พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และสิทธิในการเรียกร้องเงินค่าอากรที่ชำระเกิน
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดง จึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแจ้งการประเมิน การชำระค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้โจทก์จะมิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืน ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้ายดังนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสีย นับแต่วันชำระอากรขาเข้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า เช่นกัน เพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืน แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 และมาตรา 112 ทวิ กล่าวคือ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ และให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งกรณีดังกล่าวพ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 (มาตรา 164 เดิม)
หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530ข้อ 2.3 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3 เดือน กับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.5 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 3 เดือน และตามคำสั่ง กค 0614(ก)/8024 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2532 ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530 ข้อ 2.2 ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้น ๆ ไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ 3 ถึง 4 ครั้ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน ที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2 ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็ว ก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือ ไอ.ซี.ไอ.เอส. (Indenpendent Chemical InformationService) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลก ราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ 3 ครั้ง ราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกัน การซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ ที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้ายดังนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสีย นับแต่วันชำระอากรขาเข้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า เช่นกัน เพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืน แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 และมาตรา 112 ทวิ กล่าวคือ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ และให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งกรณีดังกล่าวพ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 (มาตรา 164 เดิม)
หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530ข้อ 2.3 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3 เดือน กับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.5 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 3 เดือน และตามคำสั่ง กค 0614(ก)/8024 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2532 ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530 ข้อ 2.2 ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้น ๆ ไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ 3 ถึง 4 ครั้ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน ที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2 ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็ว ก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือ ไอ.ซี.ไอ.เอส. (Indenpendent Chemical InformationService) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลก ราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ 3 ครั้ง ราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกัน การซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ ที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนแต่ชำระเกินกว่าที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว ถือเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
อากรแสตมป์ที่ปิดในเอกสารสัญญากู้ไม่ได้ลงวันเดือนปีแต่ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ได้อีกเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความทางภาษีอากร: หนังสือแจ้งสิทธิและการยอมรับการชำระภาษีเกิน
เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรที่ได้เสียไว้เกินภายใน 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเป็นอันสิ้นไปตามพ.ร.บ. ศุลกากรฯ พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แต่กรมศุลกากรจำเลยโดยหัวหน้าฝ่ายกลาง กองพิธีการและประเมินอากร ปฏิบัติหน้าที่ตามที่จำเลยมอบหมาย มีหนังสือถึงโจทก์ภายหลังจากครบกำหนดอายุความว่าจำเลยได้พิจารณาสินค้าที่โจทก์นำเข้าและเสียอากรไว้นั้นปรากฏว่าภาษีอากรที่โจทก์ชำระไว้เกิน จึงให้โจทก์ไปติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อจัดทำใบขนให้ถูกต้อง และขอคืนเงินที่ชำระไว้เกิน ที่กองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออก ดังนี้เป็นการที่จำเลยยอมรับว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรไว้เกิน และให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่ชำระไว้เกินคืนจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน และการคิดดอกเบี้ยจากความผิดนัด
โจทก์เสียภาษีการค้าเกินอัตราให้แก่กรมสรรพากรจำเลยเป็นเรื่องหนี้เงินที่จำเลยเรียกเก็บผิดไปจากที่กฎหมายบัญญัติ เป็นเรื่องสิทธิเรียกร้องในหนี้เงิน เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินที่เรียกเก็บนั้น จำเลยก็ต้องคืนเงินอันมีจำนวนเงินที่เกินให้โจทก์ กรณีไม่ใช่เรื่องครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้เงินจำนวนนี้ไม่มีอยู่ที่จำเลย เพราะตกได้แก่ แผ่นดินและรัฐบาลได้ใช้จ่ายไปแล้วเพื่อการบำรุงประเทศ หรือโจทก์ได้บวกค่าภาษีที่ได้ชำระไปแล้วรวมเข้ากับต้นทุนสินค้าและจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ ก็หาเป็นเหตุที่จะทำให้จำเลย ไม่ต้องรับผิดไม่
เมื่อจำเลยได้รับการทวงถามจากโจทก์โดยชอบแล้ว ไม่ยอมคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกิน ถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดเป็นต้นมา
เมื่อจำเลยได้รับการทวงถามจากโจทก์โดยชอบแล้ว ไม่ยอมคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกิน ถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดเป็นต้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระเกินเนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามกฎหมาย
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่างๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่างๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลยดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่าภาษีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลยดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่าภาษีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การชำระเกินและผลทางกฎหมาย
สัญญากู้มีข้อสัญญาว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ตามกฎหมายย่อมถือว่ามีอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี เพราะกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และจะรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวนี้ไม่ได้แม้ใบรับเงินที่ผู้ให้กู้ออกให้แก่ผู้กู้จะปรากฏอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่านั้น ก็ไม่เป็นหลักฐานที่หักล้างว่าไม่ใช่ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะมิได้มีลายมือชื่อของผู้กู้ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในหนี้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้นถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าวโดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้นถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าวโดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ชำระเกินไป แม้ไม่มีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ โดยอ้างฐานลาภมิควรได้
เช่านาเขาทำ โดยชำระค่าเช่าล่วงหน้าครบถ้วนแล้วแต่ผู้ให้เช่ามอบนาให้ทำขาดจำนวนจากที่ตกลงกันไว้ ดังนี้ แม้การเช่าจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเช่าที่ชำระเกินไปคืนฐานลาภมิควรได้ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินที่ชำระเกิน การฟ้องใหม่ไม่ขาดอายุความหากอ้างฐานลาภมิควรได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักย้ายหลักเขตต์ที่ดินที่จำเลยขายแก่โจทก์ ขอให้จำเลยส่งมอบที่ดินที่ขาด หรือใช้ราคา ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องยักย้ายหลักเขตต์เป็นเรื่องเนื้อที่ที่ซื้อขายกันมีไม่ครบตามสัญญา และจะบังคับให้จำเลยใช้เงินราคาที่ดินไม่ได้ เพราะเป็นการฟ้องเรียกราคาที่ดินที่ขาด พิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีใหม่เรียกเงินที่ชำระให้แก่จำเลยเกินไป อันเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ จึงนำอายุความตามมาตรา 467 มาบังคับไม่ได้ ต้องบังคับตามมาตรา 419 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการเรียกคืนลาภมิควรได้.