยยังไม่ชำระดอกเบี้ย เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้เท่านั้น คดีนี้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2538 จำเลยได้รับเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินภาระจำยอมจากโจทก์ 6,749,540 บาท ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2547 โจทก์จำเลยสมัครใจเลิกสัญญาใช้ที่ดินภาระจำยอมดังกล่าวและจำเลยขอชำระต้นเงินจำนวน 6,749,540 บาทคืน โจทก์รับชำระไว้โดยไม่ได้บอกปัด จึงถือว่าโจทก์ได้รับชำระต้นเงินจำนวน 6,749,540 บาทแล้ว จำเลยจึงยังคงค้างชำระดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2538 (ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับต้นเงินดังกล่าวจากโจทก์) ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2547 อันเป็นวันที่จำเลยนำต้นเงินมาชำระคืนให้แก่โจทก์ เป็นเงินค่าดอกเบี้ยค้างชำระ 4,558,713.28 บาท เมื่อโจทก์รับชำระต้นเงินทั้งหมดไว้แล้วในวันที่ 11 มิถุนายน 2547 จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยของต้นเงิน 6,749,540 บาท ภายหลังวันที่ 11 มิถุนายน 2547 อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีสรรพสามิตโดยมิชอบ ผู้รับคืนต้องชำระคืนพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งการที่จำเลยได้รับคืนเงินค่าภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยไปจากโจทก์ก็เนื่องจากจำเลยอ้างว่าได้นำน้ำมันที่ชำระค่าภาษีอากรแล้วเติมให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยเรือดังกล่าวให้ไปต่างประเทศแล้ว จำเลยจึงใช้สิทธิขอรับภาษีที่ชำระแล้วคืนตามมาตรา 102 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้รับคืนเงินค่าภาษีไปโดยมีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงมิใช่เรื่องลาภมิควรได้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 โดยอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ซึ่งได้แก่วันที่จำเลยได้รับหักคืนภาษีไปโจทก์ได้อนุมัติให้คืนเงินภาษีและจำเลยนำไปหักคืนภาษีแล้วในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2535 เรื่องมาจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2538 อันเป็นครั้งสุดท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 18 กันยายน 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 137 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาหรือชำระขาดจากจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เมื่อจำเลยรับคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้วจึงเป็นการไม่ชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วนจึงต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 137 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาหรือชำระขาดจากจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เมื่อจำเลยรับคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้วจึงเป็นการไม่ชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วนจึงต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนแล้วไม่ชำระคืน ถือเป็นคำให้การขัดแย้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และภริยาโจทก์ช่วยชำระค่าปรับ 1,451,450 บาท ในข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่า 500 กรัม ต่อกรมสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองตกลงจะร่วมกันนำเงินดังกล่าวมาชำระคืนให้แก่โจทก์และภริยาในภายหลัง จำเลยทั้งสองให้การในตอนแรกว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ขอให้โจทก์ชำระหนี้ค่าปรับแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระค่าปรับเองแต่จำเลยทั้งสองกลับให้การในตอนหลังว่า หนี้ค่าปรับมิใช่เงินของโจทก์ ถ้าทางพิจารณาฟังได้ว่าเป็นเงินของโจทก์ซึ่งเป็นการชำระหนี้แทน ฟ้องโจทก์ก็ขาดอายุความ กรณีจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าหนี้ค่าปรับที่ชำระแก่กรมสรรพสามิตเป็นเงินของจำเลยที่ 1 หรือเป็นเงินของโจทก์ และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การยอมรับหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่มีสิทธินำพยานของตนเข้าสืบ