คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยการชำระแทนและการยอมทำสัญญาจำนองถือเป็นการส่งมอบเงินกู้ยืม
เดิม น. และจำเลยได้กู้ยืมเงิน ส. น้องโจทก์จำนวน 150,000 บาท ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์นำเงินกู้ยืมตามฟ้องไปชดใช้หนี้แก่ ส. โดยจำเลยยอมกู้ยืมเงินจากโจทก์และจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้จำนวน183,300 บาท แก่โจทก์แม้ในวันที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจำนองที่ดิน โจทก์จะไม่ได้ส่งมอบเงินกู้ยืมให้แก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อ ส. แทนจำเลยไป และจำเลยยอมทำสัญญาจำนองที่ดินแทนถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้ยืมให้แก่จำเลยแล้ว การกู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมบริบูรณ์ใช้บังคับระหว่างกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าธรรมเนียมแทนจำเลยในคดีแพ่ง ผู้ชำระไม่มีสิทธิขอคืนเงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้กองมรดกของจำเลยร่วมกันชำระเงิน แก่โจทก์ กับให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ จำเลย อุทธรณ์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระศาลภายในกำหนด ครบกำหนดแล้วจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1ทิ้งอุทธรณ์ ผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมของจำเลยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของจำเลยจึงได้ขออนุญาตนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลแทนผู้รับมรดกความแทนที่จำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาตและได้สั่งรับอุทธรณ์จำเลยแล้วแม้ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้รับมรดกความแทนที่จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตและคืนค่าขึ้นศาลให้กึ่งหนึ่งไปแล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลซึ่งตามคำร้องผู้ร้องระบุชัดว่า ขอวางแทนผู้รับมรดกความแทนที่จำเลย และการวางเงินดังกล่าวเป็นผลให้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไปแล้ว เมื่อจำเลยของถอนอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยังมีผลบังคับอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมมีสิทธิรับเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้และเมื่อผู้ร้องวางเงินจำนวนดังกล่าวแทนผู้รับมรดกความแทนที่จำเลย ย่อมมีผลเท่ากับผู้รับมรดกความแทนที่จำเลยที่ 1เป็นผู้วางเอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินนั้นคืน แม้ว่าจะเป็นเงินส่วนตัวของผู้ร้องเองก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการนำเข้าตราไปรษณียากร โดยผู้รับจ้างชำระค่าสินค้าแทน
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 และ ป.รัษฏากร มาตรา 77/1 (10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาท ต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากร ข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคา ซี.ไอ.เอฟ.จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัย การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7825/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันแยกจากลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง แม้มีข้อตกลงชำระเงินแทนทันที
จำเลยที่3มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามสัญญาจ้างคงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้นแม้จะมีข้อกำหนดในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่าจำเลยที่3ยอมชำระเงินแทนให้โจทก์ทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระก่อนก็ไม่ทำให้จำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้างและไม่ทำให้จำเลยที่1กลายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่1และที่2รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3566/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนชำระเบี้ยประกันภัยแทนตัวการ: สิทธิเรียกคืนเงินทดรอง & หักกลบลบหนี้
จำเลยมอบให้โจทก์เป็นผู้หาบริษัทประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลย เมื่อสิ้นสุดอายุสัญญาแล้วจำเลยขอให้โจทก์จัดการต่ออายุกรมธรรม์ไปอีก 1 ปี โจทก์ได้จัดการให้และได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้จากจำเลย ดังนี้จำเลยจะยกข้อตกลงในสัญญาประกันภัยที่ว่าเมื่อจำเลยไม่ส่งเบี้ยประกันภัยในงวดต่อไป ถือว่าสัญญาประกันภัยเป็นอันสิ้นสุดลงนั้น มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกเป็นข้อต่อสู้ได้เฉพาะกับบริษัทผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น
การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยกรณีนี้ เป็นเรื่องตัวแทนเรียกเงินทดรองที่จ่ายไปคืนจากตัวการ มิใช่กรณีที่โจทก์เป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่น หรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นรวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) กรณีเป็นเรื่องไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
บริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เรือของจำเลยซึ่งเอาประกันภัยไว้ถูกปล้น โดยจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ไว้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยยังมิได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงเงินจำนวนดังกล่าวไว้และมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมประกันตัว จำเลยหลบหนี ศาลปรับ โจทก์ชำระแทน มีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันประกันตัวจำเลยในคดีอาญาแล้วผิดสัญญาถูกศาลสั่งปรับ ศาลได้บังคับคดีเอาที่ดินที่โจทก์นำมาประกันขายทอดตลาด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าปรับในนามของโจทก์กับจำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดคนละส่วนเท่าๆ กันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 หนึ่งในสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีเงินได้แทนลูกจ้าง และการคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบเพื่อการผลิต
โจทก์เป็นผู้ยื่นชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้เองโดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไม่ได้ประเมินเรียกให้โจทก์ชำระดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่มีการประเมินเรียกเก็บโจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และเมื่อโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจนำคดีมาฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ค่าภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายการที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืนแม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนโดยต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกันส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึง ตุลาคม 2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการชำระหนี้ไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกันหากไม่มีข้อตกลงชำระแทน
หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้มีข้อความในตอนท้ายว่า "ข้าพเจ้า (ระบุชื่อ) ขอรับรองการชำระเงินของ ช. (ลูกหนี้) ตามข้อความข้างต้นทุกประการ" แล้วลงชื่อกำกับไว้ในช่อง "ผู้รับรอง"ท้ายข้อความดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นสัญญาค้ำประกัน เพราะไม่มีข้อความที่จะให้มีความหมายไปได้ว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะยอมชำระแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการชำระหนี้ไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกันหากไม่มีข้อตกลงชำระแทน
หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้มีข้อความในตอนท้ายว่า'ข้าพเจ้า (ระบุชื่อ) ขอรับรองการชำระเงินของ ช. (ลูกหนี้) ตามข้อความข้างต้นทุกประการ' แล้วลงชื่อกำกับไว้ในช่อง 'ผู้รับรอง'ท้ายข้อความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นสัญญาค้ำประกันเพราะไม่มีข้อความที่จะให้มีความหมายไปได้ว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะยอมชำระแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การชำระแทนและการเรียกร้องค่าชดใช้
ค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลายชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ซึ่งโจทก์ถอนฟ้องมิได้มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น ถ้าจำเลยได้ออกเงินไปก่อนเพื่อกันความเสียหายของจำเลย แล้วจะมาร้องขอให้ศาลบังคับโจทก์ชดใช้ให้แก่จำเลยย่อมไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นค่าธรรมเนียมซึ่งฝ่ายหนึ่งจะต้องใช้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งตามคำสั่งศาล
of 2