คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำรุดบกพร่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และการคิดค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องของทรัพย์
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์จึงมีหนังสือทวงให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อและบอกเลิกสัญญา หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาคืนโจทก์ โจทก์จึงถอนฟ้องแล้วนำรถยนต์ออกประมูลขายได้เงินไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ จึงมาฟ้องเรียกราคารถยนต์ในส่วนที่ขาดจากจำเลยทั้งสองอีก กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) เพราะฟ้องโจทก์คดีก่อนไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเนื่องจากถอนฟ้องไปแล้ว และเมื่อพิจารณาคดีก่อนที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วศาลยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ประกอบกับคดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์และชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคาจากการประมูลขายรถยนต์พร้อมดอกเบี้ยอันเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน คำขอบังคับในคดีทั้งสองจึงต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าเสื่อมราคาหรือค่าขาดราคาของรถยนต์ที่ประมูลขายได้ราคาน้อยกว่าราคาเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นผลมาจากการเลิกสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อกำหนดอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องถือเอาจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่ฟ้องคดี มิใช่คำนวณจากทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีซึ่งอาจจะไม่เต็มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีชำรุดบกพร่อง, การพิสูจน์ความชำรุดบกพร่อง, และการกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากจำเลยและได้รับโอนการครอบครองไปเรียบร้อยแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้เข้าอยู่อาศัย ต่อมาประมาณกลางปี 2538 โจทก์ประสงค์จะเข้าอยู่อาศัย จึงได้ให้ช่างเข้าไปตกแต่ง ในระหว่างนั้นเกิดมีฝนตกหนัก น้ำฝนรั่วซึมเข้าไปในห้องชุดพิพาท ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ความเสียหายเกิดจากผนังบางส่วนมีรอยแตกร้าว และบริเวณระหว่างกำแพงที่เป็นปูนหรือส่วนที่เป็นพื้นกับวงกบอะลูมิเนียมของบานประตูหน้าต่างมีรอยต่อไม่สนิทหรือบางส่วนยาซิลิโคนไม่ทั่ว ทำให้น้ำฝนสามารถซึมเข้ามาตามห้องชุดตามรอยร้าวหรือรอยต่อที่ไม่สนิทเป็นความชำรุดบกพร่องอันไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ ต่อเมื่อมีฝนตกหนัก น้ำฝนซึมเข้ามาจึงจะรู้ว่ามีการชำรุดบกพร่อง แม้โจทก์จะได้มอบหมายให้ตัวแทนโจทก์เข้าไปสำรวจตรวจสอบ ก็เป็นการตรวจสอบเพียงว่ามีทรัพย์สินใดเสียหายบ้าง แต่บุคคลทั้งสองไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง การที่ตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์ติดต่อหาผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบและโจทก์ได้ว่าจ้างให้ผู้ซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญเข้าไปทำการตรวจสอบให้แน่ชัด จึงเป็นการกระทำที่สมควร เมื่อผู้เชียวชาญได้ตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2538 จึงถือได้ว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทนับแต่เวลานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ยังไม่พ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ค่าจ้างตรวจสอบสาเหตุแห่งความเสียหายรวมทั้งทรัพย์สินที่เสียหายและค่าซ่อมแซมเป็นผลโดยตรงจากความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทที่จำเลยขายให้โจทก์และเป็นจำนวนที่สมควร จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความไว้ในตาราง 6 โดยให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูง โดยให้พิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าความเรื่องนั้น ไม่ประสงค์จะให้คู่ความกำหนดอัตราค่าทนายความกันเองแล้วมาเรียกจากอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งศาลจะกำหนดค่าทนายความไว้ตอนท้ายของคำพิพากษา มิใช่กำหนดตามที่ผู้ชนะคดีจ่ายไปจริง
ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์จ่ายเงินค่าตรวจสอบไปเมื่อวันใด ส่วนค่าซ่อมแซมขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้ซ่อม โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับจากวันตามขอไม่ได้ ศาลกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีชำรุดบกพร่อง: เริ่มนับเมื่อพบความเสียหายและผู้เชี่ยวชาญยืนยัน
ความชำรุดบกพร่องอันเกิดจากการที่ผนังบางส่วนมีรอยแตกร้าวบริเวณระหว่างกำแพงที่เป็นปูนหรือส่วนที่เป็นพื้นกับวงกบอะลูมิเนียมของบานประตูหน้าต่างมีรอยต่อไม่สนิทหรือบางส่วนยาซิลิคอนไม่ทั่วทำให้น้ำฝนสามารถซึมเข้ามาได้นั้น เป็นความชำรุดบกพร่องอันไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ เมื่อมีน้ำฝนตกหนักน้ำฝนซึมเข้ามาจึงจะรู้ว่ามีการชำรุดบกพร่องดังกล่าว แม้ตัวแทนโจทก์เข้าไปสำรวจตรวจสอบแล้ว ก็เป็นการตรวจสอบเพียงว่ามีทรัพย์สินใดเสียหายบ้าง แต่บุคคลดังกล่าวไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง การที่ตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์หาผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบและโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท อ. เข้าไปตรวจสอบจึงเป็นการกระทำที่สมควร จะถือว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องแล้วแต่เวลานั้นยังไม่ได้ เมื่อต่อมาบริษัท อ. ตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้โจทก์ทราบ จึงถือได้ว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องนับแต่เวลานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันดังกล่าวคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6976/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายปลาป่นชำรุดบกพร่องและการยึดหน่วงชำระราคา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยต้องชำระราคาตามสัญญา
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระราคาค่าปลาป่นที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่าปลาป่นที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยมีสิ่งอื่นเจือปน ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายมากกว่าจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ขอให้ยกฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากจำเลยได้รับปลาป่นที่มีขนไก่ปลอมปนแล้วจำเลยยังสั่งซื้อปลาป่นจากโจทก์ต่อไปอีก30คันรถบรรทุกแสดงว่าแม้ปลาป่นของโจทก์จะมีขนไก่ปลอมปนอยู่บ้างก็น่าจะเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงกับทำให้ไก่ของจำเลยเจริญเติบโตช้ากว่าปกติการที่ปลาป่นมีขนไก่ปลอมปนอยู่จึงไม่ถึงกับถือได้ว่าเป็นกรณีทรัพย์สินที่ขายชำรุดบกพร่องอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติในอันที่โจทก์ผู้ขายจะต้องรับผิดต่อจำเลยผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 488 จำเลยฎีกาว่า สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยได้ไกล่เกลี่ยให้จนโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ค้างชำระแสดงว่าได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทแล้ว อันทำให้ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเต็มจำนวนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 นั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำจากผู้ประกอบการจัดหาสินค้า ไม่ใช่เรื่องชำรุดบกพร่อง ใช้ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องชำรุดบกพร่องไว้ ทั้งฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องเรียกมัดจำคืนเพราะเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการเป็นธุระจัดหาสินค้าดินสอสีรายพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน แต่จำเลยส่งมอบสินค้าไม่มีคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าคืนแล้ว อันถือได้ว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) หาใช่เรื่องฟ้องให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องไม่ ฉะนั้นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ามัดจำค่าสินค้าหรือเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเพื่อชำระเป็นค่าสินค้าบางส่วนคืนนี้เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 732/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับผิดสัญญาจ้างก่อสร้าง: ชำรุดบกพร่องภายใน 1 ปี และข้อตกลงการชำระเงินงวดสุดท้ายไม่ใช่กำหนดระยะเวลาความรับผิด
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยก่อสร้างอาคาร จำเลยก่อสร้างเสร็จและส่งมอบให้แก่โจทก์รับเงินค่าจ้างจากโจทก์ไปครบถ้วนแล้วต่อมาอาคารบางแห่งมีรอยแตกร้าวเมื่อฝนตกน้ำซึมเข้าไปในอาคารซึ่งเกิดจากช่างที่จำเลยจ้างมาไม่ชำนาญหรือมีฝีมือไม่ดีพอหรือไม่ได้ทำตามกรรมวิธีที่ถูกต้อง ฉะนั้นเมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 ส่วนที่ตามสัญญาจ้างระบุว่างวดที่ 11 เงิน 200,000 บาท ตกลงชำระเมื่อการรับมอบงานล่วงพ้นไปแล้วเป็นเวลา 6 เดือน กับทั้งไม่ปรากฏว่ามีความเสียหายหรือความชำรุดบกพร่องใด ๆ เกิดขึ้นกับอาคารที่ก่อสร้างนั้นเป็นการกำหนดหน้าที่โจทก์ที่จะต้องชำระเงินงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดเท่านั้น มิใช่เป็นกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องไว้ภายในกำหนดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7053/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินพร้อมเขื่อนกั้นดิน, อายุความค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่อง, และการรับสภาพหนี้
ผู้บริโภคได้ตกลงจะซื้อที่ดินตามฟ้องโดยมีการวางเงินมัดจำ ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง จึงมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้มีพยานเอกสารมาแสดง ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารได้ หรือศาลมีอำนาจรับฟังพยานบุคคลของโจทก์ได้
จำเลยได้ตกลงจะสร้างเขื่อนกั้นดินริมคลองให้แก่ผู้บริโภคแต่แล้วก็ไม่สร้างให้โดยคิดค่าสร้างเขื่อนตารางวาละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 150,000 บาท ดังนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงิน 150,000 บาท ให้แก่ผู้บริโภค
ผู้แทนของจำเลยได้ทำบันทึกต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือโจทก์ว่า จำเลยยอมรับจะซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องให้แก่ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ร้องเรียน ถ้าผู้บริโภคไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลยนั้น เป็นเพียงหนังสือบันทึกถ้อยคำหรือคำให้การของจำเลยในฐานะผู้ถูกร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรปกครองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค อันเป็นกรณีที่จำเลยให้ถ้อยคำไปตามหน้าที่ที่ถูกร้องเรียน และมิใช่กระทำต่อเจ้าหนี้หรือผู้แทนเจ้าหนี้ทั้งยังเป็นการยอมรับจะชำระหนี้คือซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องโดยมีเงื่อนไขว่าผู้บริโภคต้องไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลย ดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้อีกด้วย จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ซึ่งใช้บังคับขณะยอมรับจะชำระหนี้(มาตรา 193/14(1) ที่แก้ไขใหม่)
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระหนี้ เป็นการฟ้องร้องที่โจทก์อ้างอิงสิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคตรวจพบความชำรุดบกพร่องของบ้านที่จำเลยก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับสิทธิเรียกร้อง แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 1 ปีคดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องของงานเหมา และการผิดสัญญาซ่อมแซม
ในวันส่งมอบงานมีการโต้แย้งกันเรื่องค่าจ้างจึงมิใช่โจทก์รับมอบงานโดยไม่อิดเอื้อนและบันทึกที่จำเลยที่1ส่งมอบงานให้โจทก์ระบุว่าค่าปรับจำเลยที่1ขอผัดผ่อนไปก่อนโจทก์ขอสงวนสิทธิไว้เพื่อจะเรียกร้องต่อไปดังนี้จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้สงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลาชำระหนี้แล้วโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่1ทำงานผิดพลาดบกพร่องโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่1มาจัดการซ่อมแซมแต่จำเลยที่1ไม่มาทำโจทก์ต้องไปจ้างช่างอื่นมาทำให้ใหม่จำเลยที่1ต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์รวมเป็นเงิน67,650บาทซึ่งเป็นการฟ้องให้จำเลยที่1ปฏิบัติตามสัญญาจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ารายการเกี่ยวกับการทาสีบ้านบันไดหลุดหลวมก๊อกน้ำโถส้วมปูนฉาบบ้านร้าวขาดอายุความโจทก์อุทธรณ์ว่ารายการดังกล่าวไม่ขาดอายุความศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับความเสียหายดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งและศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายในรายการดังกล่าวหรือไม่โดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247 บ้านโจทก์ชำรุดบกพร่องโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่1มาทำการซ่อมแซมแล้วแต่จำเลยที่1ไม่มาโจทก์จึงมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานแทนจำเลยที่1ได้และการที่จำเลยที่1ไม่ทำการซ่อมแซมจำเลยที่1จึงผิดสัญญาข้อ6แม้โจทก์จะยังไม่ได้จ้างบุคคลอื่นซ่อมแทนจำเลยที่1ก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างบุคคลอื่นทำแทนจำเลยที่1จากจำเลยทั้งสองได้แต่ตามสัญญาก่อสร้างไม่ได้ระบุว่าช่องหลังคาต้องป้องกันค้างคาวได้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับรายการดังกล่าว เมื่อปัญหาได้ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าซ่อมรางน้ำฝนและเพดานโดยกำหนดให้จำนวน2,500บาทศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยอีกว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรางน้ำฝนและเพดานและถือว่าปัญหานี้เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความชำรุดบกพร่อง: การซ่อมแซมต่อเนื่องและผลกระทบต่ออายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 บัญญัติไว้ว่า "ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง" โจทก์พบเสื้อเกียร์แตกครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2532และจำเลยที่ 1 ได้รับไปซ่อมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2532 แล้วนำมาส่งคืนเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2532 เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2532 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 (เดิม) ต่อมาวันที่ 16 ธันวาคม 2532 โจทก์ติดตั้งเกียร์ทดพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นครั้งที่ 2 ใช้งานจนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2532 ปรากฏว่าเสื้อเกียร์ได้แตกเหมือนเดิม จำเลยที่ 1 ได้รับคืนไปซ่อมอีกแล้วส่งคืนโจทก์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2533 และมีการติดตั้งเกียร์ทดพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นครั้งที่ 3 จากนั้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 โจทก์ได้ใช้เกียร์ทดพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าว ใช้ได้ประมาณ 2 ถึง 3 วัน เสื้อเกียร์ก็แตกอีก ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถแก้ไขความชำรุดบกพร่องในจุดเดิม คือที่เสื้อเกียร์ของเกียร์ทดและอุปกรณ์นั้นให้โจทก์สามารถใช้งานได้ตามปกติ อันเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายในสัญญา อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงอยู่ ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1ส่งช่างไปแก้ไข แต่จำเลยที่ 1 กลับปฏิเสธความรับผิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2533 จึงเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดลง ต้องเริ่มนับอายุความเดิม 1 ปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความชำรุดบกพร่อง: การซ่อมแซมต่อเนื่องทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จนจำเลยปฏิเสธความรับผิดจึงเริ่มนับอายุความใหม่
โจทก์ผู้ซื้อพบ เสื้อเกียร์แตกครั้งแรกเมื่อวันที่27มีนาคม2532และจำเลยที่1ผู้ขายได้รับไปซ่อมเมื่อวันที่29มีนาคม2532แล้วนำมาส่งคืนถือว่าจำเลยที่1กระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ได้รับไปซ่อมแต่เมื่อเสื้อเกียร์ก็ยังแตกอีกหลายครั้งโดยจำเลยที่1ไม่สามารถแก้ไขความ ชำรุดบกพร่องในจุดเดิมได้อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงอยู่ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ส่งช่างไปแก้ไขแต่จำเลยที่1ปฏิเสธความรับผิดเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดลงต้อง เริ่มนับอายุความ 1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา474ใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว
of 4