พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอื่นไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2543) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2543 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 และมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปต้องเข้าหลักเกณฑ์ 2 ข้อ แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้มีปริมาณการจำหน่ายจำนวนมาก หรือมีการใช้หรือโฆษณาเป็นที่แพร่หลายจนทำให้สาธารณชนทั่วไป หรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ของการมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าว ดังนั้น การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Carpro" ของจำเลยที่ 1 ที่แม้จะมีเสียงเรียกขานเป็นภาษาไทยเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ก็ไม่ขัดต่อมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ: สิทธิในเครื่องหมาย, ชื่อเสียงแพร่หลาย, และการใช้ก่อน
โจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ได้ใช้และโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวสำหรับสถานบริการและสถานบันเทิงของโจทก์ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการพิพาทมีปริมาณการให้บริการจำนวนมากหรือโจทก์ได้ใช้หรือโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในหมู่ผู้บริโภค ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิได้เป็นเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายบริการดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายบริการที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (10) ประกอบมาตรา 6 (2) และมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าบริษัท ว. และเครื่องหมายบริการพิพาทมิใช่เครื่องหมายบริการที่ห้ามมิให้รับจดทะเบียน การขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการพิพาทของบริษัท ว. จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8834/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย การห้ามจดทะเบียนเครื่องหมายที่คล้ายกัน และการคุ้มครองตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 8 (11) เป็นบทบัญญัติห้ามนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยเด็ดขาดมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แม้ว่าเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปนั้นจะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนก็ตาม ในกรณีนี้ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกในความตกลงระหว่างประเทศ คือข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้ารวมทั้งที่เกี่ยวกับสินค้าปลอม ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปหรือไม่นั้น จึงให้พิเคราะห์ถึงความเป็นที่รู้จักของเครื่องหมายการค้านั้นในกลุ่มของสาธารณชนส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเป็นที่รู้จักกันในประเทศภาคีสมาชิกนั้นอันเป็นผลเนื่องมาจากการส่งเสริมเครื่องหมายการค้าดังกล่าวด้วย
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของทีมฟุตบอลต่างประเทศ และโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าเสื้อกีฬาเช่นเดียวกันกับเครื่องหมายของทีมฟุตบอลต่างประเทศ อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แม้เครื่องหมายการค้าของทีมฟุตบอลต่างประเทศดังกล่าวจะยังมิได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยมาก่อนก็ตาม เครื่องหมายการค้าทั้งห้าของโจทก์ก็ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 (11) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 คำสั่งที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของทีมฟุตบอลต่างประเทศ และโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าเสื้อกีฬาเช่นเดียวกันกับเครื่องหมายของทีมฟุตบอลต่างประเทศ อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แม้เครื่องหมายการค้าของทีมฟุตบอลต่างประเทศดังกล่าวจะยังมิได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยมาก่อนก็ตาม เครื่องหมายการค้าทั้งห้าของโจทก์ก็ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 (11) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 คำสั่งที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าต้องมีชื่อเสียงแพร่หลาย การโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตและเคเบิลทีวีอาจไม่เพียงพอ
โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ 479038 มีเจตนาไม่สุจริต แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะรับอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ไม่รับวินิจฉัยให้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในการพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปนั้น ย่อมจะต้องพิจารณาจากการจำหน่ายสินค้า การใช้ หรือการโฆษณาเครื่องหมายจนเป็นที่แพร่หลายทำให้สาธารณชนทั่วไป หรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายนั้นจะต้องมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค
พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมานั้น ส่วนใหญ่เป็นหลักฐานในปี 2545 และเป็นการโฆษณาสินค้าบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงการออกรายการในโทรทัศน์ระบบเคเบิล ซึ่งไม่แน่ว่าสาธารณชนทั่วไป หรือแม้แต่สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟในประเทศไทย หรือผู้บริโภคทั่วไปจะเข้าถึงการโฆษณาและการออกรายการดังกล่าวหรือไม่ พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์คำว่า "Golf Channel" เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป
ในการพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปนั้น ย่อมจะต้องพิจารณาจากการจำหน่ายสินค้า การใช้ หรือการโฆษณาเครื่องหมายจนเป็นที่แพร่หลายทำให้สาธารณชนทั่วไป หรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายนั้นจะต้องมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค
พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมานั้น ส่วนใหญ่เป็นหลักฐานในปี 2545 และเป็นการโฆษณาสินค้าบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงการออกรายการในโทรทัศน์ระบบเคเบิล ซึ่งไม่แน่ว่าสาธารณชนทั่วไป หรือแม้แต่สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟในประเทศไทย หรือผู้บริโภคทั่วไปจะเข้าถึงการโฆษณาและการออกรายการดังกล่าวหรือไม่ พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์คำว่า "Golf Channel" เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป