คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,604 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8694/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาชำระหนี้จากการขายทอดตลาด ไม่ขัดต่อกฎหมาย และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โดยกำหนดเงื่อนไขการเข้าสู้ราคาและข้อสัญญาว่า ผู้ซื้อทรัพย์ได้ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันซื้อเป็นต้นไปนั้น ระยะเวลา 15 วัน ที่กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์นำเงินส่วนที่เหลือมาชำระตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อการชำระหนี้ มิใช่อายุความตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งคู่กรณีจะตกลงกันให้งดใช้หรือขยายออกหรือย่นเข้าไม่ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/11 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ซื้อทรัพย์ตกลงกันขยายระยะเวลาวางเงินส่วนที่เหลือออกไปอีกจึงหาเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 510 และ 515 ไม่ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งและการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีเช่นว่านี้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่จำต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8215/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่สละสิทธิในการเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันระบุว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระภาษี เมื่อโจทก์แจ้งจำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระก่อน และสละสิทธี่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 และ 689 อันมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท เท่านั้น ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 24 แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในศาลภาษีอากรกลางอันเป็นการไม่ถูกต้อง และต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการชำระหนี้โดยหักเงินจากผู้จ่ายเงินของจำเลย ศาลไม่อาจบังคับได้หากบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา
ในสัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยยินยอมให้ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่จ่ายเงินหักเงินได้รายเดือนของจำเลยตามจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระส่งชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ตั้งแต่มาตรา 271 ถึงมาตรา 323 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์กับจำเลยจะตกลงกันให้บังคับคดีโดยวิธีการอย่างอื่นไม่ได้ คำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์มีสิทธิขอรับเงินได้รายเดือนจากผู้มีอำนาจจ่ายเงินเพื่อจ่ายให้โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมจนกว่าจะครบถ้วนนั้น เท่ากับยินยอมให้โจทก์ขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้มีอำนาจหักเงินรายได้ของจำเลยได้โดยไม่ต้องขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและไม่ต้องดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลย จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดี ศาลฎีกาไม่อาจสั่งให้ได้
แม้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องตกลงวิธีการชำระหนี้กันไว้ล่วงหน้าโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ข้อตกลงเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกผู้ทำหน้าที่หักเงินได้ ตราบใดที่โจทก์และจำเลยยังสมัครใจปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บุคคลภายนอกก็ดำเนินการหักเงินได้ของจำเลยส่งให้โจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยเปลี่ยนใจไม่ยอมชำระหนี้ให้ บุคคลภายนอกก็ไม่ยอมหักเงินส่งให้โจทก์ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นสิทธิของโจทก์และจำเลยที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่ถูกผูกพันว่าจะต้องมีหน้าที่หักเงินส่งให้โจทก์ตลอดไป การที่จะบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อสัญญาเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่คู่สัญญาตกลงกัน กรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการบังคับให้จำเลยยินยอมชำระหนี้ต่อไปโดยบุคคลภายนอกดำเนินการหักเงินได้รายเดือนของจำเลยเพื่อจ่ายให้โจทก์ เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ต่อไปตามสัญญาได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการกู้ยืมเงิน จำนองประกัน และการชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการกู้ยืม จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ แต่จำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้ของ ส. บุตรชายจำเลย ดังนี้เป็นการต่อสู้ว่าไม่มีหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานตามฟ้อง มีแต่หนี้เงินกู้ยืมของ ส. บุตรชายที่จำเลยเพียงแต่จำนองประกันหนี้เท่านั้น ซึ่งหากคดีฟังได้ตามข้อต่อสู้ ก็เท่ากับว่าไม่มีหนี้เงินกู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ก็ไม่อาจบังคับจำนองที่ดินพิพาทอันเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ คดีจึงมีประเด็นด้วยว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และพิพากษาคดีมา จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ 183 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเสียก่อน แต่กลับฟังข้อเท็จจริงยุติไปเลยว่า จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเพื่อประกันการกู้ยืมเงินของ ส. ย่อมเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นเพิ่มและวินิจฉัยให้เสร็จไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
คดีนี้จำเลยให้การเพียงว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปจดทะเบียนขายฝากจำนวน 715,000 บาท เพื่อชำระหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระแก่โจทก์ มิได้ให้การถึงการขายฝากที่ดินแปลงอื่นอีก การที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดินแปลงอื่นจำนวน 3 แปลง ไปขายฝากแก่บุคคลภายนอกแล้วนำเงินที่ได้จากการขายฝากจำนวน 200,000 บาท ไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 แต่ที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปขายฝากแก่ ก. บุตรชายโจทก์และโจทก์หักเงินที่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม เป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ยค้างชำระ มิใช่เป็นการนำสืบถึงการใช้ต้นเงินจึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นโมฆะเพราะเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด การชำระดอกเบี้ยจึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 ซึ่งจะนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินไม่ได้
คำแถลงรับของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้คืนบางส่วนจากจำเลย ย่อมผูกพันโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักยอดหนี้ค้างชำระได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยว่าการรับฟังพยานหลักฐานนอกประเด็นเพื่อวินิจฉัยชำระหนี้ด้วยรถยนต์แทนเช็ค เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อปลายปี 2516 จำเลยสั่งจ่ายเช็คสองฉบับแต่มิได้ลงวันที่สั่งจ่ายแล้วนำเช็คดังกล่าวมาแลกเงินจากโจทก์ โดยตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เดือนละครั้ง จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เรื่อยมาจนถึงกลางปี 2535 จึงหยุดชำระดอกเบี้ย โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยขอผัดผ่อน โจทก์จึงลงวันที่ในเช็คพิพาทแล้วนำไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การรับว่า เมื่อปลายปี 2516 จำเลยนำเช็คพิพาทไปขอแลกเงินจากโจทก์จริง แต่หลังจากที่โจทก์รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับจากจำเลยแล้ว โจทก์ปฏิเสธไม่ให้เงินแก่จำเลยและโจทก์มิได้คืนเช็คพิพาทให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ลงวันที่ในเช็คพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย เป็นการลงวันที่ในเช็คพิพาทหลังจากรับเช็คไว้ถึง 28 ปีเศษ จึงไม่ใช่เป็นการลงวันที่ในเช็คโดยสุจริตตามกฎหมาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า เมื่อปี 2525 ถึงปี 2529 จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยให้จำเลยนำรถยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 2 คัน มาโอนลอยไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกัน และจำเลยได้นำรถยนต์ทั้งสองคันมาตีใช้หนี้โจทก์จนครบถ้วนแล้ว โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีหนี้สินติดค้างกันอีก เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยได้กู้ยืมจากโจทก์ระหว่างปี 2525 ถึงปี 2529 มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่นำไปแลกเงินกับโจทก์เมื่อปลายปี 2516 ตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การไว้ จึงนำข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้มารับฟังว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ได้ยึดรถยนต์ทั้งสองคันของจำเลยแทนการชำระหนี้อันเป็นการคิดหักบัญชีชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเสร็จสิ้นแล้ว เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงไม่มีมูลหนี้กันอีก และพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6219/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการหักชำระหนี้ภาษีอากร: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นเอง และการให้หนี้ที่ตกหนักที่สุดได้รับการปลดเปลื้องก่อน
ในการจัดเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อบังคับเอาแก่ประชาชนผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรนั้น หน่วยงานที่จัดเก็บต้องปฏิบัติให้ถูกต้องภายในกรอบแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้ตลอดจนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อการนี้ รวมทั้งในเรื่องลำดับการหักชำระหนี้ภาษีอากรนั้น เมื่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาบังคับใช้ และกรณีนี้ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้เสียภาษีอากรตามกฎหมายภาษีอากรซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนที่มีบทลงโทษทั้งในทางแพ่งและทางอาญา ลำดับการหักชำระหนี้ภาษีอากรนี้จึงเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การไว้ ศาลภาษีอากรกลางก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
ในระหว่างหนี้ภาษีสรรพสามิต หนี้เบี้ยปรับ หนี้เงินเพิ่ม และหนี้ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย ซึ่งมีประกันเท่า ๆ กันนั้น หนี้ภาษีสรรพสามิตเป็นหนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลย เพราะหนี้ภาษีสรรพสามิตมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย ฉะนั้น จึงต้องนำเงินที่อายัดและเงินประกันมาหักชำระหนี้ภาษีสรรพสามิตก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6027/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค้ำประกัน: โจทก์ไม่รับชำระหนี้ต้องมีเจตนาและจำเลยต้องแสดงความพร้อมชำระหนี้
ก่อนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันถูกฟ้องจำเลยเคยพา ว. พี่เขยสามีจำเลยที่ 2 ไปพบ ค. พนักงานสาขาพุนพินของธนาคารโจทก์เพื่อนำเงิน 5,000,000 บาท ไปชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองส่วนของจำเลยที่ 2 แต่ ค. ไม่รับชำระหนี้ เพียงแต่ไปพูดคุยกับทางธนาคารเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 แสดงให้เห็นว่าตนมิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้นั้นได้ และยังมิได้ขอปฎิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ จึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ไม่รับชำระหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การชำระหนี้และการใช้สิทธิในการนำสืบพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินไว้ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินต้นเงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง แต่สำเนาสัญญากู้ยืมที่โจทก์ส่งคืนจำเลยไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เวนคืนหลักฐานแห่งการกู้ยืมแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงไม่สามารถนำสืบการใช้ต้นเงินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ได้ ส่วนการนำสืบการชำระดอกเบี้ยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนหลังหย่า: การโอนทรัพย์สินและการชำระหนี้ต้องควบคู่กัน
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกไว้ท้ายทะเบียนการหย่าว่า ทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ตกเป็นของโจทก์ทั้งหมด ส่วนหนี้สินอื่น ๆ กับสถาบันการเงินภายในสองจังหวัดดังกล่าวที่เกิดขึ้นก่อนวันหย่า โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระหนี้ทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะเป็นเรื่องของการจัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 แต่จำเลยต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้โจทก์ และโจทก์ต้องชำระหนี้แทนจำเลย ถือได้ว่ามีการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อมิได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยจะต้องโอนทรัพย์สินให้โจทก์ก่อน โจทก์จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงพร้อมกันไป การที่โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิไม่ยอมโอนทรัพย์สินให้โจทก์ ตามมาตรา 369 โจทก์จะยกข้อตกลงเฉพาะที่เป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวมาบังคับจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ภาษีอากรล่าช้าในคดีฟื้นฟูกิจการ: เหตุสุดวิสัยและพฤติการณ์พิเศษ
ขณะลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 ลูกหนี้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนฯ มาตรา 28 ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติ ต่อมาเมื่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีคำสั่ง ณ วันที่ 25 ธันวาคม ให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดที่ให้แก่ลูกหนี้แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าลูกหนี้ไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาแต่ต้นและต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของราคาและอัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนฯ มาตรา 55 ดังนั้น มูลค่าหนี้ภาษีอากรที่เจ้าหนี้ทั้งสองแจ้งการประเมินให้ลูกหนี้ชำระและนำมาขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการนั้นจึงเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ทั้งสองอาจนำมาขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ และเมื่อศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งลูกหนี้เป็นผู้ทำแผนแล้ว เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เนื่องจากไม่ปรากฏชื่อเจ้าหนี้ทั้งสองในบัญชีเจ้าหนี้ กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้แล้วว่า เป็นพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยที่เจ้าหนี้ทั้งสองไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/36 และเจ้าหนี้ทั้งสองได้เร่งดำเนินการไปตามขั้นตอนปฏิบัติราชการเพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการภายในเวลาอันสมควรภายหลังจากทราบว่าลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว กรณีจึงมีเหตุผลสมควรที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งสองไว้พิจารณาต่อไป
of 261