พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีผลผูกพัน แม้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยล่าช้า และตัวแทนยังไม่ได้นำส่งเบี้ยประกัน
เมื่อเงื่อนไขการเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนดมิได้บังคับไว้โดยเด็ด ขาด โดยกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนด บริษัทจำเลยยังผ่อนผันขยายเวลาให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างได้ ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยที่ขาดชำระให้แก่ตัวแทนของจำเลยแล้ว ถือได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ตามเงื่อนไขนั้นแล้ว ไม่จำต้องให้จำเลยอนุญาตหรือแสดงเจตนาใหม่ในการรับต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย แม้ตัวแทนจำเลยยังไม่ได้นำเบี้ยประกันภัยส่งให้แก่จำเลย และในวันรุ่งขึ้นผู้เอาประกันภัยถูกรถชนถึงแก่ความตาย จำเลยก็ต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยาน การพิสูจน์สาเหตุการตาย และผลของกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อมีการชำระเบี้ยผ่านตัวแทน
ขณะศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำ ณ. เข้าสืบยังอยู่ระหว่างการนัดสืบพยานประเด็นโจทก์และโจทก์ยังไม่ได้แถลงหมดพยานทั้งหมดแม้จำเลยจะนำพยานเข้าสืบบ้างแล้วแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามโจทก์นำพยานมาสืบเพิ่มในกรณีนี้ จึงรับฟังคำพยานของ ณ. ได้ กรมธรรม์ประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุที่ ส. เอาประกันไว้กับจำเลยที่ 1 ระบุว่าในกรณีที่ ส. ถึงแก่กรรมเนื่องจากการประสบอุบัติเหตุจำเลยที่ 1 จะจ่ายเงินจำนวนประกันรวมจำนวนเงินประกันอุบัติเหตุให้แก่โจทก์ผู้รับประโยชน์ แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า ส.ป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจตีบก็ตามแต่เหตุที่ทำให้ส. ถึงแก่ความตายเนื่องมาจากการประสบอุบัติเหตุถูกสุกรเข้าชนที่ขาด้าน หลังล้มหงายศีรษะฟาด พื้นคอกสุกร กรณีจึงต้องถือว่า ส. ถึงแก่กรรมเนื่องจากการประสบอุบัติเหตุ มิใช่เนื่องจากการป่วยเจ็บอันเป็นเหตุยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดจ่ายเงินประกันตามสัญญา จำเลยที่ 3 ตัวแทนเชิด เก็บเบี้ยประกันตามที่ได้รับมอบหมายมาให้จำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 ผู้รับประกันภัยยังไม่ออกหลักฐานการรับชำระเบี้ยประกันให้โจทก์ ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยโดยผ่านทางจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว กรมธรรม์จึงยังไม่สิ้นผลบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันชำระเบี้ยประกัน และผลของการยอมรับชำระล่าช้า ทำให้กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ
ป. ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลยกำหนดชำระเบี้ยประกันปีละ 2 งวด หากไม่ชำระเบี้ยประกันตามกำหนด บริษัทจำเลยจะผ่อนเวลาให้อีก 30 วันโดยไม่คิดดอกเบี้ย ป. ชำระเบี้ยประกันแล้ว 3 งวด งวดที่ 4 ป. ไม่ได้ชำระภายในกำหนดหรือภายในเวลา 30 วันที่ผ่อนผันให้ตามกรมธรรม์ แต่ชำระให้หลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้ว 1 เดือนเศษ ทั้งยังชำระด้วยเช็ค ซึ่งลงวันที่ล่วงหน้าต่อไปอีก 1 เดือนเศษด้วย บริษัทจำเลยก็ยังตกลงรับเบี้ยประกันงวดนั้น ต่อมาในงวดที่ 5 ป. ก็ชำระหลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้วประมาณ 10 วัน และชำระด้วยเช็คซึ่งลงวันที่ล่วงหน้า 1 เดือนเศษโดยชำระแก่ผู้แทนของบริษัทจำเลย เมื่อบริษัทจำเลยทราบก็มิได้ทักท้วงประการใด แม้ตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันภายในเวลาที่ผ่อนให้ กรมธรรม์ย่อมขาดอายุและไม่มีผลบังคับ แต่พฤติการณ์ดังกล่าวของบริษัทจำเลยนั้น เห็นได้ว่าบริษัทจำเลย มิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์การที่บริษัทจำเลยไม่ทักท้วงในการที่ผู้แทนของบริษัทจำเลยรับชำระเบี้ยประกันงวดที่5 ที่ ป. ชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าเช่นนี้เท่ากับบริษัทจำเลยยอมสละเงื่อนไขดังกล่าวโดยผ่อนผันให้ ป. ชำระเบี้ยประกันงวดนี้ไปจนถึงวันที่ลงในเช็คกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงไม่ขาดอายุและยังมีผลบังคับอยู่ แม้ ป. จะตายก่อนที่เช็คนั้นจะถึงกำหนดชำระก็ไม่ทำให้กรมธรรม์ขาดอายุหรือไม่มีผลบังคับ บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาประกันภัย: การผิดสัญญาชำระเบี้ยประกันและสิทธิเรียกร้องค่าเคลมคืน
เดิมบริษัทประกันภัยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยศาลฎีกาพิพากษาว่าตามเงื่อนไขท้ายสัญญาประกันภัย มิใช่ให้โจทก์เรียกเบี้ยประกันภัยระหว่างที่พักกรมธรรม์นั้นได้ แต่ให้อำนาจเพียงที่จะเรียกร้องเงินค่าเคลมคืนเท่านั้น(ค่าเคลมคือค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามกรมธรรม์ประกันภัย) จึงพิพากษายกฟ้องบริษัทประกันภัยโจทก์มาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยชำระเงินค่าเคลมคืนตามเงื่อนไขในท้ายสัญญาประกันภัยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีแรกกับคดีนี้เป็นประเด็นคนละเรื่องกัน
เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า "กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปีแต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้ ทั้งนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ งวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์ หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ ผู้เอาประกันภัยยินดีจะให้เรียกร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆทั้งหมด" นั้น เป็นการทำสัญญาประกันภัยมีกำหนด 1 ปี จำเลยส่งเบี้ยประกันเพียง 29 งวด ไม่ได้ส่งจนครบอายุ 1 ปีจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์เป็นบริษัทรับประกันภัย ไม่ได้ทำการค้าขายอย่างใดไม่ใช่พ่อค้า การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเคลมที่จ่ายไปคืนจากจำเลยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์สัญญาประกันภัย ไม่ใช่การเรียกเอาค่าที่ (พ่อค้า) ได้ส่งมอบของ แต่เรียกเอาในฐานที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันภัย จึงไม่จำต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า "กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปีแต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้ ทั้งนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ งวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์ หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ ผู้เอาประกันภัยยินดีจะให้เรียกร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆทั้งหมด" นั้น เป็นการทำสัญญาประกันภัยมีกำหนด 1 ปี จำเลยส่งเบี้ยประกันเพียง 29 งวด ไม่ได้ส่งจนครบอายุ 1 ปีจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์เป็นบริษัทรับประกันภัย ไม่ได้ทำการค้าขายอย่างใดไม่ใช่พ่อค้า การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเคลมที่จ่ายไปคืนจากจำเลยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์สัญญาประกันภัย ไม่ใช่การเรียกเอาค่าที่ (พ่อค้า) ได้ส่งมอบของ แต่เรียกเอาในฐานที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันภัย จึงไม่จำต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาประกันภัย: การคืนเงินค่าเคลมเมื่อผู้เอาประกันผิดสัญญาชำระเบี้ยประกัน
เดิมบริษัทประกันภัยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัย.ศาลฎีกาพิพากษาว่าตามเงื่อนไขท้ายสัญญาประกันภัย.มิใช่ให้โจทก์เรียกเบี้ยประกันภัยระหว่างที่พักกรมธรรม์นั้นได้. แต่ให้อำนาจเพียงที่จะเรียกร้องเงินค่าเคลมคืนเท่านั้น(ค่าเคลมคือค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามกรมธรรม์ประกันภัย). จึงพิพากษายกฟ้องบริษัทประกันภัยโจทก์มาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยชำระเงินค่าเคลมคืนตามเงื่อนไขในท้ายสัญญาประกันภัยได้. ไม่เป็นฟ้องซ้ำ. เพราะคดีแรกกับคดีนี้เป็นประเด็นคนละเรื่องกัน.
เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า 'กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปีแต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้. ทั้งนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ งวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์. หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้. ผู้เอาประกันภัยยินดีจะให้เรียกร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆทั้งหมด' นั้น เป็นการทำสัญญาประกันภัยมีกำหนด 1 ปี จำเลยส่งเบี้ยประกันเพียง 29 งวด.ไม่ได้ส่งจนครบอายุ 1 ปี.จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย.
โจทก์เป็นบริษัทรับประกันภัย. ไม่ได้ทำการค้าขายอย่างใด. ไม่ใช่พ่อค้า.การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเคลมที่จ่ายไปคืนจากจำเลยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์สัญญาประกันภัย. ไม่ใช่การเรียกเอาค่าที่ (พ่อค้า) ได้ส่งมอบของ. แต่เรียกเอาในฐานที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันภัย. จึงไม่จำต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1).
เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า 'กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปีแต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้. ทั้งนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ งวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์. หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้. ผู้เอาประกันภัยยินดีจะให้เรียกร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆทั้งหมด' นั้น เป็นการทำสัญญาประกันภัยมีกำหนด 1 ปี จำเลยส่งเบี้ยประกันเพียง 29 งวด.ไม่ได้ส่งจนครบอายุ 1 ปี.จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย.
โจทก์เป็นบริษัทรับประกันภัย. ไม่ได้ทำการค้าขายอย่างใด. ไม่ใช่พ่อค้า.การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเคลมที่จ่ายไปคืนจากจำเลยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์สัญญาประกันภัย. ไม่ใช่การเรียกเอาค่าที่ (พ่อค้า) ได้ส่งมอบของ. แต่เรียกเอาในฐานที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันภัย. จึงไม่จำต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันชีวิตสิ้นอายุเมื่อชำระเบี้ยเกินกำหนด แม้จะมีการรับเงินภายหลังก็ไม่ถือเป็นการต่ออายุ
การประกันชีวิตซึ่งตามกรมธรรม์ระบุไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันคราวใดเมื่อถึงกำหนด กรมธรรม์เป็นอันสิ้นอายุ นั้น เมื่อผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันเมื่อพ้นกำหนดเวลาและล่วงพ้นวันผ่อนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว กรมธรรม์เป็นอันสิ้นอายุ ไม่มีผลผูกพันต่อไป บริษัทรับประกันจึงไม่ต้องรับผิด แม้ต่อมาผู้เอาประกันจะถึงแก่ความตายก็ตาม
ใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันที่มีเงื่อนไขว่ายังไม่สมบูรณ์มีผลบังคับจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามระเบียบการต่ออายุกรมธรรม์นั้น จะถือว่าการชำระเบี้ยประกันสมบูรณ์และเป็นการต่ออายุกรมธรรม์ย่อมไม่ได้
ใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันที่มีเงื่อนไขว่ายังไม่สมบูรณ์มีผลบังคับจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามระเบียบการต่ออายุกรมธรรม์นั้น จะถือว่าการชำระเบี้ยประกันสมบูรณ์และเป็นการต่ออายุกรมธรรม์ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยสิ้นสุดเมื่อชำระเบี้ยเกินกำหนด แม้มีโอกาสต่อสัญญา แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
สัญญาประกันชีวิต ถือการชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้เป็นสาระสำคัญแห่งสัญญา และเป็นเรื่องต่างตอบแทนกัน โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้เอาประกันภัย
การที่ผู้เอาประกันภัยส่งเบี้ยประกันภัยเกินกำหนดเวลาและล่วงพ้นวันผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว ถือว่าสัญญานั้นเป็นอันสิ้นสุดอายุ มีผลให้กรมธรรม์ประกันภัยเป็นอันสิ้นสุดบังคับไม่ได้ตามกฎหมายทันที หากจะให้มีผลบังคับต่อไปอีก ผู้เอาประกันภัยจะต้องปฏิบัติตามที่บริษัทผ่อนผันไว้ เช่น ทำใบรับรองสุขภาพในการขอต่อสัญญาที่ขาดอายุไปตามที่กำหนดในสัญญานั้น.
การที่ผู้เอาประกันภัยส่งเบี้ยประกันภัยเกินกำหนดเวลาและล่วงพ้นวันผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว ถือว่าสัญญานั้นเป็นอันสิ้นสุดอายุ มีผลให้กรมธรรม์ประกันภัยเป็นอันสิ้นสุดบังคับไม่ได้ตามกฎหมายทันที หากจะให้มีผลบังคับต่อไปอีก ผู้เอาประกันภัยจะต้องปฏิบัติตามที่บริษัทผ่อนผันไว้ เช่น ทำใบรับรองสุขภาพในการขอต่อสัญญาที่ขาดอายุไปตามที่กำหนดในสัญญานั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยสิ้นสุดเมื่อชำระเบี้ยประกันภัยเกินกำหนด และไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการต่อสัญญา
สัญญาประกันชีวิต ถือการชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้เป็นสาระสำคัญแห่งสัญญา และเป็นเรื่องต่างตอบแทนกันโดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้เอาประกันภัย
การที่ผู้เอาประกันภัยส่งเบี้ยประกันภัยเกินกำหนดเวลาล่วงพ้นวันผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้วถือว่าสัญญานั้นเป็นอันสิ้นสุดอายุ มีผลให้กรมธรรม์ประกันภัยเป็นอันสิ้นสุดบังคับไม่ได้ตามกฎหมายทันที หากจะให้มีผลบังคับต่อไปอีก ผู้เอาประกันภัยจะต้องปฏิบัติตามที่บริษัทผ่อนผันไว้เช่น ทำใบรับรองสุขภาพในการขอต่อสัญญาที่ขาดอายุไปตามที่กำหนดในสัญญานั้น
การที่ผู้เอาประกันภัยส่งเบี้ยประกันภัยเกินกำหนดเวลาล่วงพ้นวันผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้วถือว่าสัญญานั้นเป็นอันสิ้นสุดอายุ มีผลให้กรมธรรม์ประกันภัยเป็นอันสิ้นสุดบังคับไม่ได้ตามกฎหมายทันที หากจะให้มีผลบังคับต่อไปอีก ผู้เอาประกันภัยจะต้องปฏิบัติตามที่บริษัทผ่อนผันไว้เช่น ทำใบรับรองสุขภาพในการขอต่อสัญญาที่ขาดอายุไปตามที่กำหนดในสัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6577/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิต: ความรับผิดของบริษัทประกันภัยต่อการปฏิเสธจ่ายค่ารักษาพยาบาล และการชำระเบี้ยประกันภัยเกินกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 โดยผ่านจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โจทก์ส่งเบี้ยประกันภัยทุกปี ต่อมาโจทก์ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล แต่จำเลยที่ 1 ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอันเป็นการผิดสัญญา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้เบี้ยประกันภัยที่โจทก์ส่งไป ค่ารักษาพยาบาล และค่าพาหนะเดินทางไปรักษาพยาบาล อันเป็นการเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 และมาตรา 391 วรรคสาม ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอมานั้นจะเรียกได้หรือไม่ เพียงใด ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม