พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: การเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ทำให้เกิดสิทธิเรียกคืนค่าธรรมเนียมที่ชำระแล้ว
เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการโอนที่ดินเป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเป็นค่าตอบแทนที่รัฐให้บริการแก่ราษฎรในการให้ราษฎรได้สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์การที่โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนรับโอนที่ดินตามคำสั่งของศาล เงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินจึงเป็นเงินค่าธรรมเนียมตามป. ที่ดินฯ มาตรา 103 เป็นเงินที่จำเลยที่ 2 ตัวแทนจำเลย 1 เรียกเก็บจากโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายแม้ต่อมาศาลฎีกาจะมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินที่โจทก์ประมูลซื้อได้และให้จดทะเบียนใส่ชื่อ ล.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เหมือนเดิม แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดใหม่การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ตัวแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งตามประมวลที่ดินฯก็ไม่มีบทบัญญัติให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินแก่โจทก์ และเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวจำเลยที่ 1 ก็ได้ส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินคืนจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเป็นโมฆะเมื่อบอกเลิก, ค่าปรับงวดที่ 9 ถือชำระแล้ว, สิทธิเรียกร้องลดค่าปรับขาดอายุความ
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมระงับลง โจทก์ จำเลยจึงต้อง กลับคืนสู่ฐานะ ดั่งที่เป็นอยู่เดิม ดังนั้น โจทก์จึงหามีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าปรับตาม สัญญาจากจำเลยอีกต่อไป โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๙๑ วรรคสี่ เท่านั้น
จำเลยส่งมอบงานงวดที่ ๙ ให้แก่โจทก์เมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม สัญญาไป ๙๗ วัน โจทก์จึงจ่ายเงินค่าจ้างงานงวดดังกล่าวให้จำเลยไม่เต็มโดย หักค่าปรับที่ส่งมอบงานล่าช้าตาม สัญญาวันละ ๒,๐๐๐ บาท ออกโดยจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้ ชำระค่าปรับในการส่งมอบงานงวดที่ ๙ ล่าช้าให้แก่โจทก์ไปแล้ว สิทธิเรียกร้องขอลดค่าปรับก็เป็นอันขาดไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓ วรรคแรกศาลไม่ชอบที่จะหยิบยกค่าปรับส่วนนี้มาลดให้จำเลยอีก.
จำเลยส่งมอบงานงวดที่ ๙ ให้แก่โจทก์เมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม สัญญาไป ๙๗ วัน โจทก์จึงจ่ายเงินค่าจ้างงานงวดดังกล่าวให้จำเลยไม่เต็มโดย หักค่าปรับที่ส่งมอบงานล่าช้าตาม สัญญาวันละ ๒,๐๐๐ บาท ออกโดยจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้ ชำระค่าปรับในการส่งมอบงานงวดที่ ๙ ล่าช้าให้แก่โจทก์ไปแล้ว สิทธิเรียกร้องขอลดค่าปรับก็เป็นอันขาดไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓ วรรคแรกศาลไม่ชอบที่จะหยิบยกค่าปรับส่วนนี้มาลดให้จำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับรายรับดอกเบี้ยเพื่อเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว ไม่ใช่เพียงถึงกำหนดชำระ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ที่บัญญัติว่า รายรับหมายความว่าเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใดๆอันมีมูลค่า ที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้า นั้น หมายถึงรายรับเนื่องจากการ ประกอบการค้าประเภททั่วไป ไม่รวมถึงรายรับจากการค้าประเภท ธนาคาร ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นในมาตรา 79(3)
ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริง จึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริง จึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12847/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าภาษีที่ชำระแล้ว ไม่ใช่ลาภมิควรได้ อายุความ 10 ปี
จำเลยทั้งสองชำระภาษีให้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาขอคืนภาษีโดยอ้างว่าชำระไว้เกิน เพราะใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นบริษัท ช. ไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียภาษี ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองอ้างมูลเหตุตามกฎหมายที่ควรได้รับคืนภาษี และเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับคืนภาษี จึงคืนเงินภาษีให้ เช่นนี้ ย่อมมิใช่การคืนเงินภาษีโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ที่จะถือว่าเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง ต่อมาโจทก์ตรวจสอบเห็นว่า ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี จึงแจ้งให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีที่ได้รับคืนไปแก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาเงินค่าภาษีอากรที่มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนลาภมิควรได้ที่มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419