พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมประท้วงทำลายทรัพย์สิน: ลดโทษจำเลยวัยรุ่นเนื่องจากเหตุผลและพฤติการณ์
ตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องชาวบ้านมาชุมนุมกันประมาณ 600 ถึง 800 คนเพื่อขอให้ย้ายสถานีทดลองยางออกไปจากพื้นที่เกิดเหตุ เนื่องมาจากได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่เลี้ยงสัตว์ แสดงว่าประชาชนที่มาชุมนุมนั้นได้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บางส่วนที่จะใช้เป็นสถานีทดลองยางเป็นที่ดินสำหรับเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว ในวันเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจประมาณ 150 คน เมื่อประชาชนพูดโจมตีด้วยเครื่องขยายเสียงเจ้าพนักงานตำรวจจึงให้หัวหน้าสถานีทดลองยางไปแก้ข้อกล่าวหาต่อประชาชนที่มาชุมนุมแต่เจรจาตกลงกันไม่ได้ ระหว่างเจรจามีประชาชนคนหนึ่งนำไม้ไปตีตุ่มน้ำและเสาของโรงเรือนเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นก็เริ่มมีความวุ่นวายโดยประชาชนเริ่มปาสิ่งของแล้วจุดคบเพลิงปาไปที่หลังคาจาก ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เริ่มก่อเหตุวุ่นวายขึ้น จำเลยเพียงร่วมอยู่ในกลุ่มประชาชนที่มาชุมนุมและร่วมกับประชาชนอื่นอีกเป็นจำนวนมากก่อเหตุร้าย ผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากผู้คนเป็นจำนวนมาก มิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยเพียงคนเดียว ทั้งจำเลยอายุเพียง17 ปีเศษ อยู่ในเหตุการณ์ที่ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนในที่เลี้ยงสัตว์และไม่พอใจทางราชการย่อมเป็นการยากที่จะใช้สติในวัยเช่นนั้นยับยั้งชั่งใจไม่ร่วมกับเหตุการณ์หรือห้ามปรามประชาชนไม่ให้ก่อเหตุร้าย จึงมีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานเบา โดยกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในขั้นต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมประท้วงในโรงงานขัดขวางการทำงาน ละเมิดต่อนายจ้าง ไม่เป็นการนัดหยุดงานตามกฎหมาย
ลูกจ้างหยุดงานและชุมนุมกันในบริเวณที่นายจ้างต้องใช้ทำงานผลิตและอยู่ใกล้สถานที่เก็บวัสดุไวไฟ นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างชุมนุมในบริเวณดังกล่าวจึงได้ขอร้องให้ไปชุมนุมที่อื่นในบริเวณโรงงานนั้นเองแต่ลูกจ้างคงขัดขืนชุมนุมกันอยู่ที่เดิมและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างดังนี้ การกระทำของลูกจ้างเป็นการละเมิดต่อนายจ้างแล้วกรณีละเมิดและการเลิกจ้างเป็นคนละกรณีกันมิใช่ว่านายจ้างจะต้องเลิกจ้างก่อนแล้วการกระทำของลูกจ้างจึงจะเป็นการละเมิด
การนัดหยุดงานเป็นวิธีการของฝ่ายลูกจ้างที่ได้กระทำเพื่อบังคับฝ่ายนายจ้างให้ยอมรับตามข้อเรียกร้องของตนในการเจรจาต่อรองโดยวิธีร่วมกันไม่ทำงานให้แก่นายจ้างพร้อมกันเท่านั้น การกระทำอย่างอื่นเช่น การปิดกั้นถนน หรือการชุมนุมโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่น ย่อมมิใช่การนัดหยุดงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของการนัดหยุดงานแต่อย่างใด ผู้กระทำจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 99
เมื่อลูกจ้างเป็นผู้กระทำละเมิดเอง ลูกจ้างก็ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นโดยไม่คำนึงว่าสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกจะสั่งให้ลูกจ้างกระทำหรือไม่
การนัดหยุดงานเป็นวิธีการของฝ่ายลูกจ้างที่ได้กระทำเพื่อบังคับฝ่ายนายจ้างให้ยอมรับตามข้อเรียกร้องของตนในการเจรจาต่อรองโดยวิธีร่วมกันไม่ทำงานให้แก่นายจ้างพร้อมกันเท่านั้น การกระทำอย่างอื่นเช่น การปิดกั้นถนน หรือการชุมนุมโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่น ย่อมมิใช่การนัดหยุดงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของการนัดหยุดงานแต่อย่างใด ผู้กระทำจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 99
เมื่อลูกจ้างเป็นผู้กระทำละเมิดเอง ลูกจ้างก็ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นโดยไม่คำนึงว่าสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกจะสั่งให้ลูกจ้างกระทำหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดจากการชุมนุมประท้วง วางเพลิง และขัดขวางเจ้าพนักงาน: การพิจารณาความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงตั้งแต่สิบคนขึ้นไปและเป็นผู้จุดไฟเผาทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นการเข้าร่วมมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปและกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 215 วรรคสอง 217 และ 358 ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจได้ประกาศผ่านเครื่องกระจายเสียงว่าไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกระทำผิดกฎหมายซึ่งเป็นการสั่งให้เลิกมั่วสุมในการก่อเหตุวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้มั่วสุมและกระทำการก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 216 ที่มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215
การวางเพลิงเผาทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
การวางเพลิงเผาทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8986-8997/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ชุมนุมประท้วงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 คำว่า "การนัดหยุดงาน" หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน แสดงว่าการนัดหยุดงานเป็นวิธีการของฝ่ายลูกจ้างที่ได้กระทำเพื่อบังคับฝ่ายนายจ้างให้ยอมรับตามข้อเรียกร้องของตนในการเจรจาต่อรองโดยวิธีการร่วมกันไม่ทำงานให้แก่นายจ้างพร้อมกันเท่านั้น แต่การกระทำอย่างอื่น เช่น การปิดกั้นหรือการชุมนุมโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่นนั้นย่อมมิใช่การนัดหยุดงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของการนัดหยุดงานแต่อย่างใด และเมื่อมิใช่การนัดหยุดงานและไม่มีกฎหมายระบุให้กระทำได้โดยไม่ต้องรับผิด ดังเช่นที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 99 แล้ว ผู้กระทำย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับพวกมีการใช้กำลังฝ่าฝืนดึงดันเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมโดยไม่ฟังการห้ามปรามของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยและบริษัท จ. มีการนำเต็นท์ขนาดใหญ่ เครื่องขยายเสียงและสุขาเคลื่อนที่เข้าไปติดตั้ง นำรถยนต์และรถจักรยานยนต์เข้าไปจอด ใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัยส่งเสียงรบกวนการทำงานของพนักงานจำเลยและบริษัท จ. ที่ไม่ได้หยุดงานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันชุมนุมโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 99 (4) โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อการชุมนุมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย